ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต]

๓. มหากัปปินเถรคาถา

๓. มหากัปปินเถรคาถา
ภาษิตของพระมหากัปปินเถระ
(พระมหากัปปินเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า) [๕๔๗] ผู้ใดย่อมเห็นประโยชน์ที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล ทั้งสองที่ยังมาไม่ถึงนั้นได้ก่อน ผู้ที่เป็นศัตรูหรือมิตรของผู้นั้น คอยหาช่องทางอยู่ก็ย่อมไม่เห็น [๕๔๘] ผู้ใดเจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ด้วยดี อบรมมาโดยลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นยังโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนดวงจันทร์พ้นจากเมฆ [๕๔๙] จิตของเราผ่องแผ้วหนอ ได้รับอบรมด้วยดีอย่างไม่มีประมาณ เป็นจิตรู้แจ้งแทงตลอดและประคองไว้ดีแล้ว ย่อมสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ [๕๕๐] ผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็เป็นอยู่ได้ ส่วนคนมีทรัพย์ แต่ไม่มีปัญญา ก็เป็นอยู่ไม่ได้ [๕๕๑] ปัญญาเป็นเครื่องตัดสินเรื่องที่ได้ฟังมา เป็นเหตุเจริญชื่อเสียงและความสรรเสริญ นรชนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้ แม้ในเวลาที่ตนตกทุกข์ ก็ยังประสบสุขได้ [๕๕๒] ธรรมนี้มิใช่มีแต่วันนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ ทั้งมิใช่ไม่เคยมีมา ในโลกที่สัตว์เกิดสัตว์ตายจะไม่เคยมีได้อย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต]

๔. จูฬปันถกเถรคาถา

[๕๕๓] เมื่อสัตว์เกิดมาแล้วจะต้องตายต่อจากการมีชีวิตแน่แท้ สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วๆ ในโลกนี้ย่อมตายทั้งนั้น เพราะสัตว์ทั้งหลายมีความเกิด ความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ [๕๕๔] การที่คนอื่นๆ ร้องไห้ถึงผู้ที่ตายไป เพื่อต้องการให้ผู้ที่ตายไปนั้นมีชีวิต ไม่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ตายไป การร้องไห้นี้นำยศมาให้ไม่ได้ นำความสรรเสริญมาให้ก็ไม่ได้ ทั้งสมณพราหมณ์ก็ไม่สรรเสริญเลย [๕๕๕] ดวงตาและร่างกายของผู้ร้องไห้ย่อมร่วงโรย ผิวพรรณ กำลัง และความคิดก็เสื่อม พวกคนที่เป็นศัตรูของผู้ร้องไห้นั้นย่อมยินดี ส่วนพวกที่เป็นมิตรของเขาก็ย่อมไม่มีความสุขไปด้วย [๕๕๖] เพราะฉะนั้นแล บุคคลพึงปรารถนาท่านผู้เป็นนักปราชญ์ และท่านผู้เป็นพหูสูตซึ่งสามารถทำกิจของตนให้สำเร็จได้ ด้วยกำลังปัญญาให้อยู่ในสกุล เหมือนคนทั้งหลายข้ามแม่น้ำที่เต็มเปี่ยมได้ด้วยเรือ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๔๓๕-๔๓๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=372              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=6965&Z=6993                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=372              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=372&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=4553              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=372&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=4553                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thag10.3/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :