ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๗. ทุติยอนาถปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยอนาถบิณฑิกคหบดี สูตรที่ ๒
[๑๐๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เจ้าจง @เชิงอรรถ : @ มีความเห็นตรง หมายถึงเห็นว่าพระขีณาสพไม่มีความคดทางกาย เป็นต้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @ ความเลื่อมใส หมายถึงเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @ การเห็นธรรม ในที่นี้หมายถึงเห็นสัจธรรม ๔ (คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙ @และดู องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๕๒/๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๔๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๓. สรณานิวรรค ๗. ทุติยอนาถปิณฑิกสูตร

เข้าไปหาท่านพระอานนท์ กราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่าน ขอกราบเท้าทั้งสองของพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า’ และเจ้าจงกราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ ด้วยเถิด” บุรุษนั้นรับคำของท่านอนาถบิณฑิกคหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึง ที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอ กราบเท้าทั้งสองของพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ ด้วยเถิด” ท่านพระอานนท์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป ยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วถามอนาถ- บิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกข- เวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ” ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกข- เวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ ปรากฏขอรับ” “คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมสะดุ้ง หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ๑. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็เมื่อเขาพิจารณา เห็นความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมสะดุ้ง หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า ๒. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรม ก็เมื่อเขาพิจารณา เห็นความไม่เลื่อมใสในพระธรรมนั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมสะดุ้ง หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๔๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๓. สรณานิวรรค ๗. ทุติยอนาถปิณฑิกสูตร

๓. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ก็เมื่อเขาพิจารณาเห็น ความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมสะดุ้ง หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า ๔. ประกอบด้วยความทุศีล ก็เมื่อเขาพิจารณาเห็นความทุศีลนั้นว่า มีอยู่ในตน ย่อมสะดุ้ง หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึง ภายหน้า คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมสะดุ้ง หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาด หวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ พระอริยสาวกผู้ได้สดับในพระธรรมวินัยนี้ ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี พระภาค’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่ หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้านั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระธรรมนั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญ อันยอดเยี่ยมของโลก’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๔๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๓. สรณานิวรรค ๘. ปฐมภยเวรูปสันตสูตร

อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ สมาธิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นศีลที่พระอริยะชอบใจนั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า คหบดี พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวว่า “ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ผมไม่กลัว ผมจักกล่าวอะไร เพราะผม ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญ อันยอดเยี่ยมของโลก’ ๔. สิกขาบทเหล่าใดซึ่งสมควรแก่คฤหัสถ์ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ผมยังไม่เห็นสิกขาบทเหล่านั้นในตนสักข้อว่าขาดไป” “คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลท่านทำให้แจ้งแล้ว”
ทุติยอนาถปิณฑิกสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๔๐-๕๔๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=345              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=9161&Z=9222                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1568              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1568&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8066              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1568&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8066                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn55.27/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :