ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๑๐. อุทายิสูตร
ว่าด้วยปัญหาของอุทายิพราหมณ์
[๔๐] ครั้งนั้นแล อุทายิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “แม้ท่านพระโคดมก็ทรงสรรเสริญยัญของพวก ข้าพระองค์หรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่ได้สรรเสริญยัญไปเสียทุกอย่าง และเราก็ไม่ได้ติเตียนยัญไปเสียทั้งหมด เราไม่สรรเสริญยัญ๑- ที่มีกิริยา คือ ยัญที่มี การฆ่าโค ๑ ยัญที่มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑ ยัญที่ทำให้สัตว์ ต่างๆ ได้รับความเดือดร้อน ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระอรหันต์หรือท่านผู้ บรรลุอรหัตตมรรคย่อมไม่เกี่ยวข้องกับยัญที่มีกิริยาอย่างนั้น พราหมณ์ แต่เราสรรเสริญยัญที่ไม่มีกิริยา คือ นิจทานและอนุกูลยัญ คือ ยัญที่ไม่มีการฆ่าโค ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑ ยัญที่ไม่ทำให้สัตว์ต่างๆ ได้รับความเดือดร้อน ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระ อรหันต์หรือท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรคย่อมเกี่ยวข้องกับยัญที่ไม่มีกิริยาอย่างนี้” ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สำรวมระวัง ย่อมเกี่ยวข้องกับยัญ๒- ที่จัดเตรียมไว้อย่างดี ไม่มีกิริยา เหมาะสมกับเวลาเช่นนั้น @เชิงอรรถ : @ ยัญในที่นี้หมายถึงมหายัญ ๕ ประการของพราหมณ์(ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๙ (อุชชยสูตร) หน้า ๖๕ ในเล่มนี้) @ ยัญ ในที่นี้หมายถึงเครื่องไทยธรรม เป็นยัญที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๐/๓๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๖๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. จักกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ท่านผู้รู้ผู้ฉลาดในบุญ มีกิเลสเปรียบเหมือนหลังคาอันเปิดแล้ว ล่วงเลยตระกูลและคติ๑- ในโลก ย่อมสรรเสริญยัญชนิดนี้ ถ้าบุคคลทำการบูชาในปกติทาน หรือในมตกทานตามสมควร มีจิตเลื่อมใส บูชาในนาที่ดี คือท่านพรหมจารีทั้งหลาย ยัญที่บุคคลบูชาดีแล้ว เซ่นสรวงดีแล้ว สมบูรณ์ดี ทำไว้ในทักขิไณยบุคคล ยัญย่อมแพร่หลาย และเทวดาก็เลื่อมใส บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ มีศรัทธา๒- มีใจพ้นแล้ว๓- บูชายัญอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่ปราศจากความเบียดเบียน เป็นสุข
อุทายิสูตรที่ ๑๐ จบ
จักกวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จักกสูตร ๒. สังคหสูตร ๓. สีหสูตร ๔. อัคคัปปสาทสูตร ๕. วัสสการสูตร ๖. โทณสูตร ๗. อปริหานิยสูตร ๘. ปฏิลีนสูตร ๙. อุชชยสูตร ๑๐. อุทายิสูตร @เชิงอรรถ : @ ตระกูลและคติ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ ๓ คือ กิเลสวัฏฏะ, กัมมวัฏฏะ, วิปากวัฏฏะ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๐/๓๔๑) @ ศรัทธา หมายถึงมีศรัทธาเชื่อมั่นต่อพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๐/๓๔๒) @ มีใจพ้นแล้ว หมายถึงพ้นจากความตระหนี่ในลาภเป็นต้น หรือมีใจสละแล้ว (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๐/๓๔๒, @องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๗/๑๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๖๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๖๖-๖๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=40              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=1154&Z=1187                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=40              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=40&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7905              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=40&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7905                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i031-e.php#sutta10 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i031-e2.php#sutta10 https://suttacentral.net/an4.40/en/sujato https://suttacentral.net/an4.40/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :