บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ
๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการห้ามการเดาะกฐินที่ชอบธรรม เรื่องอุบาสกคนหนึ่ง [๙๒๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสกคนหนึ่งให้สร้างวิหาร อุทิศ(ถวาย)สงฆ์ ในการฉลองวิหารนั้น อุบาสกนั้นประสงค์จะถวายอกาลจีวรแก่ สงฆ์ทั้งสองฝ่าย แต่เวลานั้นสงฆ์ทั้งสองฝ่ายกรานกฐินแล้ว ลำดับนั้น อุบาสกนั้น เข้าไปหาสงฆ์ ขอการเดาะกฐิน๑- ภิกษุทั้งหลายจึงได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระ ภาคทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เดาะกฐินได้วิธีการเดาะกฐินและกรรมวาจาเดาะกฐิน ภิกษุทั้งหลายพึงเดาะกฐินอย่างนี้ คือภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๙๒๖] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงเดาะ กฐิน นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ย่อมเดาะกฐิน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ การเดาะกฐิน ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง สงฆ์เดาะกฐินแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่ง นั้นเป็นมติอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @๑ ขอการเดาะกฐิน ในที่นี้คือขอให้สงฆ์ยกเลิกอานิสงส์กฐินก่อนหมดเขตอานิสงส์กฐิน ด้วยต้องการจะถวาย @ผ้าเป็นอกาลจีวรในสมัยที่ยังเป็นจีวรกาล (ดูวินัยปิฎกแปล เล่ม ๒ ข้อ ๕๐๐ หน้า ๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๐๙}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทวิภังค์
[๙๒๗] ต่อมา อุบาสกนั้นเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ ขอเดาะกฐิน ภิกษุณีถุลล นันทากล่าวว่า พวกดิฉันจักมีจีวร คัดค้านการเดาะกฐิน ครั้งนั้น อุบาสกนั้น ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงไม่ให้การเดาะกฐินแก่เราเล่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึง คัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรมเล่า ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอก ภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุณีถุลลนันทาคัดค้านการ เดาะกฐินที่ชอบธรรม จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา จึงคัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรมเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๙๒๘] ก็ภิกษุณีใดคัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์เรื่องอุบาสกคนหนึ่ง จบ สิกขาบทวิภังค์ [๙๒๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๑๐}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร
การเดาะกฐินที่ชื่อว่า ชอบธรรม คือ ภิกษุณีสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันประชุม กันเดาะ คำว่า คัดค้าน คือ คัดค้านว่า จะเดาะกฐินได้อย่างไร ต้องอาบัติปาจิตตีย์บทภาชนีย์ [๙๓๐] การเดาะที่ชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าชอบธรรม คัดค้าน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ การเดาะที่ชอบธรรม ภิกษุณีไม่แน่ใจ คัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ การเดาะที่ชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ชอบธรรม คัดค้าน ไม่ต้องอาบัติ การเดาะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าชอบธรรม คัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ การเดาะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุณีไม่แน่ใจ คัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ การเดาะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ชอบธรรม คัดค้าน ไม่ต้องอาบัติอนาปัตติวาร ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๙๓๑] ๑. ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้วห้าม ๒. ภิกษุณีวิกลจริต ๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๐ จบ นัคควรรคที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๑๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๐๙-๒๑๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=58 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=3559&Z=3610 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=253 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=253&items=5 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11525 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=253&items=5 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11525 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.253 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc30/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc30/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]