บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
๖. ชราสุตตนิทเทส๑- อธิบายชราสูตร ว่าด้วยชรา พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายชราสูตร ดังต่อไปนี้ [๓๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ชีวิตนี้น้อยนัก มนุษย์ย่อมตายภายใน ๑๐๐ ปี แม้หากผู้ใดจะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น ผู้นั้นก็จะตายเพราะชราแน่แท้ว่าด้วยชีวิตเป็นของน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ คำว่า ชีวิต ในคำว่า ชีวิตนี้น้อยนัก อธิบายว่า อายุ ความดำรงอยู่ ความ ดำเนินไป ความให้ชีวิตดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความเป็นไป ความรักษา ความ เป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์ อนึ่ง ชีวิตเป็นของน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ๑. ชีวิตเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย ๒. ชีวิตเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย ชีวิตเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างไร คือ ในขณะจิตที่เป็นอดีต ชีวิตเป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่ ในขณะจิตที่เป็นอนาคต ชีวิตจักเป็นอยู่ ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้วในขณะ จิตที่เป็นปัจจุบัน ชีวิตกำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่ (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) @เชิงอรรถ : @๑ ขุ.สุ. ๒๕/๘๑๑-๘๒๐/๔๙๓-๔๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๔๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งปวง เป็นธรรมที่ประกอบกันขึ้นชั่วขณะจิตเดียว ขณะย่อมหมุนไปอย่างรวดเร็ว เทวดาผู้ดำรงอยู่ได้ตั้ง ๘๔,๐๐๐ กัป ก็มิได้ประกอบด้วยจิต ๒ ดวง(ในขณะจิตเดียว) เป็นอยู่ได้ ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ที่ตายไป หรือยังดำรงอยู่ในโลกนี้ดับไปแล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งหมด เป็นอย่างเดียวกัน ดับไปแล้วก็มิได้สืบต่อกัน ขันธ์ที่แตกไปในอดีตอันหาลำดับมิได้ และขันธ์ที่จะแตกไปในอนาคต มีลักษณะไม่ต่างกับขันธ์ที่ดับในปัจจุบัน สัตว์ไม่เกิดด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์ เพราะจิตแตกดับไป สัตว์โลกชื่อว่า ตายแล้ว นี้เป็นปรมัตถบัญญัติ เพราะมีอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่แปรไปตามฉันทะ ย่อมเป็นไปไม่ขาดสาย เหมือนน้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น ขันธ์ทั้งหลายถึงการทรงตัวอยู่ไม่ได้แตกไปแล้ว กองขันธ์ในอนาคตก็ไม่มี ส่วนขันธ์ที่เกิดแล้วในปัจจุบันก็ดำรงอยู่ เหมือนเมล็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น ความแตกทำลายแห่งขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ปรากฏอยู่ข้างหน้า ขันธ์ทั้งหลายที่มีการแตกเป็นธรรมดา ดำรงอยู่ มิได้รวมกับขันธ์เก่า ขันธ์ทั้งหลายมาโดยสภาวะที่ไม่ปรากฏ แตกทำลายไปแล้ว ก็ไปสู่สภาวะที่ไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและดับไป เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ ฉะนั้น ชีวิตชื่อว่าเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๔๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
ชีวิตเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างไร คือ ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจเข้า ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจออก ชีวิต เกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยมหาภูตรูป ชีวิต เกี่ยวเนื่องด้วยอาหารที่กลืนกิน ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยไฟธาตุ ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วย วิญญาณ มูลเหตุ(กรัชกาย) ของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย บุพพเหตุของ สภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย ปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นมีกำลังน้อย แดนเกิด(ตัณหา) มีกำลังน้อย ธรรมที่เกิดร่วมกันของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย ธรรมที่ประกอบกัน (อรูปธรรม)ของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย ธรรมที่เกิด พร้อมกันของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย กิเลสเครื่องประกอบ(ตัณหา) มีกำลังน้อย สภาวธรรมเหล่านี้แต่ละอย่างมีกำลังน้อยตลอดเวลา สภาวธรรมเหล่านี้แต่ละอย่าง ไม่มั่นคง สภาวธรรมเหล่านี้ต่างก็ทำให้สภาวธรรมอื่นตกล่วงลงไป เพราะสภาวธรรม เหล่านี้ต่างก็ไม่มีความต้านทาน สภาวธรรมเหล่านี้ต่างก็ไม่ดำรงกันและกันอยู่ได้ แม้สภาวธรรมที่ทำให้ธรรมเหล่านี้เกิดก็ไม่มี อนึ่ง ธรรมไรๆ ก็มิได้เสื่อมไปเพราะธรรมไรๆ เพราะขันธ์เหล่านี้ พึงถึงความแตกดับไปโดยประการทั้งปวง ขันธ์เหล่านี้ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก่อน แม้เหตุปัจจัยที่เกิดก่อนก็แตกดับไปแล้วในก่อน ในกาลไหนๆ ขันธ์ที่เกิดก่อนและที่เกิดภายหลัง จึงไม่ได้เห็นกันและกัน ชีวิตชื่อว่าเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างนี้ อนึ่ง เพราะเทียบกับชีวิตของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ชีวิตของมนุษย์จึงน้อย คือ เล็กน้อย นิดหน่อย ชั่วขณะ เร็วพลัน ประเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่นาน ดำรงอยู่ไม่นาน เพราะเทียบกับชีวิตของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้นดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... เพราะเทียบเคียงกับชีวิตของ เทวดาชั้นพรหมกายิกา(ผู้นับเนื่องอยู่ในหมู่พรหม) ชีวิตของมนุษย์จึงน้อย คือ เล็ก น้อย นิดหน่อย ชั่วขณะ เร็วพลัน ประเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่นาน ดำรงอยู่ไม่นาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๔๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์น้อย จำต้องไปสู่ปรโลก ต้องประสบกับความตายที่เข้าใจกันอยู่ ควรทำกุศล ประพฤติ พรหมจรรย์ ผู้ที่เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีชีวิตยืนนาน ผู้นั้นก็อยู่ ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรืออยู่ได้เกินกว่านั้นก็มีน้อย (พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า) มนุษย์มีอายุน้อย บุคคลผู้ฉลาดพึงดูหมิ่นชีวิตที่น้อยนั้น พึงเร่งประพฤติธรรมเหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น เพราะความตายจะไม่มาถึงไม่มี๑- วันคืนล่วงเลยไป ชีวิตก็ใกล้หมดสิ้นไป อายุของสัตว์ทั้งหลายก็หมดสิ้นไป เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยจะแห้งไป ฉะนั้น๒- รวมความว่า ชีวิตนี้น้อยนัก คำว่า มนุษย์ย่อมตายภายใน ๑๐๐ ปี อธิบายว่า มนุษย์ย่อมเคลื่อน ตาย สูญหาย สลายไป ในขณะที่เป็นกลละ(น้ำใส)บ้าง ... ในขณะที่เป็นอัพพุทะ(น้ำล้าง เนื้อ)บ้าง ... ในขณะที่เป็นเปสิ(ชิ้นเนื้อ)บ้าง ... ในขณะที่เป็นฆนะ(ก้อนเนื้อ)บ้าง ... ในขณะที่เป็นปัญจสาขา(๕ ปุ่ม คือมือ ๒ เท้า ๒ ศีรษะ ๑)บ้าง ขณะคลอด ย่อมเคลื่อน ตาย สูญหาย สลายไปบ้าง ย่อมเคลื่อน ตาย สูญหาย สลายไป ในเรือนคลอดบ้าง มีอายุเพียงครึ่งเดือน ย่อมเคลื่อน ตาย สูญหาย สลายไปบ้าง มีอายุ ๑ เดือน ... มีอายุ ๒ เดือน ... มีอายุ ๓ เดือน ... มีอายุ ๔ เดือน ... มีอายุ ๕ เดือน ... มีอายุ ๖ เดือน ... มีอายุ ๗ เดือน ... มีอายุ ๘ เดือน ... มีอายุ ๙ เดือน ... มีอายุ ๑๐ เดือน ... มีอายุ ๑ ปี ... มีอายุ ๒ ปี ... มีอายุ ๓ ปี ... มีอายุ ๔ ปี ... มีอายุ ๕ ปี ... มีอายุ ๖ ปี ... มีอายุ ๗ ปี ... มีอายุ ๘ ปี ... มีอายุ ๙ ปี ... มีอายุ ๑๐ ปี ... มีอายุ ๒๐ ปี ... มีอายุ ๓๐ ปี ... มีอายุ ๔๐ ปี ... มีอายุ ๕๐ ปี ... มีอายุ ๖๐ ปี ... มีอายุ ๗๐ ปี ... มีอายุ ๘๐ ปี ... มีอายุ ๙๐ ปี ย่อมเคลื่อน ตาย สูญหาย สลายไปบ้าง รวมความว่า มนุษย์ย่อมตายภายใน ๑๐๐ ปี @เชิงอรรถ : @๑ สํ.ส. ๑๕/๑๔๕/๑๓๐ @๒ สํ.ส. ๑๕/๑๔๖/๑๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๔๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า แม้หากผู้ใดจะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น อธิบายว่า ผู้ใดอยู่ได้เกิน ๑๐๐ ปี ผู้นั้นก็อยู่ได้อีก ๑ ปีบ้าง ... ๒ ปีบ้าง ... ๓ ปีบ้าง ... ๔ ปีบ้าง ... ๕ ปีบ้าง ... ๒๐ ปีบ้าง ... ๓๐ ปีบ้าง ... ผู้นั้นก็อยู่ได้อีก ๔๐ ปีบ้าง รวมความว่า แม้หากผู้ใด จะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น คำว่า ผู้นั้นก็จะตายเพราะชราแน่แท้ อธิบายว่า เมื่อผู้ใดชรา คือ สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก มีฟันหัก ผมหงอก ผมบาง ศีรษะล้าน หนังย่น ตัวตกกระ หลังโกง หลังค่อม ถือไม้เท้ายันกาย ผู้นั้นก็ย่อมเคลื่อน ตาย สูญหาย สลายไปเพราะชรา ไม่มีความหลุดพ้นจากความตายไปได้ (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) สัตว์ที่เกิดมาแล้ว มีภัยจากความตายเป็นนิจ เหมือนผลไม้สุกแล้ว มีภัยจากการหล่นไปในเวลาเช้า ฉะนั้น ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำไว้ทั้งหมดมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นฉันนั้น มนุษย์ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ โง่ และฉลาดทั้งหมด ย่อมไปสู่อำนาจของความตาย มีความตายรออยู่ข้างหน้า เมื่อมนุษย์เหล่านั้นผู้ถูกความตายครอบงำอยู่ กำลังจะไปจากโลกนี้สู่ปรโลก บิดาก็ปกป้องบุตรไม่ได้ หรือหมู่ญาติก็ปกป้องหมู่ญาติไม่ได้ เมื่อพวกญาติกำลังเพ่งมองดูอยู่ รำพันกันเป็นอันมากอยู่นั่นแหละว่า จงดูสัตว์แต่ละตนๆ ถูกความตายนำไป เหมือนโคถูกนำไปฆ่าฉะนั้น สัตว์โลกถูกความแก่และความตายครอบงำอยู่อย่างนี้๑- @เชิงอรรถ : @๑ ขุ.สุ. ๒๕/๕๘๒-๕๘๗/๔๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๔๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
รวมความว่า ผู้นั้นก็จะตายเพราะชราแน่แท้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง ตรัสว่า ชีวิตนี้น้อยนัก มนุษย์ย่อมตายภายใน ๑๐๐ ปี แม้หากผู้ใดจะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น ผู้นั้นก็จะตายเพราะชราแน่แท้ [๔๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ชนทั้งหลาย ย่อมเศร้าโศกเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา เพราะความยึดถือที่เที่ยงแท้ไม่มีอยู่ ความพลัดพรากจากกันนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงครองเรือนว่าด้วยคนเศร้าโศกเพราะการยึดถือ คำว่า ชนทั้งหลาย ในคำว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเศร้าโศกเพราะวัตถุที่ยึดถือ ว่าเป็นของเรา ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร บรรพชิต เทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา ด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา จักถูกแย่งชิงไป ย่อม เศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูก แย่งชิงไปแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่า วัตถุที่ตนยึดถือว่า เป็นของเราจักแปรผันไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรผันไป ย่อมเศร้าโศก บ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไปแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ้าง คือ ลำบากใจ คร่ำครวญ ตีอกพร่ำเพ้อ ถึงความหลงใหล รวมความว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเศร้าโศกเพราะวัตถุ ที่ยึดถือว่าเป็นของเรา @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๔๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า ความยึดถือ ในคำว่า เพราะความยึดถือที่เที่ยงแท้ไม่มีอยู่ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือด้วย อำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจ ทิฏฐิ๑- ความยึดถือด้วยอำนาจตัณหา เป็นภาวะไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัย กันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา แม้ความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ ก็เป็นภาวะไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็น ธรรมดา สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นความยึดถือ ที่เป็นของเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความ ไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอกับสิ่งที่ยึดถือว่าแน่แท้หรือไม่ ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า ดีละภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้พิจารณาเห็นความยึดถือ ที่เป็นของเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอกับสิ่งที่ยึดถือว่า แน่แท้๒- ความยึดถือ ที่เป็นของเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา ย่อมไม่มี ไม่มีอยู่ คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ รวมความว่า เพราะความยึดถือที่ เที่ยงแท้ไม่มีอยู่ คำว่า ความพลัดพรากจากกันนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง อธิบายว่า ความเป็น ต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น มีอยู่ ปรากฏ หาได้ สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า พอเถอะอานนท์ เธออย่าเศร้าโศก อย่าคร่ำครวญเลย เราพูดไว้ก่อนแล้วมิใช่ หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากสิ่งที่รักใคร่ พอใจ ทั้งหมด มีอยู่ อานนท์ สิ่งที่เกิดแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นแล้ว จะต้องแตกสลายไป @เชิงอรรถ : @๑ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ @๒ ม.มู. ๑๒/๒๔๓/๒๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๔๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
เป็นธรรมดา ขออย่าได้แตกสลายไปเลย จะพึงหาได้จากที่ไหนในโลกนี้เล่า ข้อนั้น ไม่ใช่ฐานะจะมีได้ ขันธ์ ธาตุ อายตนะก่อนๆ แปรผันเป็นอื่นไป ขันธ์ ธาตุ อายตนะที่เกิดหลังๆ ก็ย่อมเป็นไป๑- รวมความว่า ความพลัดพรากจากกันนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง คำว่า ดังนี้ ในคำว่า กุลบุตรเห็นดังนี้แล้วก็ไม่พึงครองเรือน เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า เห็นดังนี้แล้ว ได้แก่ เห็นแล้ว คือ มองเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็น ของเรา ดังนี้ รวมความว่า เห็นดังนี้แล้ว คำว่า ก็ไม่พึงครองเรือน อธิบายว่า พึงตัดความกังวลเรื่องการครองเรือน ตัดความกังวลเรื่องบุตรภรรยา ตัดความกังวลเรื่องญาติ ตัดความกังวลเรื่องมิตร อำมาตย์ ตัดความกังวลเรื่องการสะสมทั้งหมด โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้า กาสาวะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความไม่กังวลแล้ว เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว รวมความว่า กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงครองเรือน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเศร้าโศกเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา เพราะความยึดถือที่เที่ยงแท้ไม่มีอยู่ ความพลัดพรากจากกันนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงครองเรือน [๔๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย บัณฑิตผู้เป็นพุทธมามกะ รู้ชัดโทษนี้แล้ว ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา @เชิงอรรถ : @๑ ที.ม. ๑๐/๒๐๗/๑๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๔๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
ว่าด้วยการยึดถือเบญจขันธ์ คำว่า เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย อธิบายว่า คำว่า ความตาย ได้แก่ การจุติ การเคลื่อนจากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่า สัตว์นั้นๆ ความทำลาย ความหายไป มัจจุ ความตาย กาลกิริยา การทำลายขันธ์ การทอดทิ้งซากศพไว้ การตัดขาดชีวิตินทรีย์ คำว่า เบญจขันธ์นั้น ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คำว่า ย่อมละไป ได้แก่ เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไป คือ ละทิ้ง ละขาด สูญหาย สลายไป สมจริงดังภาษิตนี้ว่า โภคทรัพย์ย่อมละบุคคลไปก่อนบ้าง บุคคลย่อมละโภคทรัพย์ไปก่อนบ้าง โจรราชผู้ใคร่กาม๑- หมู่ชนผู้มีโภคทรัพย์ เป็นผู้ไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก ดวงจันทร์ขึ้นเต็มดวงแล้วก็ลับไป ดวงอาทิตย์กำจัดความมืดแล้วก็ลับไป ศัตรูเอ๋ย เรารู้จักโลกธรรมแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก๒- คำว่า เบญจขันธ์ใด ในคำว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจขันธ์นั้น บุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คำว่า บุรุษ ได้แก่ การกล่าวถึง การขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ คำว่า ย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา อธิบายว่า ย่อมสำคัญเพราะ ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจทิฏฐิ ย่อม @เชิงอรรถ : @๑ โจรราชผู้ใคร่กาม เป็นชื่อของพระราชาองค์หนึ่ง ในมณิกุณฑลชาดก (ขุ.ชา.อ. ๔/๒-๓/๔๑๙-๔๒๑, @ขุ.ม.อ. ๔๑/๒๔๙) @๒ ขุ.ชา. ๒๗/๒-๓/๑๒๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๕๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
สำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจมานะ ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจ กิเลส ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจทุจริต ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญ ด้วยอำนาจกิเลสเครื่องประกอบ ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจวิบาก รวมความว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา คำว่า บัณฑิต ... รู้ชัดโทษนี้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้ ในเบญจขันธ์ที่ยึดถือ ว่าเป็นของเรา รวมความว่า รู้ชัดโทษนี้แล้ว คำว่า บัณฑิต ได้แก่ นักปราชญ์ บัณฑิต ผู้มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า บัณฑิต ... รู้ชัดโทษนี้แล้ว คำว่า ผู้เป็นพุทธมามกะ ... ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา อธิบายว่า คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา ด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า ผู้เป็นพุทธมามกะ ได้แก่ ผู้นับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ผู้นั้นย่อมนับถือพระผู้มีพระภาคว่าเป็นของเรา พระผู้มีพระภาคก็ทรงรับรอง บุคคลนั้น สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นคน คดโกง แข็งกระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่มั่นคง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น มิใช่ผู้นับถือเรา เป็นผู้ไปจากธรรมวินัยนี้แล้ว และภิกษุเหล่านั้นจะไม่ ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ส่วนภิกษุเหล่าใด ไม่คดโกง ไม่พูด พล่อย เป็นนักปราชญ์ ไม่แข็งกระด้าง มีจิตมั่นคง ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้นับถือเรา เป็นผู้ไม่ไปจากธรรมวินัยนี้ และภิกษุเหล่านั้นจะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ใน ธรรมวินัยนี้๒- @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ @๒ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๒๖/๓๑, ขุ.อิติ. ๒๕/๑๐๘/๓๒๖-๓๒๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๕๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า) ภิกษุทั้งหลาย ผู้คดโกง แข็งกระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่มั่นคง ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแล้ว (ส่วน)ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดพล่อย เป็นนักปราชญ์ ไม่แข็งกระด้าง มีจิตมั่นคง ย่อมงอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแล้ว๑- คำว่า ผู้เป็นพุทธมามกะ ... ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา อธิบายว่า ผู้เป็นพุทธมามกะละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว ไม่พึงน้อมไป คือ ไม่พึง โน้มไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ไม่พึงเป็นผู้เอนไปในความยึดถือว่าเป็น ของเรานั้น ไม่พึงเป็นผู้โอนไปในความยึดถือว่าเป็นของเรานั้น ไม่พึงเป็นผู้โน้ม ไปในความยึดถือว่าเป็นของเรานั้น ไม่พึงเป็นผู้น้อมใจไปในความยึดถือว่าเป็นของ เรานั้น ไม่พึงเป็นผู้มีความยึดถือว่าเป็นของเรานั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า ผู้เป็น พุทธมามกะ ... ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย บัณฑิตผู้เป็นพุทธมามกะ รู้ชัดโทษนี้แล้ว ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา [๔๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุรุษผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยความฝัน ฉันใด ใครๆ ย่อมไม่เห็นชนผู้เป็นที่รัก ซึ่งตายจากไปแล้ว ฉันนั้น @เชิงอรรถ : @๑ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๒๖/๓๑, ขุ.อิติ. ๒๕/๑๐๘/๓๒๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๕๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
ว่าด้วยสิ่งที่เกี่ยวข้องอุปมาเหมือนความฝัน คำว่า สิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยความฝัน ฉันใด ได้แก่ ที่เกี่ยวข้อง คือ ที่มาปรากฏ ที่มารวมกัน ที่มาประชุมกัน รวมความว่า สิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยความฝัน ฉันใด คำว่า บุรุษผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็น อธิบายว่า บุรุษผู้ฝันเห็นดวงจันทร์ เห็นดวงอาทิตย์ เห็นมหาสมุทร เห็นขุนเขาสุเมรุ เห็นช้าง เห็นม้า เห็นรถ เห็น ทหารราบ เห็นขบวนทัพ เห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ เห็นป่าที่น่ารื่นรมย์ เห็นภูมิภาค ที่น่ารื่นรมย์ เห็นสระที่น่ารื่นรมย์ เมื่อตื่นขึ้นแล้วก็ย่อมไม่เห็นอะไรเลย ฉันใด รวมความว่า บุรุษผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็น คำว่า ฉันนั้น ในคำว่า ชนผู้เป็นที่รัก ... ฉันนั้น เป็นคำอุปไมยทำอุปมาให้ สมบูรณ์ คำว่า ชนผู้เป็นที่รัก ได้แก่ ชนผู้เป็นที่รัก คือ ผู้นับถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว บุตร ธิดา มิตร อำมาตย์ หรือญาติสายโลหิต รวมความว่า ชนผู้เป็นที่รัก ... ฉันนั้น คำว่า ย่อมไม่เห็น ... ซึ่งตายจากไปแล้ว อธิบายว่า ผู้ที่ตายไปแล้ว ตรัส เรียกว่า ผู้จากไปแล้ว ใครๆ ย่อมไม่เห็น คือ ย่อมไม่แลเห็น ไม่ประสบ ไม่พบ ไม่ได้คืน ชนผู้เป็นที่รักซึ่งตายไปแล้ว รวมความว่า ย่อมไม่เห็น ... ซึ่งตายจากไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุรุษผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยความฝัน ฉันใด ใครๆ ย่อมไม่เห็นชนผู้เป็นที่รัก ซึ่งตายจากไปแล้ว ฉันนั้น [๔๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ชื่อของชนเหล่าใดที่กล่าวกันอยู่นี้ ชนเหล่านั้นยังเห็นกันอยู่บ้าง ยังได้ยินกันอยู่บ้าง สัตว์เกิดจากไปแล้วเหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น เพื่อกล่าวขานกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๕๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
ว่าด้วยสิ่งต่างๆ สลายไปเหลือแต่ชื่อ คำว่า ยังเห็นกันอยู่ ในคำว่า ชนเหล่านั้นยังเห็นกันอยู่บ้าง ยังได้ยินกันอยู่ บ้าง ได้แก่ ผู้มีรูปที่รู้กันได้ด้วยจักขุวิญญาณ คำว่า ยังได้ยินกันอยู่ ได้แก่ ผู้มีชื่อเสียงที่รู้กันได้ด้วยโสตวิญญาณ คำว่า ชนเหล่านั้น ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์ รวมความว่า ชนเหล่านั้นยังเห็นกันอยู่บ้าง ยังได้ยินกันอยู่บ้าง คำว่า ของชนเหล่าใด ในคำว่า ชื่อของชนเหล่าใดที่กล่าวกันอยู่นี้ ได้แก่ ของกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์เหล่าใด คำว่า ชื่อ ได้แก่ การกล่าวถึง การขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ คำว่า ที่กล่าวกันอยู่ ได้แก่ ที่เรียก ที่กล่าวกันอยู่ คือ ที่พูด ที่บอก ที่แสดง ที่ชี้แจงกันอยู่ รวมความว่า ชื่อของชนเหล่าใดที่กล่าวกันอยู่นี้ คำว่า เหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น เพื่อกล่าวขานกัน อธิบายว่า ขันธ์ที่เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ บุคคลย่อมละ ละเว้น ละขาด สูญหาย สลายไป ก็ยังเหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น คำว่า เพื่อกล่าวขานกัน ได้แก่ เพื่อกล่าวขานกัน คือ เพื่อพูด บอก แสดง ชี้แจง รวมความว่า เหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น เพื่อกล่าวขานกัน คำว่า จากไปแล้ว ในคำว่า สัตว์เกิดจากไปแล้ว ได้แก่ ตายแล้ว ทำกาละแล้ว คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ รวมความว่า สัตว์เกิดจากไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสว่า ชื่อของชนเหล่าใดที่กล่าวกันอยู่นี้ ชนเหล่านั้นยังเห็นกันอยู่บ้าง ยังได้ยินกันอยู่บ้าง สัตว์เกิดจากไปแล้วเหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น เพื่อกล่าวขานกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๕๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
[๔๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมละทิ้งความเศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น มุนีผู้เห็นแดนเกษม ละความยึดถือได้แล้ว เที่ยวไป คำว่า ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมละทิ้งความ เศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้ อธิบายว่า คำว่า ความเศร้าโศก ได้แก่ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความเศร้าโศกภายใน ความเศร้าโศกมากภายใน ความหม่นไหม้ภายใน ความเร่า ร้อนภายใน ความหม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ลูกศรคือความเศร้าโศกของผู้ถูก ความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง ถูก ความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่น นอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง คำว่า ความคร่ำครวญ ได้แก่ ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ บ่นเพ้อ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ ของผู้ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ... ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบ กับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่ กล่าวแล้วกระทบบ้างว่าด้วยความตระหนี่ ๕ อย่าง คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ ๑. อาวาสมัจฉริยะ ๒. กุลมัจฉริยะ ๓. ลาภมัจฉริยะ ๔. วัณณมัจฉริยะ ๕. ธัมมมัจฉริยะ ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนียว ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความ ตระหนี่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๕๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ ก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ ตัณหา ตรัสเรียกว่าความติดใจ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา ด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ๒- ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเราจะถูกแย่งชิงไปย่อมเศร้า โศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังถูกแย่งชิงไปย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูกแย่งชิงไป แล้วย่อมเศร้าโศกบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเราจะ แปรผันไปย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรผันไปย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุ นั้นแปรผันไปแล้วย่อมเศร้าโศกบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่า เป็นของเราจะถูกแย่งชิงไปย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังถูกแย่งชิงไปย่อม คร่ำครวญบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูกแย่งชิงไปแล้วย่อมคร่ำครวญบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาด ระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเราจะแปรผันไปย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อวัตถุนั้น กำลังแปรผันไป ย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไปแล้วก็ย่อมคร่ำครวญบ้าง ชนทั้งหลายย่อมรักษา ปกป้อง ถือครอง ยึดถือ สิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ประพฤติตระหนี่ว่า เป็นของเรา ย่อมเศร้าโศก เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา จึงละความเศร้าโศกไม่ได้ ละความคร่ำครวญไม่ได้ ละความตระหนี่ไม่ได้ ละความ ติดใจไม่ได้ ละไม่ได้ คือ ละเว้นไม่ได้ บรรเทาไม่ได้ ทำให้หมดสิ้นไปไม่ได้ ให้ถึง ความไม่มีอีกไม่ได้ รวมความว่า ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมละทิ้งความเศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้ @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑ @๒ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๕๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น มุนีผู้เห็นแดนเกษม ละความ ยึดถือได้แล้วเที่ยวไป ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น เมื่อเห็นโทษนี้ในการยึดถือว่าเป็นของเรา รวมความว่า เพราะฉะนั้นว่าด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการ คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑- ผู้ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือ ผู้บรรลุโมนญาณแล้ว โมเนยยธรรม(ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี) มี ๓ ประการ คือ ๑. โมเนยยธรรมทางกาย ๒. โมเนยธรรมทางวาจา ๓. โมเนยยธรรมทางใจ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๒- คำว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือด้วย อำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจ ตัณหา ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ๓- มุนีละความยึดถือด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความยึดถือด้วยอำนาจ ทิฏฐิได้แล้ว ละ คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก เที่ยวไป ได้แก่ ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป คำว่า ผู้เห็นแดนเกษม อธิบายว่า อมตนิพพาน ตรัสเรียกว่า แดนเกษม คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่ คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๙๒ @๒ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๖๙ @๓ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๕๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า ผู้เห็นแดนเกษม ได้แก่ ผู้เห็นแดนเกษม คือ เห็นที่ปกป้อง เห็นที่ หลีกเร้น เห็นที่พึ่ง เห็นที่ไม่มีภัย เห็นที่ไม่จุติ เห็นอมตธรรม เห็นนิพพาน รวม ความว่า เพราะฉะนั้น มุนีผู้เห็นแดนเกษม ละความยึดถือได้แล้ว เที่ยวไป ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมละทิ้งความเศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น มุนีผู้เห็นแดนเกษม ละความยึดถือได้แล้ว เที่ยวไป [๔๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพ ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น ใช้ที่นั่งอันสงัดนั้นว่า เป็นความสามัคคีว่าด้วยผู้ประพฤติหลีกเร้น คำว่า ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น อธิบายว่า พระเสขะ ๗ จำพวก ตรัส เรียกว่าผู้ประพฤติหลีกเร้น (ส่วน)พระอรหันต์ ชื่อว่าผู้หลีกเร้นแล้ว เพราะเหตุไร พระเสขะ ๗ จำพวก จึงตรัสเรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น พระเสขะเหล่านั้น ให้จิตหลีกเร้น ถอยกลับ หมุนกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้น เที่ยวไป ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป คือให้จิตหลีกเร้น ถอยกลับ หมุนกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา คุ้มครองจิต ในจักขุทวาร เที่ยวไป ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป คือให้จิตหลีกเร้น ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา คุ้มครองจิต ในโสตทวาร ... ในฆานทวาร ... ในชิวหาทวาร ... ใน กายทวาร ... ในมโนทวาร ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๕๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
พระเสขะเหล่านั้น ให้จิตหลีกเร้น ถอยกลับ หมุนกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้นๆ เที่ยวไป ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป คือ ให้จิตหลีกเร้น ถอยกลับ หมุนกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา คุ้มครองจิตในจักขุทวาร ... ในโสตทวาร .. ในฆานทวาร ... ใน ชิวหาทวาร ... ในกายทวาร ... ในมโนทวาร เที่ยวไป ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่ ใส่เข้าไปในไฟแล้ว ย่อมหัก งอ ม้วน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระเสขะ ๗ จำพวก จึงตรัสเรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น คำว่า ของภิกษุ ได้แก่ ของภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือของภิกษุผู้เป็น พระเสขะ รวมความว่า ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น คำว่า ใช้ที่นั่งอันสงัด อธิบายว่า ที่สำหรับนั่งของภิกษุ ตรัสเรียกว่า ที่นั่ง ได้แก่ เตียง ตั่ง เบาะ เสื่อ แผ่นหนัง เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้า เครื่องปูลาดทำ ด้วยใบไม้ เครื่องปูลาดทำด้วยฟาง ที่นั่งนั้นว่าง สงัด เงียบจากการได้เห็นรูปไม่เป็น ที่สบาย ... จากการได้ยินเสียงไม่เป็นที่สบาย ... จากการได้กลิ่นไม่เป็นที่สบาย ... จาก การได้ลิ้มรสไม่เป็นที่สบาย ... จากการถูกต้องโผฏฐัพพะไม่เป็นที่สบาย ... ที่นั่งนั้นว่าง สงัด เงียบจากกามคุณ ๕ ไม่เป็นที่สบาย ผู้ใช้ คือ ใช้สอย เสพ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะที่นั่งอันสงัดนั้น รวมความว่า ใช้ที่นั่งอันสงัด คำว่า ความสามัคคี ในคำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตน ในภพของภิกษุ ... นั้นว่า เป็นความสามัคคี ได้แก่ สามัคคี ๓ อย่าง คือ ๑. คณสามัคคี ๒. ธัมมสามัคคี ๓. อนภินิพพัตติสามัคคี คณสามัคคี เป็นอย่างไร คือ แม้หากภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก พร้อมเพรียงกัน ชื่นชม ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำกลมกลืนกับน้ำนม มองดูกันและกันด้วยสายตาที่รักกันอยู่ นี้ชื่อว่า คณสามัคคี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๕๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
ธัมมสามัคคี เป็นอย่างไร คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านั้นย่อมดำเนินไป ผ่องใส ตั้งมั่น หลุดพ้นไป โดยความ เป็นอันเดียวกัน ธรรมเหล่านั้นไม่มีความวิวาทขัดแย้งกัน นี้ชื่อว่าธัมมสามัคคี อนภินิพพัตติสามัคคี เป็นอย่างไร คือ แม้หากภิกษุเป็นอันมาก ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความ พร่อง หรือความเต็มแห่งนิพพานธาตุของภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ปรากฏ นี้ชื่อว่า อนภินิพพัตติสามัคคี คำว่า ในภพ อธิบายว่า นรกเป็นภพของสัตว์นรก กำเนิดเดรัจฉาน เป็นภพของสัตว์ผู้เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เปตวิสัยเป็นภพของสัตว์ผู้เกิดในเปตวิสัย มนุษยโลกเป็นภพของมนุษย์ เทวโลกเป็นภพของหมู่เทวดา คำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพของภิกษุ... นั้นว่า เป็น ความสามัคคี อธิบายว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง อย่างนี้ว่า ภิกษุใด ไม่แสดงตนในนรกอันปกปิด ไม่แสดงตนในกำเนิดเดรัจฉาน ไม่ แสดงตนในเปตวิสัย ไม่แสดงตนในมนุษยโลก ไม่แสดงตนในเทวโลกอย่างนี้ การไม่ แสดงตนของภิกษุนั้นเป็นความสามัคคี คือ ข้อนี้ เป็นการปกปิด เป็นการเหมาะสม เป็นการสมควร เป็นการอนุโลม รวมความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตน ในภพของภิกษุ ... นั้นว่า เป็นความสามัคคี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพ ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น ใช้ที่นั่งอันสงัดนั้นว่า เป็นความสามัคคี [๔๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีไม่อาศัยในสิ่งทั้งปวง ไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้เป็นที่รัก และไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้ไม่เป็นที่รัก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๖๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
ความคร่ำครวญและความตระหนี่ ไม่ติดอยู่ในมุนีนั้น เหมือนหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น คำว่า มุนีไม่อาศัยในสิ่งทั้งปวง อธิบายว่า อายตนะ ๑๒ ตรัสเรียกว่า สิ่งทั้งปวง คือ ตาและรูป หูและเสียง จมูกและกลิ่น ลิ้นและรส กายและโผฏฐัพพะ ใจและธรรมารมณ์ คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑- คำว่า ไม่อาศัย ได้แก่ ความอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) ความอาศัยด้วยอำนาจ ตัณหา (๒) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ๒- มุนีละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความอาศัยด้วยอำนาจ ทิฏฐิได้แล้ว ไม่อาศัยตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ... สัญญาภพ ... อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญายตนภพ ... เอกโวการภพ๓- ... จตุโวการภพ๔- ... ปัญจโวการภพ๕- ... ภพอดีต ... ภพอนาคต ... ภพปัจจุบัน ไม่อาศัยรูปที่เห็น ... เสียง ที่ได้ยิน ... กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว มุนีไม่อาศัย คือ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ติดใจแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับธรรมทั้งปวงแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากความอาศัย)อยู่ รวมความว่า มุนีไม่อาศัยในสิ่งทั้งปวง @เชิงอรรถ : @๑ มุนี ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ @๒ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ @๓ เอกโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๒ @๔ จตุโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๒ @๕ ปัญจโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๖๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
ว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก ๒ จำพวก คำว่า ไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้เป็นที่รัก และไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้ไม่เป็น ที่รัก อธิบายว่า คำว่า เป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งเป็นที่รัก ๒ จำพวก คือ (๑) สัตว์ (๒) สังขาร สัตว์เหล่าไหนเป็นที่รัก สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาแต่ความผาสุก ปรารถนาแต่ความ หลุดพ้นจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว บุตร ธิดา มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือผู้ร่วมสายโลหิตของผู้นั้น สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก สังขารเหล่าไหนเป็นที่รัก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าชอบใจ สังขาร เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก คำว่า ไม่เป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งไม่เป็นที่รัก ๒ จำพวก คือ (๑) สัตว์ (๒) สังขาร สัตว์เหล่าไหนไม่เป็นที่รัก สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้เป็นผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่มิใช่ ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่ความไม่ผาสุก ไม่ปรารถนา ความหลุดพ้นจากโยคะ ปรารถนาจะปลงชีวิตของผู้นั้น สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าไม่เป็นที่รัก สังขารเหล่าไหนไม่เป็นที่รัก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันไม่น่าชอบใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าไม่เป็นที่รัก คำว่า ไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้เป็นที่รัก และไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้ไม่เป็น ที่รัก อธิบายว่า ไม่ทำให้เป็นที่รักด้วยอำนาจราคะว่า สัตว์นี้เป็นที่รักของเรา สังขาร เหล่านี้ เป็นที่ชอบใจของเรา ไม่ทำให้ไม่เป็นที่รักด้วยอำนาจปฏิฆะ คือไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นว่า สัตว์นี้ไม่เป็นที่รักของเรา สังขาร เหล่านี้ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา รวมความว่า ไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้เป็นที่รัก และ ไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้ไม่เป็นที่รัก คำว่า ในมุนีนั้น ในคำว่า ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ติดอยู่ใน มุนีนั้น เหมือนหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น ได้แก่ ในบุคคลผู้เป็นพระ อรหันตขีณาสพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๖๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า ความคร่ำครวญ ได้แก่ ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่บ่นเพ้อ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ ของผู้ถูกความเสีย หายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง ถูกความเสีย หายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบ กับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าว แล้วกระทบบ้าง คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ ๑. อาวาสมัจฉริยะ ๒. กุลมัจฉริยะ ๓. ลาภมัจฉริยะ ๔. วัณณมัจฉริยะ ๕. ธัมมมัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความ ถี่เหนี่ยว ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ ก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ คำว่า ไม่ติดอยู่ ... เหมือนหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น อธิบายว่า ใบของบัวตรัสเรียกว่า ใบบัว น้ำตรัสเรียกว่า หยาดน้ำ ความคร่ำครวญและความ ตระหนี่ ไม่ติด คือ ไม่ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็นสภาพไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ในบุคคลผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพนั้น เหมือนหยาดน้ำ ไม่ติด คือ ไม่ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็นของไม่ติดแล้ว เป็นของไม่ติดแน่นแล้ว เป็นของ ไม่ติดพันแล้วบนใบบัว ฉะนั้น อนึ่ง บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์นั้น ไม่ติด คือ ไม่ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็น ผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับกิเลสเหล่านั้น มีใจเป็นอิสระอยู่ รวมความว่า ความคร่ำครวญ และความตระหนี่ ไม่ติดอยู่ในมุนีนั้น เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว ฉะนั้น ด้วยเหตุ นั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๖๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
มุนีไม่อาศัยในสิ่งทั้งปวง ไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้เป็นที่รัก และไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้ไม่เป็นที่รัก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ ไม่ติดอยู่ในมุนีนั้น เหมือนหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น [๔๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีไม่ติดพันในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้ เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนดอกบัว ฉะนั้น คำว่า เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว อธิบายว่า เม็ดน้ำ ตรัสเรียกว่า หยาดน้ำ ใบของบัว ตรัสเรียกว่า ใบบัว เปรียบเหมือนหยาดน้ำ ไม่ติด คือ ไม่ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็นของไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว บนใบบัว ฉะนั้น รวมความว่า เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว คำว่า เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนดอกบัว ฉะนั้น อธิบายว่า ดอกของบัว ตรัสเรียกว่า ดอกบัว น้ำตรัสเรียกว่า หยาดน้ำ เปรียบเหมือนหยาดน้ำไม่ติด คือ ไม่ ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็นของไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้วบนดอกบัว ฉะนั้น รวมความว่า เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนดอกบัว ฉะนั้น คำว่า เหมือน ... ฉะนั้น ในคำว่า มุนีไม่ติดพันในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่รับรู้เหมือน... ฉะนั้น เป็นคำอุปไมยทำอุปมาให้สมบูรณ์ คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑- คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ (๑) ความติดด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความติดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่า ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ๒- @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ @๒ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๖๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
มุนีละความติดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ได้แล้ว ไม่ติดในรูปที่เห็น ไม่ติดในเสียงที่ได้ยิน ไม่ติดในอารมณ์ที่รับรู้ ไม่ติดใน ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว คือ ไม่ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติด แน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจ เป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า มุนีไม่ติดพันในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและ อารมณ์ที่รับรู้เหมือน ... ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีไม่ติดพันในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้ เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนดอกบัว ฉะนั้น [๔๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญหมายรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้ พระอรหันต์นั้นไม่ต้องการความหมดจดด้วยมรรคอื่น ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่ต้องคลายกำหนัด คำว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ในคำว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญหมายรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้ อธิบายว่า ปัญญา ตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความ เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑- เพราะเหตุไร ปัญญาจึงตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด เพราะปัญญานั้นเป็นเครื่อง กำจัด ชำระ ล้าง ซักฟอกกายทุจริต ... วจีทุจริต ... มโนทุจริต ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความ เดือดร้อนทุกประการ ... เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง และซักฟอก อกุสลาภิสังขาร ทุกประเภท๒- เพราะเหตุนั้น ปัญญาจึงตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๙๒ @๒ ดูคำแปลจากข้อ ๕/๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๖๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอกมิจฉาทิฏฐิได้ สัมมาสังกัปปะ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาสังกัปปะได้ สัมมาวาจา เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาวาจาได้ สัมมากัมมันตะ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉากัมมันตะได้ สัมมาอาชีวะ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาอาชีวะได้ สัมมาวายามะ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาวายามะได้ สัมมาสติ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาสติได้ สัมมาสมาธิ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาสมาธิได้ สัมมาญาณ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาญาณได้ สัมมาวิมุตติ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง และซักฟอกมิจฉาวิมุตติได้ อีกนัยหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง และซักฟอกกิเลส ทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท พระอรหันต์ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วย ธรรมเป็นเครื่องกำจัดเหล่านี้ เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่าผู้มีปัญญาเครื่อง กำจัด พระอรหันต์นั้น เป็นผู้กำจัดความกำหนัดได้แล้ว กำจัดบาปได้แล้ว กำจัด กิเลสได้แล้ว กำจัดความเร่าร้อนได้แล้ว รวมความว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด คำว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญหมายรูปที่เห็น เสียง ที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้ อธิบายว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ย่อมไม่ สำคัญหมายรูปที่เห็น ไม่สำคัญหมายในรูปที่เห็น ไม่สำคัญหมายโดยรูปที่เห็น คือไม่สำคัญหมายว่า เราเห็นรูปแล้ว ไม่สำคัญหมายเสียงที่ได้ยิน ไม่สำคัญหมาย ในเสียงที่ได้ยิน ไม่สำคัญหมายโดยเสียงที่ได้ยิน คือ ไม่สำคัญหมายว่า เราได้ยิน เสียงแล้ว ไม่สำคัญหมายอารมณ์ที่รับรู้ ไม่สำคัญหมายในอารมณ์ที่รับรู้ ไม่สำคัญ หมายโดยอารมณ์ที่รับรู้ คือ ไม่สำคัญหมายว่า เรารับรู้อารมณ์แล้ว ไม่สำคัญ หมายธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่สำคัญหมายในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่สำคัญหมายโดย ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง คือ ไม่สำคัญหมายว่า เรารู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๖๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๖. ชราสุตตนิทเทส
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนสำคัญหมายกันว่า เรามีอยู่ ... เรานี้มีอยู่ ... เราจักมี ... เราจักไม่มี ... เราจักเป็นผู้มีรูป ... เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป ... เราจักเป็นผู้มีสัญญา ... เรา จักเป็นผู้ไม่มีสัญญา ... เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ... ภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญหมายเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นอุปัทวะ ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาในธรรมวินัยอย่างนี้ว่า พวกเราจักมีจิตไม่สำคัญ หมายอยู่๑- รวมความว่า พระอรหันต์ ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญ หมายรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้ คำว่า พระอรหันต์นั้นไม่ต้องการความหมดจดด้วยมรรคอื่น อธิบายว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ย่อมไม่ต้องการ คือ ย่อมไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปด้วยมรรคอื่น คือ ด้วยมรรคที่ไม่หมดจด ปฏิปทาที่ผิด ทางที่ไม่นำออกจากทุกข์ นอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ รวมความว่า พระอรหันต์นั้นไม่ต้องการ ความหมดจดด้วยมรรคอื่น คำว่า พระอรหันต์นั้นย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่ต้องคลายกำหนัด อธิบายว่า พาลปุถุชนทั้งปวงย่อมกำหนัด พระเสขะ๒- ๗ จำพวกรวมทั้งกัลยาณปุถุชน๓- ย่อม คลายกำหนัด พระอรหันต์ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่คลายกำหนัด พระอรหันต์นั้น คลายกำหนัดแล้ว เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ เหตุสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจาก โทสะ เหตุสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ เหตุสิ้นโมหะ ท่านอยู่ใน(อริยวาส- ธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ... พระอรหันต์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียน ตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า พระอรหันต์นั้นย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่ต้อง คลายกำหนัด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า @เชิงอรรถ : @๑ สํ.สฬา. ๑๘/๒๔๘/๑๘๖ @๒ พระเสขะ หมายถึงท่านผู้ยังต้องศึกษาหรือพระอริยบุคคล ๗ จำพวกเบื้องต้นในจำนวนพระอริยบุคคล ๘ @คือ (๑) พระโสดาปัตติมรรค (๒) พระโสดาปัตติผล (๓) พระสกทาคามิมรรค (๔) พระสกทาคามิผล @(๕) พระอนาคามิมรรค (๖) พระอนาคามิผล (๗) พระอรหัตตมรรค (๘) พระอรหัตตผล (พระอเสขะ) @(ที.ปา. ๑๑/๓๓๓/๒๒๔) @๓ กัลยาณปุถุชน คือปุถุชนผู้มีคุณธรรมสูง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๖๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญหมายรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้ พระอรหันต์นั้นไม่ต้องการความหมดจดด้วยมรรคอื่น ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่ต้องคลายกำหนัดชราสุตตนิทเทสที่ ๖ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๔๒-๑๖๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=6 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=2586&Z=3083 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=181 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=181&items=43 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=5666 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=181&items=43 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=5666 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]