ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๙. ทานมหัปผลสูตร

๙. ทานมหัปผลสูตร
ว่าด้วยทานที่มีผลมากและทานที่ไม่มีผลมาก
[๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ฝั่งสระคัคคราโบกขรณี เขต กรุงจัมปา ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวกรุงจัมปาจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึง ที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายได้ฟังธรรมีกถาต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคผ่าน มานานแล้ว ขอให้เราทั้งหลายได้ฟังธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาคเถิด” ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายควรมา ในวันอุโบสถเถิด จะได้ฟังธรรมีกถาในสำนักของพระผู้มีพระภาคแน่นอน” อุบาสก ชาวกรุงจัมปารับคำแล้วลุกจากที่นั่ง อภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ครั้นถึงวันอุโบสถ อุบาสกชาวกรุงจัมปาได้พากันไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ต่อจากนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสก ชาวกรุงจัมปาเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้ไหม ทานชนิดเดียวกันที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ถวายแล้วไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก แต่ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้วกลับมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มีได้ สารีบุตร ทานชนิดเดียวกันที่บุคคล บางคนในโลกนี้ถวายแล้วไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก แต่ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ถวายแล้วกลับมีผลมาก มีอานิสงส์มาก” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกันที่ บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้ว ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกันที่บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้วกลับมีผลมาก มีอานิสงส์มาก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๘๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๙. ทานมหัปผลสูตร

“สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานอย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างมีจิต ผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้วจัก บริโภคผลทานนี้’ เขาจึงให้ทานนั้น คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ สารีบุตร เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ควรให้ทานเช่นนั้นหรือไม่” “ควรให้ พระพุทธเจ้าข้า” “สารีบุตร ในการให้ทานเช่นนั้น บุคคลผู้ให้ทานอย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างมี จิตผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้วจัก บริโภคผลทานนี้’ เขาให้ทานนั้นแล้ว หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับพวก เทวดาชั้นจาตุมหาราช เขาให้กรรมนั้นสิ้นไป ให้ฤทธิ์นั้นสิ้นไป ให้ยศนั้นสิ้นไป ให้ความเป็นใหญ่นั้นสิ้นไป เป็นผู้ยังต้องมา คือมาสู่ความเป็นอย่างนี้” “สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทานอย่าง ไม่มีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้ ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี‘ฯลฯ” “สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทาน อย่างไม่มีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละ โลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควร ให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมเสียไป’ ฯลฯ” “สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควรให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อม เสียไป’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การ ที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’ ฯลฯ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๙๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๙. ทานมหัปผลสูตร

“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุง หากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราให้ทานและจำแนก ทานนี้ เหมือนเหล่าฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตตฤาษี ยมคัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสป- ฤาษี และภคุฤาษี ได้บูชามหายัญ๑- แล้ว ฉะนั้น’ ฯลฯ” “สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราจัก ให้ทานและจำแนกทานนี้เหมือนเหล่าฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตตฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ได้บูชามหายัญแล้ว’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม โสมนัส ฯลฯ” “สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเรา ให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม โสมนัส’ แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต ปรุงแต่งจิต เขาจึงให้ทานนั้น คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ สารีบุตร เธอเข้าใจเรื่องนั้น อย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ควรให้ทานเช่นนั้นหรือไม่” “ควรให้ พระพุทธเจ้าข้า” “สารีบุตร ในการให้ทานเช่นนั้น บุคคลผู้ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทาน อย่างไม่มีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละ โลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’ มิใช่ ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควรให้ วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมเสียไป’ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้ @เชิงอรรถ : @ มหายัญในที่นี้หมายถึงการตระเตรียมมหาทานซึ่งประกอบไปด้วยอาหารและเภสัชต่างๆ มีเนยใส เนยข้น @นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๒/๑๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๙๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๑๐. นันทมาตาสูตร

หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเอง ไม่ได้ ไม่ควร’ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราจักให้ทานและจำแนกทานนี้เหมือนเหล่า ฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตตฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษีและภคุฤาษี ได้บูชามหายัญ แล้ว’ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม โสมนัส’ แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต ปรุงแต่งจิต เขาจึงให้ทานนั้น หลังจาก ตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับพวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา๑- เขาให้กรรมนั้นสิ้นไป ให้ฤทธิ์นั้นสิ้นไป ให้ยศนั้นสิ้นไป ให้ความเป็นใหญ่นั้นสิ้นไป เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ สารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกัน ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้วไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกัน ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้วกลับมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
ทานมหัปผลสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. นันทมาตาสูตร
ว่าด้วยอริยธรรมของนันทมาตาอุบาสิกา
[๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลานะ จาริกไปในทักขิณาคีรี ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้นแล ในเวลาใกล้รุ่ง นันทมาตาอุบาสิกา ชาวเมืองเวฬุกัณฏกะ๒- ลุกขึ้นสวดปารายนสูตร๓- เป็นทำนองสรภัญญะ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๕ สัตตกนิบาต ข้อ ๔๔ หน้า ๖๗ ในเล่มนี้ @ ที่มีชื่อว่า เวฬุกัณฏกะ เพราะเป็นเมืองที่ถูกสร้างกำแพงล้อมรอบโดยใช้ไม้ไผ่ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๓/๑๘๗) @ ที่ชื่อว่า ปารายนะ เพราะนำไปสู่ฝั่งคือนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๓/๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๘๙-๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=49              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=1340&Z=1436                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=49              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=49&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4141              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=49&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4141                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i041-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.049.than.html https://suttacentral.net/an7.52/en/sujato https://suttacentral.net/an7.52/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :