![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
๘. อัตตการีสูตร ว่าด้วยอัตตการ [๓๘] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ไม่มีอัตตการ (มีตนเป็นตัวการ) ไม่มีปรการ๒- (มีสิ่งอื่นเป็นตัวการ) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ เราไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังคำของบุคคล ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้เลย ก็บุคคลเมื่อก้าวไปข้างหน้าเองได้ ถอยกลับ เองได้ ไฉนจึงจักกล่าวอย่างนี้ว่า ไม่มีอัตตการ ไม่มีปรการ พราหมณ์ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร อารัพภธาตุ๓- มีอยู่หรือไม่ @เชิงอรรถ : @๑ มีใจพ้นแล้ว หมายถึงมีใจพ้นจากความตระหนี่ลาภเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๗/๑๑๘) @๒ พราหมณ์พูดตามลัทธิมักขลิโคศาลที่ถือว่าสัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์ หรือเศร้าหมองเอง ไม่ใช่ตัวเองเป็นตัวการ @และไม่ใช่เพราะสิ่งอื่นเป็นตัวการ ดู ที.สี. (แปล) ๙/๑๖๘/๕๔-๕๖, ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๖ คำว่า อัตตการ @และปรการนี้ บางทีใช้ในความหมายเดียวกับสยังกตา ปรังกตา ดู สํ.นิ. ๑๖/๑๗/๑๙, สํ.นิ.อ. ๒/๑๗/๔๐ @๓ อารัพภธาตุ หมายถึงความเพียรริเริ่มในการทำความดี เป็นธรรมเครื่องป้องกันถีนมิทธะ(ความหดหู่ @และเซื่องซึม) มิให้เกิดขึ้นและกำจัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๘/๑๑๘, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๓๘-๔๑/๑๓๓) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๕/๒๒๕, องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๑๘/๔ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๘๘}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. เทวตาวรรค ๘. อัตตการีสูตร
พราหมณ์กราบทูลว่า มี ท่านพระโคดม เมื่อมีอารัพภธาตุ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเพียรริเริ่มยังมีปรากฏอยู่หรือไม่ ยังมีปรากฏ ท่านพระโคดม พราหมณ์ การที่เมื่อมีอารัพภธาตุ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเพียรริเริ่มยังมี ปรากฏอยู่ นี้แลคืออัตตการ นี้แลคือปรการของสัตว์ทั้งหลาย พราหมณ์ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร นิกกมธาตุมีอยู่หรือไม่ ฯลฯ ปรักกมธาตุ มีอยู่หรือไม่ ฯลฯ ถามธาตุมีอยู่หรือไม่ ฯลฯ ธิติธาตุมีอยู่หรือไม่ ฯลฯ อุปักกมธาตุ๑- มีอยู่หรือไม่ ฯลฯ มี ท่านพระโคดม พราหมณ์ เมื่อมีอุปักกมธาตุ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความพยายามยังมีปรากฏอยู่หรือไม่ ยังมีปรากฏ ท่านพระโคดม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ การที่เมื่อมีอุปักกมธาตุ สัตว์ทั้งหลายผู้มี ความพยายามยังมีปรากฏอยู่ นี้แลคืออัตตการ นี้แลคือปรการของสัตว์ทั้งหลาย พราหมณ์ เราไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังคำของบุคคลผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้มีทิฏฐิ อย่างนี้เลย ก็บุคคลเมื่อก้าวไปข้างหน้าเองได้ ถอยกลับเองได้ ไฉนจึงจักกล่าว อย่างนี้ว่า ไม่มีอัตตการ ไม่มีปรการ พราหมณ์กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะ ยิ่งนัก ฯลฯ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตอัตตการีสูตรที่ ๘ จบ @เชิงอรรถ : @๑ นิกกมธาตุ หมายถึงสภาวะที่พากเพียรออกจากความเกียจคร้าน @ปรักกมธาตุ หมายถึงสภาวะที่บากบั่นรุดไปข้างหน้าไม่หยุดหย่อน @ถามธาตุ หมายถึงสภาวะที่มีพลังเข้มแข็ง @ธิติธาตุ หมายถึงสภาวะที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว @อุปักกมธาตุ หมายถึงสภาวะที่มีความพยายาม @ธาตุทั้งหมดนี้เป็นชื่อของ วิริยะ ที่มีอาการต่างกัน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๘/๑๑๘, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๓๘-๔๑/๑๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๘๙}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๘๘-๔๘๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=289 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=7948&Z=7983 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=309 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=309&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2657 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=309&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2657 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i302-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an06/an06.038.niza.html https://suttacentral.net/an6.38/en/sujato https://suttacentral.net/an6.38/en/nizamis
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]