ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๓. เสขสูตร
ว่าด้วยพระเสขะและพระอเสขะ
[๕๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๓๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]

๖. สูกรขตวรรค ๓. เสขสูตร

เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’ และ ที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระอเสขะ’ มี อยู่หรือ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ๑- “ภิกษุทั้งหลาย เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’ และที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระอเสขะ’ มีอยู่ เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น พระเสขะ‘ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกข- สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’ เป็นอย่างนี้แล อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะพิจารณาเห็นว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์อื่น นอกศาสนานี้ผู้ที่แสดงธรรมจริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาคมีอยู่หรือ’ เธอรู้ ชัดว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกศาสนานี้ผู้ที่แสดงธรรมจริงแท้แน่นอนเหมือน พระผู้มีพระภาคไม่มีเลย’ เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’ เป็นอย่างนี้แล อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะย่อมรู้ชัดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ ๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์ ๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์ ๕. ปัญญินทรีย์ @เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๕๑๓ (สาเกตสูตร) หน้า ๓๒๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๓๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]

๖. สูกรขตวรรค ๓. เสขสูตร

อินทรีย์ ๕ ประการซึ่งมีคติ มีความเป็นเลิศ มีผล และมีที่สุด เธอยังไม่ถูก ต้องด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’ เป็นอย่างนี้แล เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น พระอเสขะ‘ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ ๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์ ๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์ ๕. ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการซึ่งมีคติ มีความเป็นเลิศ มีผล และมีที่สุด เธอถูกต้องด้วย นามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น พระอเสขะ’ เป็นอย่างนี้แล อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดอินทรีย์ ๖ ประการ คือ ๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์ ๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์ ๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์ เธอรู้ชัดว่า ‘อินทรีย์ ๖ ประการนี้จักดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่างไม่ เหลือโดยประการทั้งปวง และอินทรีย์ ๖ ประการอื่นก็จักไม่เกิดในภพไหนๆ’ เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระอเสขะ’ เป็นอย่างนี้แล”
เสขสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๓๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๓๖-๓๓๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=234              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=5984&Z=6020                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1031              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1031&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7093              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1031&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7093                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn48/sn48.053.than.html https://suttacentral.net/sn48.53/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :