ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. เมตตาวรรค ๑. เมตตาสูตร
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. เมตตาวรรค
หมวดว่าด้วยเมตตา
๑. เมตตาสูตร๑-
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งเมตตาเจโตวิมุตติ
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง ได้ตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ๒- ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว พึงหวังได้ อานิสงส์ ๘ ประการ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๕/๔๒๕-๔๒๖ และเทียบ ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๒๒/๔๖๐-๔๖๑ @ เมตตาเจโตวิมุตติ หมายถึงเมตตาที่เกิดจากตติยฌานและจตุตถฌาน พ้นจากปัจจนีกธรรม (ธรรมที่เป็น @ข้าศึก) กล่าวคือนิวรณ์ ๕ ประการ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗/๔๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๔) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๓/๔๒๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. เมตตาวรรค ๑. เมตตาสูตร

อานิสงส์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข ๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา ๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรากล้ำกรายไม่ได้ ๘. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษ๑- ย่อมเข้าถึงพรหมโลก ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว พึงหวังได้ อานิสงส์ ๘ ประการนี้ ผู้มีสติตั้งมั่น เจริญเมตตาแผ่ไปไม่มีประมาณ พิจารณาเห็นธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ๒- ย่อมมีสังโยชน์เบาบาง หากบุคคลมีจิตไม่คิดประทุษร้ายสัตว์แม้ชีวิตเดียว เจริญเมตตาเป็นประจำอยู่ ก็เป็นผู้ชื่อว่าฉลาดเพราะการเจริญเมตตานั้น แต่พระอริยบุคคลผู้มีใจอนุเคราะห์หมู่สัตว์ทุกหมู่เหล่า ชื่อว่าสั่งสมบุญไว้เป็นอันมาก พระราชาผู้ทรงธรรมเช่นกับฤาษี ทรงชนะใจหมู่สัตว์ทั่วแผ่นดินด้วยราชธรรม @เชิงอรรถ : @ คุณวิเศษ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๕/๓๘๕) @ พิจารณาเห็นธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ หมายถึงบรรลุอรหัตตผลอันเป็นที่สิ้นกิเลสตามแนวทางการเจริญวิปัสสนา @ที่มีเมตตาเป็นพื้นฐาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๒, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๑/๒๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๙๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. เมตตาวรรค ๑. เมตตาสูตร

ทรงบูชายัญ คือ สัสสเมธะ ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ และนิรัคคฬะ๑- เสด็จเที่ยวไป ยัญเหล่านั้น ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งเมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญดีแล้ว เหมือนแสงหมู่ดวงดาวไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงจันทร์ ฉะนั้น ผู้มีเมตตาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า จะไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง๒- ไม่ใช้ให้ผู้อื่นชนะ๓- ย่อมไม่มีเวร๔- กับใครๆ
เมตตาสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ยัญทั้ง ๕ นี้มีความหมายตรงกันข้ามกับมหายัญ ๕ ประการของพราหมณ์ โดย ๔ ยัญแรก (สัสสเมธะ @ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ) หมายถึงหลักสงเคราะห์ที่ดีงามของพระราชา (ราชสังคหวัตถุ) จัดเป็น @ส่วนเหตุ ยัญที่ ๕ (นิรัคคฬะ) จัดเป็นส่วนผล ยัญทั้ง ๕ นั้น มีความหมายดังนี้ (๑) สัสสเมธะ หมายถึง @ความฉลาดในการสงเคราะห์พสกนิกรด้วยการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตร มีความหมาย @ตรงกันข้ามกับอัศวเมธะ(การฆ่าม้าบูชายัญ) ของพราหมณ์ (๒) ปุริสเมธะ หมายถึงความฉลาดในการ @บำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ มีความหมายตรงกันข้ามกับปุริสเมธะ (การฆ่าคนบูชายัญ) @ของพราหมณ์ (๓) สัมมาปาสะ หมายถึงความมีอัธยาศัยดุจบ่วงคล้องใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ @เช่น ให้คนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวไม่เก็บภาษีเป็นเวลา ๓ ปี เป็นต้น มีความหมายตรงกันข้ามกับสัมมาปาสะ @(การทำบ่วงแล้วขว้างไม้ลอดบ่วง ไม้ตกที่ไหนทำพิธีบูชายัญที่นั้น)ของพราหมณ์(๔) วาชเปยยะ หมายถึง @ความมีปิยวาจาเป็นที่ดูดดื่มใจคน เช่น เรียกว่า ‘พ่อ’ ‘ลุง’ (๕) นิรัคคฬะ หมายถึงบ้านเมืองสงบสุขปราศจาก @โจรผู้ร้าย ไม่ต้องระแวงภัย บ้านเรือนไม่ต้องลงกลอน เป็นผลที่เกิดจาก ๔ ประการแรก มีความหมายตรง @กันข้ามกับนิรัคคฬะของพราหมณ์ซึ่งหมายถึงการฆ่าครบทุกอย่างบูชายัญไม่จำกัด (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๓, @ขุ.อิติ.อ. ๒๗/๑๐๖-๑๐๘, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๑/๒๔๙-๒๕๒, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๙/๓๗๑-๓๗๒) และดู @เทียบใน สํ.ส. ๑๕/๑๒๐/๙๑, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๙/๖๔-๖๖, ขุ.อิติ. ๒๕/๒๗/๒๕๐-๒๕๑, @ขุ.สุ. ๒๕/๒๘๗-๓๑๘/๓๘๙-๓๙๓ @ ไม่ชนะเอง ในที่นี้หมายถึงไม่ทำความเสื่อมต่อผู้อื่นด้วยตนเอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๔) @ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นชนะ ในที่นี้หมายถึงไม่ใช้ให้ผู้อื่นทำความเสื่อมต่อผู้อื่น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๔) @ ไม่มีเวร ในที่นี้หมายถึงไม่มีอกุศลเวรและบุคคลเวร (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๔) และดู ขุ.อิติ. ๒๕/๒๗/๒๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๙๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๙๓-๑๙๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=74              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=3076&Z=3110                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=91              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=91&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4719              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=91&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4719                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i091-e.php# https://suttacentral.net/an8.1/en/sujato https://suttacentral.net/an8.1/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :