ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑. ปฐมมิคชาลสูตร

๒. มิคชาลวรรค
หมวดว่าด้วยพระมิคชาละ
๑. ปฐมมิคชาลสูตร
ว่าด้วยพระมิคชาละ สูตรที่ ๑
[๖๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘มีปกติอยู่ผู้เดียว มีปกติอยู่ผู้เดียว’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่ามีปกติ อยู่ผู้เดียว อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงชื่อว่ามีปกติอยู่กับเพื่อน” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มิคชาละ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลิน๑- ย่อมเกิดขึ้น เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัด เมื่อมีความกำหนัด ก็มี ความเกี่ยวข้อง ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน’ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อมเกิดขึ้น เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัด เมื่อมีความกำหนัด ก็มีความเกี่ยว ข้อง ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ‘ผู้มี ปกติอยู่กับเพื่อน’ ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ถึงจะใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าโปร่ง @เชิงอรรถ : @ ความเพลิดเพลิน ในที่นี้หมายถึงความเพลิดเพลินคือตัณหา (สํ.สฬา.อ. ๓/๖๓/๑๕, สํ.ฏีกา ๒/๖๓/๓๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๕๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑. ปฐมมิคชาลสูตร

และป่าทึบ๑- อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของ ผู้คน ควรเป็นที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นก็จริง ถึงอย่างนั้น เราก็ ยังเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขายังละตัณหาที่เป็น เพื่อนนั้นไม่ได้ ฉะนั้นเราจึงเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน’ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอ ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เมื่อไม่มี ความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ‘ผู้มีปกติ อยู่ผู้เดียว’ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลิน ย่อมดับไป เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว’ ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ แม้จะอยู่รายล้อมไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์๒- สาวกของเดียรถีย์ ในละแวกบ้านก็จริง ถึงอย่างนั้น เราก็เรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว’ (มิคชาละ ภิกษุผู้อยู่อย่างนี้ เราเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว‘) ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะเธอละตัณหาที่เป็นเพื่อนนั้นได้แล้ว ฉะนั้นเราจึงเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่ ผู้เดียว”
ปฐมมิคชาลสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ป่าโปร่ง (อรญฺญ) หมายถึงสถานที่ที่อยู่นอกเสาเขตเมืองออกไปอย่างน้อย ๕๐๐ ลูกธนู ป่าทึบ (วนปตฺถ) @หมายถึงสถานที่ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย เลยเขตหมู่บ้านออกไป (สํ.สฬา.อ. ๓/๖๓/๑๕, องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐) @ เดียรถีย์ หมายถึงผู้ถือลัทธินอกพระพุทธศาสนา เป็นนักบวชผู้ถือลัทธิอื่น (วิ.อ. ๓/๑๓๒/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๕๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๕๓-๕๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=43              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=771&Z=813                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=66              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=66&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=303              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=66&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=303                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i066-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.063.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.063.wlsh.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn35-046.html https://suttacentral.net/sn35.63/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.63/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :