บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๓. นันทวรรค]
๒. นันทสูตร
๒. นันทสูตร ว่าด้วยพระนันทเถระ [๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาค พระโอรสของพระมาตุจฉา ได้บอกแก่ภิกษุหลายรูปอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมไม่ยินดีจะประพฤติพรหมจรรย์๑- ไม่สามารถจะทรงพรหมจรรย์ไว้ได้ กระผม จักบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาค พระโอรสของพระมาตุจฉาได้บอก แก่ภิกษุหลายรูปอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมไม่ยินดีประพฤติ พรหมจรรย์ ไม่สามารถจะทรงพรหมจรรย์ไว้ได้ กระผมจักบอกคืนสิกขากลับมาเป็น คฤหัสถ์ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ภิกษุ เธอจงไป เรียกนันทะมาหาเราว่า ท่านนันทะ พระศาสดารับสั่งหาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับสนอง พระดำรัสแล้วเข้าไปหาท่านพระนันทะถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับท่านพระนันทะว่า ท่านนันทะ พระศาสดารับสั่งหาท่าน ท่านพระนันทะรับคำของภิกษุรูปนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามท่านพระนันทะ ดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ หน้า ๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๑๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๓. นันทวรรค]
๒. นันทสูตร
นันทะ ทราบว่า เธอได้บอกแก่ภิกษุหลายรูปอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมไม่ยินดีจะประพฤติพรหมจรรย์ ไม่สามารถจะทรงพรหมจรรย์ไว้ได้ กระผม จักบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์จริงหรือ ท่านพระนันทะทูลตอบว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า นันทะ ก็เพราะเหตุอะไร เธอจึงไม่ยินดี จะประพฤติพรหมจรรย์ ไม่สามารถจะทรงพรหมจรรย์ไว้ได้ จักบอกคืนสิกขากลับมา เป็นคฤหัสถ์ ท่านพระนันทะทูลตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขณะที่ข้าพระองค์กำลัง ออกจากพระตำหนัก นางชนบทกัลยาณีสากิยานี มีเกสาที่เกล้าไว้เพียงครึ่งเดียว เหลียวมากล่าวกับข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ทูลกระหม่อม ขอพระองค์รีบเสด็จกลับมา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้น เมื่อนึกถึงคำของพระนางทีไร ก็ไม่ยินดี จะประพฤติพรหมจรรย์ ไม่สามารถจะทรงพรหมจรรย์ไว้ได้ จึงจักบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงจับแขนท่านพระนันทะ เสด็จหายไปจากพระเชตวัน ไปปรากฏในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ เหมือนคนมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ขณะนั้น นางอัปสรผู้มีสีเท้าเหมือนสีเท้านกพิราบประมาณ ๕๐๐ นาง กำลัง มาสู่ที่เฝ้ารับใช้ท้าวสักกะจอมเทพ ทันใดนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเรียกท่านพระนันทะ มาตรัสถามว่า นันทะ เธอเห็นนางอัปสรผู้มีสีเท้าเหมือนสีเท้านกพิราบ ๕๐๐ นาง เหล่านี้หรือไม่ ท่านพระนันทะทูลตอบว่า เห็น พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า นันทะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร (คือ) ระหว่างนางชนบทกัลยาณีสากิยานี กับนางอัปสรผู้มีสีเท้าเหมือนสีเท้านกพิราบ ๕๐๐ นางเหล่านี้ ใครสวยกว่ากัน น่าดูกว่ากัน หรือน่าชมกว่ากัน ท่านพระนันทะทูลตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางชนบทกัลยาณีสากิยานี เมื่อเปรียบเทียบกับนางอัปสร ๕๐๐ นางเหล่านี้ ก็เหมือนนางลิงรุ่นถูกไฟไหม้อวัยวะ หูวิ่นจมูกแหว่ง คือ สวยไม่ถึงหนึ่งเสี้ยว สวยไม่ถึงส่วนหนึ่งของเสี้ยว เปรียบเทียบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๑๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๓. นันทวรรค]
๒. นันทสูตร
กันไม่ได้เลย โดยที่แท้ นางอัปสร ๕๐๐ นางเหล่านี้แลสวยกว่า น่าดูกว่า และ น่าชมกว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงยินดี เธอจงยินดีเถิด นันทะ เราขอรับรอง เธอเพื่อได้นางอัปสรผู้มีสีเท้าเหมือนสีเท้านกพิราบ ๕๐๐ นางแน่ๆ ท่านพระนันทะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคจะทรง รับรองข้าพระองค์เพื่อได้นางอัปสรผู้มีสีเท้าเหมือนสีเท้านกพิราบ ๕๐๐ นางแน่แท้ ข้าพระองค์จักยินดีประพฤติพรหมจรรย์ พระพุทธเจ้าข้า ทันใดนั้น พระผู้มีพระภาคทรงจับแขนท่านพระนันทะแล้ว เสด็จหายไปจากหมู่ เทวดาชั้นดาวดึงส์ ไปปรากฏ ณ พระเชตวัน เหมือนคนมีกำลังเหยียดแขนออก หรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ฟังข่าวว่า ทราบว่า ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มี พระภาค พระโอรสของพระมาตุจฉา ประพฤติพรหมจรรย์เพราะนางอัปสรเป็นเหตุ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคก็ทรงรับรองพระนันทะเพื่อให้ได้นางอัปสรผู้มีสีเท้าเหมือน สีเท้านกพิราบ ๕๐๐ นาง ตั้งแต่นั้นมา ภิกษุทั้งหลายที่เป็นสหายของท่านพระนันทะ ก็ร้องเรียก ท่านพระนันทะด้วยวาทะว่าลูกจ้างบ้าง ด้วยวาทะว่าผู้ถูกไถ่มาบ้างว่า ทราบว่า ท่านพระนันทะเป็นลูกจ้าง ทราบว่า ท่านพระนันทะเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงไถ่มา ประพฤติพรหมจรรย์เพราะนางอัปสรเป็นเหตุ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคก็ทรงรับรอง พระนันทะเพื่อให้ได้นางอัปสรผู้มีสีเท้าเหมือนสีเท้านกพิราบ ๕๐๐ นาง ท่านพระนันทะอึดอัด ระอา รังเกียจวาทะว่าลูกจ้าง และวาทะว่าผู้ถูกไถ่มา ของภิกษุผู้เป็นสหายเหล่านั้น จึงจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑- อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา @เชิงอรรถ : @๑ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลอันเป็นที่สุดแห่งมัคคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๕/๗, @ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐, ขุ.อุ.อ. ๒๒/๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๑๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๓. นันทวรรค]
๒. นันทสูตร
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ ที่ควรทำ๑- เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป จึงเป็นอันว่า ท่าน พระนันทะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๒- เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี ให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ท่านพระนันทะพระภาดาของผู้มีพระภาค พระโอรสของพระมาตุจฉา ทำให้ แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงเกิดพระญาณรู้ว่า นันทะทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา- วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ครั้นคืนนั้นผ่านไป ท่านพระนันทะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองข้าพระองค์ เพื่อได้นางอัปสรผู้มีสีเท้า เหมือนสีเท้านกพิราบ ๕๐๐ นาง ข้าพระองค์ขอปลดเปลื้องพระผู้มีพระภาคจากการ รับรองนั้น พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นันทะ แม้เราเองก็กำหนดรู้ใจเธอด้วยใจว่า นันทะ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้เทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่เราว่า ข้าแต่พระองค์ @เชิงอรรถ : @๑ กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจ ๔ อย่าง คือ ปริญญากิจ หน้าที่กำหนดรู้ทุกข์ ปหานกิจ หน้าที่ละเหตุ @เกิดทุกข์ สัจฉิกิริยากิจ หน้าที่ทำให้แจ้งความดับทุกข์ ภาวนากิจ หน้าที่อบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ @เป็นกิจในอริยสัจ ๔ (ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓, องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๗, ขุ.อุ.อ. ๒๒/๑๘๔, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๔๙/๑๔๑) @๒ ดูเชิงอรรถที่ ๔ หน้า ๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๑๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๓. นันทวรรค]
๓. ยโสชสูตร
ผู้เจริญ ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาค พระโอรสของพระมาตุจฉาทำให้ แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นันทะ เราพ้นจากการรับรองนี้ตั้งแต่จิตของเธอหลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นนั้นแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่าพุทธอุทาน ภิกษุใดข้ามเปือกตมคือกามได้๑- ย่ำยีหนามคือกามได้ ภิกษุนั้นบรรลุความสิ้นโมหะ๒- ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะสุขและทุกข์นันทสูตรที่ ๒ จบ ๓. ยโสชสูตร ว่าด้วยพระยโสชเถระ [๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปมีพระยโสชะเป็น หัวหน้าเดินทางมาถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค ภิกษุอาคันตุกะ เหล่านั้นแลกำลังทักทายกับภิกษุเจ้าถิ่น ปูลาดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรอยู่ จึงได้ ส่งเสียงอื้ออึง @เชิงอรรถ : @๑ ดูชื่อของกามใน องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒๓/๔๕๓, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๕๖/๓๔๙ @๒ ความสิ้นโมหะ หมายถึงอรหัตตผลและนิพพาน (ขุ.อุ.อ. ๒๒/๑๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๑๔}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๑๐-๒๑๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=57 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=2066&Z=2161 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=67 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=67&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=3949 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=67&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=3949 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.3.02.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.3.02.irel.html https://suttacentral.net/ud3.2/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud3.2/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]