บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. สหธรรมิกวรรค ๓. โมหนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค ๓. โมหนสิกขาบท ว่าด้วยการทำให้ผู้อื่นหลง เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๔๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ประพฤติไม่ สมควรแล้ว ตั้งใจอยู่ว่า ขอภิกษุทั้งหลายจงทราบว่า พวกเราต้องอาบัติเพราะ ความไม่รู้ เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ก็กล่าวอย่างนี้ว่า พวกกระผมเพิ่ง ทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ทราบว่า ธรรมแม้นี้มาในพระสูตร๑- อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้น แสดงทุกกึ่งเดือน บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉน พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวก กระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ทราบว่า ธรรมแม้นี้มาในพระสูตร อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย ประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอ เมื่อภิกษุยก ปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า พวกกระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ทราบว่า ธรรมแม้นี้มาในพระสูตร อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน จริงหรือ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง @เชิงอรรถ : @๑ คำว่า ธรรม หมายถึงสิกขาบท คำว่า พระสูตร หมายถึงพระปาติโมกข์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๕๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. สหธรรมิกวรรค ๓. โมหนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอ เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกกระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ทราบว่า ธรรมแม้นี้มาใน พระสูตร อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ กระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้ เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๔๔๔] ก็ ภิกษุใด เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ทุกกึ่งเดือน กล่าว อย่างนี้ว่า กระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ทราบว่า ธรรมแม้นี้มาในพระสูตร อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน ถ้าภิกษุเหล่าอื่นจำภิกษุนั้นได้ว่า เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ ภิกษุนี้เคยนั่งอยู่ ๒-๓ ครั้งมาแล้ว ไม่จำต้องกล่าวถึงมากครั้งยิ่งกว่า ภิกษุนั้นย่อมไม่พ้นเพราะความไม่รู้ แต่ ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติใดเพราะประพฤติไม่เหมาะสมนั้น พึงปรับอาบัตินั้นตาม ธรรม และพึงยกโมหาโรปนกรรมขึ้นมาปรับเพิ่มให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ท่าน ไม่ใช่ ลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดี ที่เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ ท่านไม่ ใส่ใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะแสร้งทำผู้อื่นให้ หลงนั้นเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ [๔๔๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า ทุกกึ่งเดือน คือ ทุกวันอุโบสถ คำว่า เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ คือ เมื่อภิกษุกำลังแสดงปาติโมกข์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๕๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. สหธรรมิกวรรค ๓. โมหนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุประพฤติไม่สมควรแล้ว ตั้งใจอยู่ว่า ขอ ภิกษุทั้งหลายจงทราบว่า พวกเราต้องอาบัติเพราะความไม่รู้ เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ ขึ้นแสดงอยู่ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า กระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ทราบว่า ธรรมแม้ นี้มาในพระสูตร อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าภิกษุเหล่าอื่นจำภิกษุผู้ประสงค์จะทำให้หลงนั้นได้ว่า เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ ขึ้นแสดงอยู่ภิกษุนี้เคยนั่งอยู่ ๒-๓ ครั้งมาแล้ว ไม่จำต้องกล่าวถึงมากครั้งยิ่งกว่า ภิกษุนั้นย่อมไม่พ้นเพราะความไม่รู้ ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติใดเพราะประพฤติไม่เหมาะ สมนั้น พึงปรับอาบัตินั้นตามธรรม และพึงยกโมหาโรปนกรรมขึ้นมาปรับเพิ่มให้ยิ่ง ขึ้นไปอีก ภิกษุทั้งหลายพึงยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่ากรรมวาจาลงโมหาโรปนกรรม [๔๔๖] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ ขึ้นแสดงอยู่ ไม่ใส่ใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ก็พึงยก โมหาโรปนกรรมขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง อยู่ไม่ใส่ใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี สงฆ์ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง โมหาโรปนกรรมอันสงฆ์ยกขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้บทภาชนีย์ เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับ ภิกษุทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อสงฆ์ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับแล้ว ภิกษุทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๕๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. สหธรรมิกวรรค ๓. โมหนสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกปาจิตตีย์ [๔๔๗] กรรมที่ทำถูกต้อง๑- ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ทำผู้อื่นให้ หลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ติกทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๔๘] ๑. ภิกษุยังไม่ได้ฟังพระปาติโมกข์โดยพิสดาร ๒. ภิกษุฟังพระปาติโมกข์โดยพิสดาร แต่ไม่ถึง ๒-๓ ครั้ง ๓. ภิกษุไม่ประสงค์จะทำผู้อื่นให้หลง ๔. ภิกษุวิกลจริต ๕. ภิกษุต้นบัญญัติโมหนสิกขาบทที่ ๓ จบ @เชิงอรรถ : @๑ หมายถึงโมหาโรปนกรรม (วิ.อ. ๒/๔๔๗/๔๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๕๕}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๕๒-๕๕๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=109 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=13470&Z=13543 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=689 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=689&items=6 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10021 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=689&items=6 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10021 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc73/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc73/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]