ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. อสังขตสูตร
ว่าด้วยอสังขตธรรม
[๓๗๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรม (สิ่ง ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้) และทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง อสังขตธรรม คืออะไร คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ สมถะ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วแก่เธอ ทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัย ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา (๑) ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรมและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง อสังขตธรรม คืออะไร คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๕๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ วิปัสสนา นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้ว ฯลฯ นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา (๒) ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร) นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ อวิตักกวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร) นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๓-๕) ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ สุญญตสมาธิ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ อนิมิตตสมาธิ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ อัปปณิหิตสมาธิ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๖-๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๕๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑- อยู่ ฯลฯ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๙-๑๒) ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น๒- เพื่อป้องกันธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ @โพชฌงค์ ๗ และอริยสัจ ๔ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๐/๔๔๐) @ สร้างฉันทะ หมายถึงสร้างความพอใจใคร่จะทำกุศล พยายาม หมายถึงทำความเพียรบากบั่น ปรารภ @ความเพียร หมายถึงบำเพ็ญเพียรทั้งทางกายและทางใจ ประคองจิต หมายถึงยกจิตขึ้นพร้อมๆ กับ @ความเพียรทางกายและจิต มุ่งมั่น หมายถึงทำความเพียรเป็นหลักใหญ่ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๔/๔๔๐) @ได้แก่สัมมัปปธาน ๔ ประการ (ดู องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖๙/๘๔-๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๕๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศล- ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๑๓-๑๖) ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๑- นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธานสังขาร นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น (ปธาน) คำว่า @ฉันทสมาธิปธานสังขาร จึงหมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะและความเพียรที่มุ่งมั่น วิริยสมาธิ จิตตสมาธิ @และวีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๘/๔๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๕๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๑๗-๒๐) ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวีริยินทรีย์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๒๑-๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๕๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก ฯลฯ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวีริยพละ ฯลฯ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติพละ ฯลฯ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสมาธิพละ ฯลฯ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๒๖-๓๐) ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปในการสละ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญวีริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๕๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

สมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๓๑-๓๗) ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปในการสละ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ เจริญสัมมาสติ ฯลฯ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปในการสละ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ภิกษุทั้งหลาย อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้ แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอ ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่า ประมาท อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลาย ของเรา” (๓๘-๔๕)
อสังขตสูตรที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๕๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร

๒. อนตสูตร๑-
ว่าด้วยความไม่น้อมไป
[๓๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความไม่น้อมไป๒- และทางที่ให้ถึงความไม่ น้อมไปแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ความไม่น้อมไป เป็นอย่างไร ฯลฯ (พึงขยายความให้พิสดารเหมือนอสังขตสูตร)
อนตสูตรที่ ๒ จบ
๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร
ว่าด้วยธรรมอันหาอาสวะมิได้เป็นต้น
[๓๗๙-๔๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาอาสวะมิได้และทางที่ ให้ถึงธรรมอันหาอาสวะมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมอันหาอาสวะมิได้ เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัจจธรรมและทางที่ให้ถึงสัจจธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง สัจจธรรม เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นฝั่งและทางที่ให้ถึงธรรมที่เป็นฝั่งแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่เป็นฝั่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ฉบับโรมันและสยามรัฐ เป็น อนฺตสุตฺต ว่าด้วยที่สุด @ ความไม่น้อมไป ในที่นี้แปลจากคำบาลีว่า %“อนต”% อรรถกถาแก้ว่า %อนตนฺติ ตณฺหานติยา อภาเวน อนตํ @ที่ชื่อว่าอนตะ เพราะไม่มีความน้อมไปคือตัณหา% (สํ.สฬา.อ. ๓/๓๗๗-๔๐๙/๑๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๖๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ละเอียดอ่อนและทางที่ให้ถึงธรรมที่ละเอียด อ่อนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ละเอียดอ่อน เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เห็นได้ยากยิ่งและทางที่ให้ถึงธรรมที่เห็นได้ ยากยิ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่เห็นได้ยากยิ่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่คร่ำครึและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่คร่ำครึ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ไม่คร่ำครึ เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ยั่งยืนและทางที่ให้ถึงธรรมที่ยั่งยืนแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ยั่งยืน เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่เสื่อมสลายและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่ เสื่อมสลายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ไม่เสื่อมสลาย เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ใครๆ ไม่พึงเห็น (ด้วยจักขุวิญญาณ) และทางที่ให้ถึงธรรมที่ใครๆ ไม่พึงเห็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ใครๆ ไม่พึงเห็น เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีกิเลสเครื่องปรุงแต่ง (ตัณหา มานะ และ ทิฏฐิ) และทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่มีกิเลสเครื่องปรุงแต่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ไม่มีกิเลสเครื่องปรุงแต่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๖๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่สงบและทางที่ให้ถึงธรรมที่สงบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่สงบ เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอมตธรรมและทางที่ให้ถึงอมตธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง อมตธรรม เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ประณีตและทางที่ให้ถึงธรรมที่ประณีตแก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ประณีต เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ปลอดภัยและทางที่ให้ถึงธรรมที่ปลอดภัย แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ปลอดภัย เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกษมและทางที่ให้ถึงธรรมที่เกษมแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่เกษม เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้น ตัณหาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่น่าอัศจรรย์และทางที่ให้ถึงธรรมที่น่าอัศจรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่น่าอัศจรรย์ เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่เคยปรากฏและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่เคย ปรากฏแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ไม่เคยปรากฏ เป็นอย่างไร ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๖๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีทุกข์และทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่มีทุกข์แก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ไม่มีทุกข์ เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีเครื่องร้อยรัดและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่ มีเครื่องร้อยรัดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ไม่มีเครื่องร้อยรัด เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพานและทางที่ให้ถึงนิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง นิพพาน เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียนและทางที่ให้ถึงธรรม ที่ไม่มีความเบียดเบียนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ปราศจากราคะและทางที่ให้ถึงธรรมที่ ปราศจากราคะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ปราศจากราคะ เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความบริสุทธิ์และทางที่ให้ถึงความบริสุทธิ์แก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ความบริสุทธ์ เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความหลุดพ้นและทางที่ให้ถึงความหลุดพ้นแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ความหลุดพ้น เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีความอาลัยและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่มี ความอาลัยแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่ไม่มีความอาลัย เป็นอย่างไร ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๖๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

๓๓. ปรายนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นเกาะและทางที่ให้ถึงธรรมที่เป็นเกาะแก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมที่เป็นเกาะ เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่เร้นและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่เร้นแก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมเป็นที่เร้น เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ต้านทานและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ ต้านทานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมเป็นที่ต้านทาน เป็นอย่างไร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่พึ่งและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่พึ่งแก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมเป็นที่พึ่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ
อนาสวาทิสูตรที่ ๓-๓๒ จบ
๓๓. ปรายนสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
[๔๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าและทางที่ให้ ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คืออะไร คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ นี้เราเรียกว่า ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คืออะไร คือ กายคตาสติ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปใน เบื้องหน้าเราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๖๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]

รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้น เราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอ ทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็น คำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”
(พึงขยายความให้พิสดารเหมือนอสังขตสูตร)
ปรายนสูตรที่ ๓๓ จบ
ทุติยวรรค จบบริบูรณ์
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อสังขตสูตร ๒. อนตสูตร ๓. อนาสวาทิสูตร ๔. สัจจสูตร ๕. ปารสูตร ๖. นิปุณสูตร ๗. สุทุททสสูตร ๘. อชัชชรสูตร ๙. ธุวสูตร ๑๐. อปโลกินสูตร ๑๑. อนิทัสสนสูตร ๑๒. นิปปปัญจสูตร ๑๓. สันตสูตร ๑๔. อมตสูตร ๑๕. ปณีตสูตร ๑๖. สิวสูตร ๑๗. เขมสูตร ๑๘. ตัณหักขยสูตร ๑๙. อัจฉริยสูตร ๒๐. อัพภุตสูตร ๒๑. อนีติกสูตร ๒๒. อนีติกธัมมสูตร ๒๓. นิพพานสูตร ๒๔. อัพยาปัชฌสูตร ๒๕. วิราคสูตร ๒๖. สุทธิสูตร ๒๗. มุตติสูตร ๒๘. อนาลยสูตร ๒๙. ทีปสูตร ๓๐. เลณสูตร ๓๑. ตาณสูตร ๓๒. สรณสูตร ๓๓. ปรายนสูตร
อสังขตสังยุต จบบริบูรณ์
สูตรที่ ๗ ในอาสีวิสวรรคก็เหมือนกัน
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๖๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๔๕๓-๔๖๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=281              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=9079&Z=9327                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=685              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=685&items=67              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3794              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=685&items=67              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3794                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i685-e.php# https://suttacentral.net/sn43.12/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.12/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.13/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.13/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.43/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.43/en/bodhi https://suttacentral.net/sn43.44/en/sujato https://suttacentral.net/sn43.44/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :