ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๖. สุรุจิชาดก (๔๘๙)

๖. สุรุจิชาดก (๔๘๙)
ว่าด้วยพระมเหสีของพระเจ้าสุรุจิ
(พระนางสุเมธาสดับพระดำรัสของท้าวสักกะแล้วได้บอกคุณคือศีลของตนว่า) [๑๐๒] ดิฉันเป็นหญิงที่สามีพึงเลี้ยงดู ซึ่งถูกเชิญมาเป็นมเหสีของพระเจ้าสุรุจิเป็นคนแรก พระเจ้าสุรุจิได้นำดิฉันมา ๑๐,๐๐๐ ปีแล้ว [๑๐๓] ท่านพราหมณ์ ดิฉันนั้นยังไม่รู้สึกเลยว่า ได้ล่วงเกินพระเจ้าสุรุจิผู้ครอบครองมิถิลานคร แคว้นวิเทหะ ด้วยกาย วาจา และใจ ไม่ว่าในที่แจ้งหรือในที่ลับเลย [๑๐๔] ฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวเท็จ ขอศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง [๑๐๕] ดิฉันเป็นที่รักที่พอพระทัยของพระภัสดา พระมารดาผู้เป็นแม่ผัว พระราชบิดาผู้เป็นพ่อผัว เป็นที่รักของดิฉัน ท่านพราหมณ์ ท่านทั้ง ๒ นั้นทรงแนะนำดิฉันอยู่จนตลอดพระชนมชีพ [๑๐๖] ดิฉันนั้นยินดีในการไม่เบียดเบียน มีปกติประพฤติธรรมโดยส่วนเดียว ตั้งใจมาบำรุงท่านเหล่านั้นโดยเคารพ มิได้เกียจคร้านทั้งกลางคืนและกลางวัน [๑๐๗] ฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวเท็จ ขอศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง [๑๐๘] ท่านพราหมณ์ ดิฉันมิได้มีความริษยา หรือความโกรธในหญิง ๑๖,๐๐๐ นาง ผู้เป็นภรรยาร่วมกันเหล่านั้นในกาลไหนๆ เลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๖. สุรุจิชาดก (๔๘๙)

[๑๐๙] ดิฉันยินดีที่จะเกื้อกูลพวกนาง ไม่มีสักนางหนึ่งเลยซึ่งเป็นที่เกลียดชังของดิฉัน ดิฉันช่วยเหลือพวกนางผู้ร่วมสามีกันทุกคนเป็นประจำ เหมือนช่วยเหลือตนเอง [๑๑๐] ฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวเท็จ ขอศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง [๑๑๑] พวกทาส กรรมกร คนรับใช้ และคนที่อาศัยเลี้ยงชีพเหล่าอื่น ดิฉันมีความแช่มชื่นเบิกบาน ใช้สอยด้วยเหตุที่เหมาะสมเสมอ [๑๑๒] ฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวเท็จ ขอศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง [๑๑๓] แม้สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย และแม้พวกวณิพกเหล่าอื่น ดิฉันมีฝ่ามืออันชุ่ม เลี้ยงดูให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยข้าวและน้ำเป็นประจำ [๑๑๔] ฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวเท็จ ขอศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง [๑๑๕] ดิฉันเข้าจำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ พร้อมทั้งวันปาฏิหาริยปักษ์ สำรวมแล้วในศีลทั้งหลายในกาลทุกเมื่อ [๑๑๖] ฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวเท็จ ขอศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง (ท้าวสักกะทรงสรรเสริญพระนางสุเมธาว่า) [๑๑๗] พระราชบุตรีผู้เจริญ ผู้เพียบพร้อมด้วยยศ คุณธรรมทั้งหลายที่พระนางระบุถึงในพระองค์ มีอยู่ในพระนางทั้งหมด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๖. สุรุจิชาดก (๔๘๙)

[๑๑๘] กษัตริย์ผู้สมบูรณ์ด้วยพระชาติ เป็นอภิชาตบุตรผู้เรืองยศ เป็นพระธรรมราชาแห่งชาววิเทหะ จะอุบัติแด่พระนาง (พระนางสุเมธาทรงโสมนัส จึงตรัสถามว่า) [๑๑๙] พระดาบสผู้มีดวงตาแจ่มใส ครองผ้าเปื้อนฝุ่น ยืนอยู่ในอากาศที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง กล่าววาจาเป็นที่น่าชื่นใจ จับใจดิฉันยิ่งนัก [๑๒๐] ท่านเป็นเทวดามาจากสวรรค์หรือหนอ หรือว่าเป็นฤๅษีผู้มีฤทธิ์มาก ท่านเป็นใครกันแน่มาถึงที่นี้ จงประกาศตนให้ดิฉันทราบ (ท้าวสักกะตรัสว่า) [๑๒๑] หมู่เทพมาประชุมพร้อมกันที่สภาชื่อสุธรรมาถวายบังคมท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นคือข้าพเจ้าท้าวสักกสหัสสนัยน์ได้มายังสำนักของพระนาง [๑๒๒] หญิงคนใดในมนุษยโลก ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ มีปัญญา มีศีล มีความเคารพสามี นับถือแม่ผัวประดุจเทวดา [๑๒๓] เทวดาทั้งหลายซึ่งมิใช่มนุษย์ย่อมมาเยือนหญิงมนุษย์ ผู้มีปัญญาดี มีการงานอันสะอาดเช่นนั้น [๑๒๔] พระนางผู้เจริญ ก็พระนางมีกรรมอันสั่งสมไว้ดีแล้ว และมีการประพฤติที่ดีงามไว้ในปางก่อน ทรงเกิดในราชสกุลนี้ เป็นหญิงที่มีความสำเร็จตามความปรารถนาทุกสิ่งทุกอย่าง [๑๒๕] พระราชบุตรี ก็พระนางทรงกำชัยชนะนี้ไว้ได้ในโลกทั้ง ๒ คือทรงเข้าถึงเทวโลก ๑ มีเกียรติยศชื่อเสียงในชีวิตนี้ ๑ [๑๒๖] พระนางสุเมธา ขอพระองค์ทรงสุขสำราญ รักษาธรรมไว้ในพระองค์ตลอดกาลนานเถิด เรานี้ขอลากลับไปสู่สวรรค์ชั้นไตรทศ การพบพระนางเป็นที่พอใจของเรา
สุรุจิชาดกที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๔๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๔๔๐-๔๔๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=489              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=7504&Z=7558                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1942              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1942&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=6122              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1942&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=6122                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja489/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :