ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๓. ปริหานสูตร
ว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม
[๓๘๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม เขตเมืองปาฏลีบุตร ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระภัททะออกจากที่หลีกเร้นเข้าไปหาท่าน พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมเสื่อม และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่เสื่อม” ท่านพระอานนท์กล่าวสอบถามว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของ ท่านดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ท่านอานนท์ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมเสื่อม และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระ สัทธรรมไม่เสื่อม’ อย่างนั้นหรือ” “อย่างนั้น ผู้มีอายุ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๔๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]

๓. สีลัฏฐิติวรรค ๔. สุทธสูตร

“ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงเสื่อม และเพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม” สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงเสื่อม และเพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม”
ปริหานสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๔๗-๒๔๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=153              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=4557&Z=4577                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=773              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=773&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6623              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=773&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6623                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn47.23/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.23/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :