ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๒. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักษุ
[๖๑] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย จักษุ ๓ ประการนี้ จักษุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มังสจักษุ (ตาเนื้อ) ๒. ทิพพจักษุ (ตาทิพย์) ๓. ปัญญาจักษุ (ตาคือปัญญา) ภิกษุทั้งหลาย จักษุ ๓ ประการนี้แล” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นอุดมบุรุษ ได้ตรัสจักษุ ๓ ประการนี้ คือ มังสจักษุ ทิพพจักษุ และปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๒. ทุติยวรรค ๓. อินทริยสูตร

ความเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุ เป็นทางแห่งทิพพจักษุ เมื่อใด ญาณคือปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยมเกิดขึ้น เมื่อนั้น บุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เพราะได้ปัญญาจักษุ๑- แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
จักขุสูตรที่ ๒ จบ
๓. อินทริยสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์
[๖๒] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้ อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์๒- ๒. อัญญินทรีย์๓- ๓. อัญญาตาวินทรีย์๔- ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล” @เชิงอรรถ : @ ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๖, อภิ.ก. ๓๗/๓๗๔/๒๑๔ @ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ หมายถึงอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่า ‘เราจักรู้อมตบท (นิพพาน) หรือ @อริยสัจธรรม ๔ ที่ยังมิได้รู้ ยังมิได้บรรลุ’ คำนี้เป็นชื่อของโสดาปัตติมัคคญาณ (ขุ.อิติ.อ. ๖๒/๒๓๗) @ อัญญินทรีย์ หมายถึงอินทรีย์ หรือปัญญาที่รู้โดยข้ามพ้นแดนมิจฉาทิฏฐิแล้วกำหนดรู้อริยสัจ ๔ มีทุกข์ @เป็นต้น เช่นเดียวกับโสดาปัตติมัคคญาณ แต่มีลักษณะรู้ชัดกว่ากันตามลำดับ คำนี้เป็นชื่อของญาณ ๖ @คือตั้งแต่โสดาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมัคคญาณ (ขุ.อิติ.อ. ๖๒/๒๓๗-๒๓๘) @ อัญญาตาวินทรีย์ หมายถึงอินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือปัญญาของพระอรหันตขีณาสพ คำนี้ @เป็นชื่อของอรหัตตผลญาณ (ขุ.อิติ.อ. ๖๒/๒๓๗-๒๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๑๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๑๖-๔๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=176              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=5591&Z=5605                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=239              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=239&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=5185              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=239&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=5185                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.3.050-099.than.html#iti-061 https://suttacentral.net/iti61/en/ireland https://suttacentral.net/iti61/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :