บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
๕. มาณวปัญหานิทเทส ว่าด้วยปัญหาของมาณพ ๑๖ คน ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส ว่าด้วยปัญหาของอชิตมาณพ [๑] (ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้) โลกถูกอะไรเล่าหุ้มห่อไว้ เพราะเหตุไรเล่า โลกจึงไม่สดใส ขอพระองค์โปรดตรัสบอกว่า อะไรเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้นไว้ อะไรเล่า เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น (๑) คำว่า โลก ในคำว่า โลกถูกอะไรเล่าหุ้มห่อไว้ ได้แก่ โลกนรก โลกกำเนิด เดรัจฉาน โลกในเปตวิสัย มนุษยโลก เทวโลก๑- ขันธโลก ธาตุโลก๒- อายตนโลก๓- โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลก เทวโลก นี้ ตรัสเรียกว่า โลก โลกนี้ ถูกอะไรโอบล้อม หุ้มห่อ คือ ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบังไว้ รวมความว่า โลกถูกอะไร เล่าหุ้มห่อไว้ @เชิงอรรถ : @๑ เทวโลก คือโลกของหมู่เทพในสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง ๖ เป็นภพที่มีอารมณ์เลิศ โลกที่มีแต่ความสุข @แต่ยังเกี่ยวข้องกับกามอยู่ ได้แก่ (๑) จาตุมหาราชิกา สวรรค์ที่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ปกครองอยู่ (ท้าวธตรฐ @จอมคนธรรพ์ครองทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกจอมกุมภัณฑ์ครองทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์จอมนาคครองทิศ @ตะวันตก ท้าวกุเวรหรือเวสวัณจอมยักษ์ครองทิศเหนือ) (๒) ดาวดึงส์ แดนที่อยู่แห่งเทพ ๓๓ มีท้าวสักกะ @เป็นจอมเทพ (๓) ยามา แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ปราศจากทุกข์ มีท้าวสุยามาเป็นจอมเทพ (๔) ดุสิต @แดนที่อยู่แห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ (๕) นิมมานรดี แดนแห่ง @เทพผู้มีความยินดีในการเนรมิต มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ (๖) ปรนิมมิตวสวัตดี แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ @ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิต คือ เสวยสมบัติที่พวกเทพอื่นนิรมิตให้ มีท้าววสวัตดีเป็นจอมเทพ @(สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๑/๓๖๙) @๒ ธาตุโลก หมายถึงธาตุ ๑๘ คือสิ่งที่ทรงสภาวะของตนเองอยู่ ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นเป็นไป @ตามธรรมนิยาม คือ กำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร้าง ผู้บันดาล และมีรูปลักษณะ กิจ อาการเป็นแบบ @จำเพาะตัว อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่างๆ ได้แก่ (๑) จักขุธาตุ ธาตุคือจักขุปสาท (๒) รูปธาตุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่ง พยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง คำว่า อชิตะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น คือ เป็นการกล่าวถึง การขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้ คำว่า เพราะเหตุไรเล่า โลกจึงไม่สดใส อธิบายว่า เพราะเหตุไร โลกจึง ไม่สดใส คือ ไม่ส่องสว่าง ไม่แผดแสง ไม่รุ่งโรจน์ ไม่แจ่มชัด ไม่ปรากฏชัด รวมความว่า เพราะเหตุไรเล่า โลกจึงไม่สดใส คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกว่าอะไรเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้นไว้ อธิบายว่า อะไรเป็นเครื่องฉาบทา คือ เกี่ยวข้อง ผูกพัน ทำให้โลกนี้เศร้าหมอง โลกถูกอะไรฉาบ ทา ไล้ ทำให้หมองมัว หมองคล้ำ แปดเปื้อน คละเคล้า เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันไว้ ขอพระองค์โปรดตรัส คือโปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกว่า อะไรเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้นไว้ @เชิงอรรถ : @ธาตุคือรูปารมณ์ (๓) จักขุวิญญาณธาตุ ธาตุคือจักขุวิญญาณ (๔) โสตธาตุ ธาตุคือโสตปสาท (๕) @สัททธาตุ ธาตุคือสัททารมณ์ (๖) โสตวิญญาณธาตุ ธาตุคือโสตวิญญาณ (๗) ฆานธาตุ ธาตุคือฆานปสาท @(๘) คันธธาตุ ธาตุคือคันธารมณ์ (๙) ฆานวิญญาณธาตุ ธาตุคือฆานวิญญาณ (๑๐) ชิวหาธาตุ @ธาตุคือชิวหาปสาท (๑๑) รสธาตุ ธาตคือรสารมณ์ (๑๒) ชิวหาวิญญาณธาตุ ธาตุคือชิวหาวิญญาณ (๑๓) @กายธาตุ ธาตุคือกายปสาท (๑๔) โผฏฐัพพธาตุ ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ (๑๕) กายวิญญาณธาตุ @ธาตุคือกายวิญญาณ (๑๖) มโนธาตุ ธาตุคือมโน (๑๗) ธัมมธาตุ ธาตุคือธรรมารมณ์ (๑๘) @มโนวิญญาณธาตุ ธาตุคือมโนวิญญาณ (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๘๓-๑๘๔/๑๔๒-๑๔๖) @๓ อายตนโลก หมายถึงอายนตนะ ๑๒ คือ (สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้ แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้) @อายตนะภายใน ๖ ได้แก่ (๑) ตา (๒) หู (๓) จมูก (๔) ลิ้น (๕) กาย (๖) ใจ และอายตนะภายนอก ๖ @ได้แก่ (๑) รูป (๒) เสียง (๓) กลิ่น (๔) รส (๕) โผฏฐัพพะ (๖) ธรรมารมณ์ ทั้ง ๖ นี้ เรียกทั่วไปว่า @อารมณ์ ๖ คือ เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดหน่วง (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๕๔-๑๖๗/๑๑๒-๑๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า อะไรเล่า เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น อธิบายว่า อะไรเป็นภัย เป็นภัยใหญ่ คือ เป็นเครื่องบีบคั้น เป็นสิ่งกระทบกระทั่ง เป็นอันตราย เป็นอุปสรรคของโลกนั้น รวมความว่า อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงกล่าวว่า (ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้) โลกถูกอะไรเล่าหุ้มห่อไว้ เพราะเหตุไรเล่า โลกจึงไม่สดใส ขอพระองค์โปรดตรัสบอกว่า อะไรเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้นไว้ อะไรเล่า เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น [๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อชิตะ) โลกถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่สดใสเพราะความตระหนี่และความประมาท เราเรียกความอยากว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น (๒)ว่าด้วยอวิชชา คำว่า โลกถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ อธิบายว่า คำว่า อวิชชา ได้แก่ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีตและอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอา โดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความ ไม่ทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคือ อวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ข่ายคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้ ตรัสเรียกว่า อวิชชา๑- คำว่า โลก ได้แก่ โลกนรก โลกกำเนิดเดรัจฉาน โลกในเปตวิสัย มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลก เทวโลก นี้ ตรัสเรียกว่า โลก โลกนี้ถูกอวิชชานี้โอบล้อม หุ้มห่อ คือ ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบังไว้ รวมความว่า โลกถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ คำว่า อชิตะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่ออธิบายคำว่า ภควา คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายราคะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโทสะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโมหะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายมานะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายทิฏฐิได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายเสี้ยนหนามได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายกิเลสได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงจำแนก แยกแยะ แจกแจงธรรมรัตนะ ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำที่สุดแห่งภพได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมพระวรกายแล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญาแล้ว @เชิงอรรถ : @๑ อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๑๐๖/๒๘๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยเสนาสนะ ที่เป็นป่าละเมาะและป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควร เป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส๑- ธรรมรส๒- วิมุตติรส๓- อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ๔- ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณ- สมาบัติ๕- ๑๐ อานาปานัสสติสมาธิ๖- อสุภสมาบัติ๗- จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาค @เชิงอรรถ : @๑ อรรถรส หมายถึงความถึงพร้อมแห่งผลของเหตุ (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๕) @๒ ธรรมรส หมายถึงความถึงพร้อมแห่งเหตุ (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๕) @๓ วิมุตติรส หมายถึงความถึงพร้อมแห่งผล (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๕) @๔ อภิภายนตะ คือ ฌานที่ครอบงำนิวรณธรรมและอารมณ์ที่เล็กหรือใหญ่ได้ (ม.ม. ๑๓/๒๔๙/๒๒๔) @๕ กสิณสมาบัติหมายถึงภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึงด้วยการกำหนดวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ @ได้แก่ ฌาน ๑๐ มีปฐวีกสิณฌาน เป็นต้น (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๖) @๖ อานาปานัสสติสมาธิ ได้แก่สมาธิเกี่ยวเนื่องด้วยการตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๖) @๗ อสุภสมาบัติ หมายถึงภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึงด้วยการพิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพ @ที่ไม่งาม หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ๑๐ อย่าง คือ (๑) ซากศพที่เน่าพอง (๒) ซากศพที่มีสีเขียว @(๓) ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหล (๔) ซากศพที่ขาดกลางตัว (๕) ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว (๖) ซากศพ @ที่มีมือเท้าศีรษะขาด (๗) ซากศพที่ถูกสับ ฟัน เป็นท่อนๆ (๘) ซากศพที่มีโลหิตไหลอยู่ (๙) ซาก @ศพที่มีตัวหนอนคลาคล่ำไปอยู่ (๑๐) ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก (วิสุทฺธิ. ๑/๑๐๒/๑๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ๑- ๑๐ เวสารัชชญาณ๒- ๔ ปฏิสัมภิทา๓- ๔ อภิญญา๔- ๖ พุทธธรรม๕- ๖ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาค พระนามว่า พระผู้มีพระภาค นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติ และผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามในลำดับการ บรรลุอรหัตตผล) เป็นสัจฉิกาบัญญัตติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทรงรู้แจ้งอรหัตตผล) ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่ โคนต้นโพธิ์ รวมความว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า อชิตะ @เชิงอรรถ : @๑ ตถาคตพลญาณ หมายถึงพระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ที่ทำให้พระองค์บันลือ @สีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง คือ (๑) ฐานาฐานญาณ ปรีชาหยั่งรู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับ @ขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลาย (๒) กัมมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม (๓) สัพพัตถ- @คามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง หรือสู่ประโยชน์ทั้งปวง (๔) นานาธาตุ- @ญาณ ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นอเนก (๕) นานาธิมุตติกญาณ @ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย (๖) อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งหย่อน @แห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย (๗) ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว @เป็นต้น (๘) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปรีชาหยั่งรู้ภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ (๙) จุตูปปาตญาณ @ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย (๑๐) อาสวักขยญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย @(องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑/๔๓-๔๗) @๒ เวสารัชชญาณ ๔ คือพระญาณอันเป็นเหตุให้ทรงแกล้วกล้า ไม่ครั่นคร้าม ได้แก่ (๑) สัมมาสัมพุทธ @ปฏิญญา (๒) ขีณาสวปฏิญญา (๓) อันตรายิกธัมมวาทะ (๔) นิยยานิกธัมมเทสนา @(ม.มู. ๑๒/๑๕๐/๑๑๐-๑๑๑) @๓ ปฏิสัมภิทา ๔ หมายถึงปัญญาแตกฉาน ๔ อย่าง คือ (๑) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ @ปรีชาแจ้งในความหมาย (๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรีชาแจ้งในหลัก (๓) นิรุตติ- @ปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ ปรีชาแจ้งในภาษา ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา @ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ มีไหวพริบ @(องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๑๗๒/๒๔๒-๒๔๓) @๔ อภิญญา ๖ คือ ความรู้ยิ่งยวด (๑) อิทธิวิธิ ความรู้ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๒) ทิพพโสต @ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ทำให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ @ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้ตาทิพย์ (๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้ @อาสวะสิ้นไป ๕ ข้อแรกเป็นโลกียะ (โลกียอภิญญา) ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตระ @(ที.สี. (แปล) ๙/๒๓๔-๒๔๘/๗๗-๘๔) @๕ พุทธธรรม ๖ หมายถึงพระปัญญาจักขุของพระพุทธเจ้า ที่ทรงทราบกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม @ทั้งหมด เป็นต้น (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๖) และดูรายละเอียดข้อ ๘๕/๓๐๑-๓๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ อย่าง คำว่า โลกไม่สดใสเพราะความตระหนี่และความประมาท อธิบายว่า มัจฉริยะ ๕ อย่าง เรียกว่า ความตระหนี่ คือ ๑. อาวาสมัจฉริยะ (ความตระหนี่ที่อยู่) ๒. กุลมัจฉริยะ (ความตระหนี่ตระกูล) ๓. ลาภมัจฉริยะ (ความตระหนี่ลาภ) ๔. วัณณมัจฉริยะ (ความตระหนี่วรรณะ) ๕. ธัมมมัจฉริยะ (ความตระหนี่ธรรม) ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนียว ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่ อายตนะก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ ก็เรียกว่า ความตระหนี่ ขอกล่าวถึงความประมาท ความปล่อยจิตไปหรือการเพิ่มพูนความปล่อยจิต ไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ อย่าง การทำโดย ไม่เคารพ การทำที่ไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่ ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาทในการเจริญ กุศลธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าความประมาท ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่ ประมาทมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้ ตรัสเรียกว่า ความประมาท คำว่า โลกไม่สดใสเพราะความตระหนี่และความประมาท อธิบายว่า โลก ไม่สดใส คือ ไม่ส่องสว่าง ไม่แผดแสง ไม่รุ่งโรจน์ ไม่แจ่มชัด ไม่ปรากฏชัด เพราะความตระหนี่และความประมาทนี้ รวมความว่า โลกไม่สดใสเพราะความ ตระหนี่และความประมาท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยตัณหา คำว่า เราเรียกความอยากว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความอยาก ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อย ตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความหื่น ความหื่นกระหาย ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติที่ทำให้พลุกพล่าน ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติดุจเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็น เพื่อน ความคนึงหา ตัณหาที่นำพาไปสู่ภพ ตัณหาดุจป่า ตัณหาดุจป่าทึบ ความเชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบบ่อยๆ ธรรมชาติที่ กระซิบยิ่ง ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่ทำให้หวั่นไหว ภาวะที่ใคร่แต่อารมณ์ดีๆ ความกำหนัด ในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความใฝ่หา ความหมายปอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ๑- รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ๒- โยคะ๓- คันถะ๔- อุปาทาน๕- อาวรณ์๖- นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย๗- ปริยุฏฐาน (กิเลสที่กลุ้มรุมจิต) @เชิงอรรถ : @๑ ตัณหาในนิโรธ คือตัณหาที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ (ขุ.ม.อ. ๓/๓๙) @๒ โอฆะ คือสภาวะอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา @(ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๕) @๓ โยคะ คือสภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา (ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๕) @๔ คันถะ คือกิเลสเครื่องร้อยรัดมี ๔ อย่าง ได้แก่ (๑) กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา (๒) กิเลส @เครื่องร้อยรัดกายคือพยาบาท (๓) กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือสีลัพพตปรามาส (๔) กิเลสเครื่องร้อยรัด @กายคือความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง (ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๙๒/๒๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
ตัณหาดุจเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร เหยื่อแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ที่ อาศัยแห่งมาร โคจรแห่งมาร เครื่องผูกแห่งมาร ตัณหาดุจแม่น้ำ ตัณหาดุจตาข่าย ตัณหาดุจโซ่ตรวน ตัณหาดุจสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ นี้ตรัสเรียกว่า ความอยาก เป็นเครื่องฉาบทา คือ ข้องเกี่ยว ผูกพัน ทำให้เข้าไปเศร้าหมอง โลกถูกความอยากนี้ฉาบทา ไล้ ทำให้หมองมัว แปดเปื้อน คละเคล้า เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันไว้ เราเรียก คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า เราเรียกความอยากว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ว่าด้วยทุกข์ คำว่า ทุกข์ ในคำว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น อธิบายว่า ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์ ทุกข์เนื่องจากการเกิด ในนรก ทุกข์เนื่องจากการเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน ทุกข์เนื่องจากการเกิดในเปตวิสัย ทุกข์เนื่องจากการเกิดในโลกมนุษย์ ทุกข์เนื่องจากการถือกำเนิดในครรภ์ ทุกข์ เนื่องจากการอยู่ในครรภ์ ทุกข์เนื่องจากการคลอดจากครรภ์ ทุกข์ที่สืบเนื่องมาจากผู้เกิด ทุกข์ของผู้เกิดที่เนื่องมาจากผู้อื่น ทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของตนเอง ทุกข์ที่ เกิดจากความพยายามของผู้อื่น ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ทุกข์ที่เกิดจากสังขาร ทุกข์ที่เกิดจากความแปรผัน โรคทางตา โรคทางหู โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรค ทางกาย โรคศีรษะ โรคหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้พิษ ไข้เชื่อมซึม โรคท้อง เป็นลมสลบ ลงแดง จุกเสียด อหิวาตกโรค โรคเรื้อน ฝี กลาก @เชิงอรรถ : @๕ อุปาทาน คือความยึดมั่นด้วยอำนาจกิเลสมี ๔ คือ (๑) กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม (๒) ทิฏฐุปาทาน @ความยึดมั่นในทิฏฐิ (๓) สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลวัตร (๔) อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่น @วาทะของตน (ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๕) @๖ อาวรณ์ คือสภาวะที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม (ขุ.ม.อ. ๓/๓๙) @๗ อนุสัย คือกิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดานของสัตว์ มี ๗ คือ (๑) กามราคะ ความกำหนัดในกาม @(๒) ปฏิฆะ ความหงุดหงิดขัดเคือง (๓) ทิฏฐิ ความเห็นผิด (๔) วิจิกิจฉา ความสงสัย (๕) มานะ @ความถือตัว (๖) ภวราคะ ความกำหนัดในภพ (๗) อวิชชา ความไม่รู้จริง (ที.ปา. ๑๑/๓๓๒/๒๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
มองคร่อ ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน หิด หูด โรคละลอก โรคดีซ่าน โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวงทวาร ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ไข้สันนิบาต ความ เจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยน อิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียรเกินกำลัง ความ เจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เลื้อยคลาน ทุกข์เพราะมารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย ทุกข์เพราะพี่ชาย น้องชายตาย ทุกข์เพราะพี่สาวน้องสาวตาย ทุกข์เพราะบุตรตาย ทุกข์เพราะธิดาตาย ทุกข์เพราะความพินาศของญาติ ทุกข์เพราะโภคทรัพย์พินาศ ทุกข์เพราะความเสีย หายที่เกิดจากโรค ทุกข์เพราะสีลวิบัติ ทุกข์เพราะทิฏฐิวิบัติ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าใดปรากฏในเบื้องต้น ความดับแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมปรากฏในเบื้องปลาย วิบากอาศัยกรรม กรรมอาศัยวิบาก รูปอาศัยนาม นามอาศัยรูป นามรูปเป็นไปตามชาติ ชราติดตาม พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ตกอยู่ในความทุกข์ ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย นี้ตรัส เรียกว่า ทุกข์ ทุกข์นี้ เป็นภัย เป็นภัยใหญ่ เป็นเครื่องบีบคั้น เป็นสิ่งกระทบกระทั่ง เป็นอันตราย เป็นอุปสรรคของโลกนี้ รวมความว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อชิตะ) โลกถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่สดใสเพราะความตระหนี่และความประมาท เราเรียกความอยากว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น [๓] (ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้) กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย อะไรปิดกั้นกระแสทั้งหลายได้ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า กระแสทั้งหลาย ในคำว่า กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง ได้แก่ กระแสตัณหา กระแสทิฏฐิ กระแสกิเลส กระแสทุจริต กระแสอวิชชา คำว่า ในที่ทั้งปวง ได้แก่ ในอายตนะทั้งปวง คำว่า ย่อมไหลไป ได้แก่ ย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไป อธิบายว่า กระแสจากตา ย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปในรูป กระแสจากหู ย่อมไหลไป ฯลฯ ในเสียง กระแสจากจมูกย่อมไหลไป ฯลฯ ในกลิ่น กระแส จากลิ้นย่อมไหลไป ฯลฯ ในรส กระแสจากกายย่อมไหลไป ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ กระแสจากใจ ย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปในธรรมารมณ์ คือ รูปตัณหาย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปทางตา สัททตัณหาย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปทางหู คันธตัณหาย่อมไหลไป ฯลฯ ทางจมูก รส ตัณหาย่อมไหลไป ฯลฯ ทางลิ้น โผฏฐัพพตัณหาย่อมไหลไป ฯลฯ ทางกาย ธัมมตัณหาย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปทางใจ รวมความว่า กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่ง พยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง คำว่า อชิตะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น คือ เป็นการกล่าวถึง การขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้ คำว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย อธิบายว่า อะไรเป็นเครื่องขวาง เครื่องกั้น คือ เครื่องป้องกัน รักษา คุ้มครองกระแสทั้งหลาย รวมความว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศธรรมเครื่องขวาง เครื่องกั้น เครื่องป้องกัน รักษา คุ้มครองกระแสทั้งหลาย รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเครื่อง ป้องกันกระแสทั้งหลาย คำว่า อะไรปิดกั้นกระแสทั้งหลายได้ อธิบายว่า กระแสทั้งหลาย ถูกอะไร ปิดกั้น คือ ถูกตัดขาด จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป รวมความว่า อะไรปิดกั้นกระแสทั้งหลายได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า (ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้) กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย อะไรปิดกั้นกระแสทั้งหลายได้ [๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อชิตะ) กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้นได้ เรากล่าวธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย ปัญญาปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้ (๔) คำว่า กระแสเหล่าใดในโลก อธิบายว่า กระแสเหล่านั้นใดที่เราตอบ ชี้แจง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศไว้ คือ กระแสตัณหา กระแสทิฏฐิ กระแสกิเลส กระแสทุจริต กระแสอวิชชา คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก รวมความว่า กระแสเหล่าใดในโลก คำว่า อชิตะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ คำว่า สติ ในคำว่า สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้นได้ อธิบายว่า สติ คือ ความตามระลึกถึง ความระลึกได้เฉพาะหน้า สติ คือ ความระลึกได้ ความจำได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ คือ สตินทรีย์ (สติที่เป็นใหญ่) สติพละ(สติที่เป็นกำลัง) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สติสัมโพชฌงค์ (สติที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้ธรรม) เอกายนมรรค (มรรคที่เป็นทางเอก) นี้ ตรัสเรียกว่า สติ คำว่า เป็นเครื่องกั้น อธิบายว่า เป็นเครื่องขวาง เป็นเครื่องกั้น คือ เป็น เครื่องป้องกัน รักษา คุ้มครอง รวมความว่า สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้นได้ คำว่า เรากล่าวธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย อธิบายว่า เรากล่าว คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศเครื่องขวาง เครื่องกั้น เครื่องป้องกัน รักษา คุ้มครองกระแสทั้งหลาย รวมความว่า เรา กล่าวธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย คำว่า ปัญญาปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้ อธิบายว่า คำว่า ปัญญา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑- คำว่า ปัญญาปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้ อธิบายว่า กระแสเหล่านั้นปัญญา ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป กระแส เหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ปิดกั้นได้ คือ ตัด ขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป กระแสเหล่านั้นปัญญาของ ผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่ หลั่งไหล ไม่เป็นไปว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร จึงมี ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ฯลฯ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ฯลฯ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ฯลฯ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ฯลฯ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ฯลฯ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ฯลฯ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ฯลฯ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ฯลฯ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ฯลฯ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขสมุทัย ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป กระแสเหล่านั้น ปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า ธรรมเหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ อาสวสมุทัย ฯลฯ นี้อาสวนิโรธ ฯลฯ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า เหล่านี้คือธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ เหล่านี้คือธรรมที่ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เหล่านี้คือธรรมที่ควรละ ฯลฯ เหล่านี้คือ ธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ เหล่านี้คือธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการ สลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการ สลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ฯลฯ กระแสเหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นธรรม คือ เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ กระแส เหล่านั้นปัญญาของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่ง นั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ปิดกั้นได้ คือ ตัดขาดไป จึงไม่ไหลไป ไม่ซ่านไป ไม่หลั่งไหล ไม่เป็นไป รวมความว่า ปัญญาปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อชิตะ) กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้นได้ เรากล่าวธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย ปัญญาปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
[๕] (ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ นามและรูปนี้ดับที่ไหน ข้าพระองค์ได้ทูลถามแล้ว ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเนื้อความนั้น แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด (๕)ว่าด้วยปัญญา คำว่า ปัญญา ในคำว่า ปัญญา สติ อธิบายว่า ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกเฟ้น ความสอดส่องธรรม ความกำหนดหมาย ความ เข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญาดุจแผ่นดิน ปัญญา เครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญา ดุจปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาดุจศัสตรา ปัญญาดุจปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาดุจดวงประทีป ปัญญาดุจดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ คำว่า สติ ได้แก่ สติ คือ ความระลึกถึง ฯลฯ สัมมาสติ รวมความว่า ปัญญา สติ ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... นามและรูป อธิบายว่า คำว่า นาม ได้แก่ ขันธ์ที่มิใช่รูป ๔ อย่าง คำว่า รูป ได้แก่ มหาภูตรูป๑- ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูปทั้ง๒- ๔ @เชิงอรรถ : @๑ มหาภูตรูป คือรูปใหญ่ รูปต้นเดิม คือธาตุ ๔ ได้แก่ (๑) ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ @สภาพอันเป็นหลักที่ตั้งที่อาศัยแห่งสหชาตรูป เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน (๒) อาโปธาตุ @สภาวะที่เอิบอาบหรือดูดซึม ซ่านไป ขยายขนาด ผนึก พูนเข้าด้วยกัน เรียกสามัญว่า ธาตุเหลว @หรือธาตุน้ำ (๓) เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ (๔) วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้สั่นไหว @เคลื่อนที่ ค้ำจุน เรียกสามัญว่า ธาตุลม (ที.สี. (แปล) ๙/๔๘๗-๔๙๙/๒๑๖-๒๒๐) @๒ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ หรือทับศัพท์บาลีว่า อุปาทายรูป มี ๒๔ คือ @ก. ปสาทรูป ๕ (รูปที่เป็นประธานสำหรับรับอารมณ์) (๑) ตา (๒) หู (๓) จมูก (๔) ลิ้น (๕) กาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดย ความเคารพ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและ ความยำเกรง รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... นามและรูป คำว่า เนื้อความนั้นแก่ข้าพระองค์ ในคำว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามแล้ว ขอ พระองค์โปรดตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ได้แก่ เนื้อความที่ข้า พระองค์ทูลถาม คือ เนื้อความที่ข้าพระองค์ทูลขอ เนื้อความที่ข้าพระองค์ทูลอัญเชิญ เนื้อความที่ข้าพระองค์ทูลให้ประกาศ คำว่า ได้ทูลถามแล้ว ได้แก่ ได้ทูลถามแล้ว คือ ทูลขอแล้ว ทูลอัญเชิญ ทูลให้ประกาศแล้ว คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ได้แก่ ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามแล้ว ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพระองค์ ด้วยเถิด @เชิงอรรถ : @ข. โคจรรูป หรือวิสัยรูป ๕ (รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์) (๖) รูป (๗) เสียง (๘) กลิ่น @(๙) รส (๐) โผฏฐัพพะ (ข้อนี้ไม่นับเพราะเป็นอันเดียวกับมหาภูตรูป ๓ คือ ปฐวี เตโช วาโย) @ค. ภาวรูป ๒ (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ) (๑๐) อิตถัตตะ อิตถินทรีย์ ความเป็นหญิง (๑๑) ปุริสัตตะ @ปุริสินทรีย์ ความเป็นชาย @ง. หทัยรูป ๑ (รูปคือหทัย) (๑๒) หทัยวัตถุ ที่ตั้งแห่งใจ หัวใจ @จ. ชีวิตรูป ๑ (รูปที่เป็นชีวิต) (๑๓) ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต @ฉ. อาหารรูป ๑ (รูปคืออาหาร) (๑๔) กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว @ช. ปริจเฉทรูป ๑ (รูปที่กำหนดเทศะ) (๑๕) อากาสธาตุ สภาวะคือช่องว่าง @ญ. วิญญัติรูป ๒ (รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย) (๑๖) กายวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ @ความหมายด้วยกาย (๑๗) วจีวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา @ฎ. วิการรูป ๕ (รูปคืออาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้) (๑๘) (รูปัสส) ลหุตา ความเบา (๑๙) @(รูปัสส) มุทุตา ความอ่อนสลวย (๒๐) (รูปัสส) กัมมัญญตา ความควรแก่การงาน ใช้การได้ @(๐) วิญญัติรูป ๒ ข้อนี้ท่านไม่นับเพราะซ้ำกับข้อ ญ @ฏ. ลักขณรูป ๔ (รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด) (๒๒) (รูปัสส) อุปจย ความก่อตัว (รูปัสส) @สันตติ ความสืบต่อ (๒๓) (รูปัสส) ชรตา ความทรุดโทรม (๒๔) (รูปัสส) อนิจจตา ความ @ปรวนแปรแตกสลาย (อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๕๘๔-๙๘๔/๑๖๙-๒๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า นี้ ดับที่ไหน ได้แก่ (นามและรูป) นี้ ดับ คือ เข้าไปสงบ ถึง ความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่ไหน รวมความว่า นี้ ดับที่ไหน ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า (ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ นามและรูปนี้ดับที่ไหน ข้าพระองค์ได้ทูลถามแล้ว ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเนื้อความนั้น แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด [๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) อชิตะ เธอได้ถามปัญหานั้นใด เราจะกล่าวแก้ปัญหานั้นแก่เธอ นามและรูปนั้นดับไม่มีส่วนเหลือในที่ใด นามและรูปนั้นดับไปในที่นั้นเพราะวิญญาณดับ (๖) คำว่า นั้นใด ในคำว่า เธอได้ถามปัญหานั้นใด ได้แก่ ปัญญา สติ นามและรูป คำว่า เธอได้ถาม ได้แก่ เธอได้ถามแล้ว คือ ได้ขอ อัญเชิญ ขอให้ประกาศแล้ว รวมความว่า เธอได้ถามปัญหานั้นใด คำว่า อชิตะ ในคำว่า อชิตะ... เราจะกล่าวแก้ปัญหานั้นแก่เธอ เป็นคำ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ คำว่า นั้น ได้แก่ ปัญญา สติ นามและรูป คำว่า เราจะกล่าวแก้ ได้แก่ เราจะกล่าว คือ จะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศปัญหานั้น รวมความว่า อชิตะ... เราจะ กล่าวแก้ปัญหานั้นแก่เธอ คำว่า นาม ในคำว่า นามและรูปนั้นดับไม่มีส่วนเหลือในที่ใด ได้แก่ ขันธ์ ที่มิใช่รูป ๔ คำว่า รูป ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูปทั้ง ๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๖๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ไม่มีส่วนเหลือ ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่างไม่มีเหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า ไม่มีส่วนเหลือ นี้ เป็นคำกล่าวรวมๆ ไว้ทั้งหมด คำว่า ดับ ได้แก่ ดับ คือ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป รวมความว่า นามและรูปนั้นดับไม่มีส่วนเหลือในที่ใด คำว่า นามและรูปนั้นดับไปในที่นั้นเพราะวิญญาณดับ อธิบายว่า ธรรม คือ นามและรูป ที่พึงเกิดในสงสารมีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ เว้นภพ ๗ ย่อมดับ คือ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไปในที่นั้น เพราะวิญญาณอันประกอบ ด้วยอภิสังขารธรรมดับไป ด้วยโสดาปัตติมัคคญาณ ธรรมคือนามและรูปที่พึงเกิดในภพ ๕ เว้นภพ ๒ ย่อมดับ คือ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไปในที่นั้น เพราะวิญญาณอันประกอบด้วยอภิสังขารธรรม ดับไป ด้วยสกทาคามิมัคคญาณ ธรรมคือนามและรูปที่พึงเกิดในรูปธาตุ หรืออรูปธาตุ เว้นภพ ๑ ย่อมดับ คือ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไปในที่นั้น เพราะวิญญาณอันประกอบด้วย อภิสังขารธรรมดับไป ด้วยอนาคามิมัคคญาณ ธรรมคือนามและรูปที่พึงเกิด ย่อมดับ คือ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไปในที่นั้น เพราะวิญญาณอันประกอบด้วยอภิสังขารธรรมดับไป ด้วย อรหัตตมัคคญาณ ปัญญา สติ นามและรูป ย่อมดับ คือ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไปในที่นั้น เพราะจริมวิญญาณ๑- ของพระอรหันต์ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส- ปรินิพพานธาตุ๒- ดับไป รวมความว่า นามและรูปนั้นดับไปในที่นั้นเพราะวิญญาณดับ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า @เชิงอรรถ : @๑ จริมวิญญาณ แปลว่า วิญญาณสุดท้าย หรือจิตสุดท้าย หมายถึงจุติจิต หรือจุติวิญญาณของพระอรหันต์ @ขณะปรินิพพาน (ขุ.จู.อ. ๖/๗) @๒ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ หมายถึงนิพพานที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่ (ขุ.จู.อ. ๖/๖-๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๖๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
อชิตะ เธอได้ถามปัญหานั้นใด เราจะกล่าวแก้ปัญหานั้นแก่เธอ นามและรูปนั้นดับไม่มีส่วนเหลือในที่ใด นามและรูปนั้นดับไปในที่นั้นเพราะวิญญาณดับ [๗] (ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้) พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้นเถิด (๗) คำว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม อธิบายว่า พระอรหันต- ขีณาสพตรัสเรียกว่า ท่านผู้มีสังขาตธรรม เพราะเหตุไร พระอรหันตขีณาสพ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ผู้มี สังขาตธรรม พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ผู้มีสังขาตธรรม คือ ผู้รู้ธรรม ผู้ เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรม ได้แก่ ผู้มี สังขาตธรรม คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรมว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ผู้มีสังขาตธรรม ฯลฯ ว่า สังขาร ทั้งปวงเป็นทุกข์ ผู้มีสังขาตธรรม ฯลฯ ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ผู้มี สังขาตธรรม ฯลฯ ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ ผู้มีสังขาตธรรม ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรม ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา อีกนัยหนึ่ง พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นรู้ขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ (การถือกำเนิด) ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะแล้ว อีกนัยหนี่ง ท่านเหล่านั้นดำรงอยู่ในที่สุดแห่งขันธ์ ในที่สุดแห่งธาตุ ในที่สุด แห่งอายตนะ ในที่สุดแห่งคติ ในที่สุดแห่งอุปบัติ ในที่สุดแห่งปฏิสนธิ ในที่สุด แห่งภพ ในที่สุดแห่งสงสาร ในที่สุดแห่งวัฏฏะ ดำรงอยู่ในภพสุดท้าย อัตภาพ สุดท้าย เป็นพระอรหันต์ ผู้ทรงร่างกายสุดท้ายไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๖๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นมีภพนี้เป็นภพสุดท้าย มีการประชุมแห่งขันธ์เป็นครั้งสุดท้าย ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก เพราะเหตุนั้น พระอรหันตขีณาสพ พระผู้มีพระภาค จึงตรัสเรียกว่า ผู้มี สังขาตธรรม รวมความว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด ผู้มีสังขาตธรรมว่าด้วยสิกขา ๓ คำว่า เสขะ ในคำว่า และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้ อธิบายว่า เพราะเหตุไร จึงเรียกว่าพระเสขะ เพราะท่านยังต้องศึกษา จึงเรียกว่า พระเสขะ ท่านยังต้องศึกษาอะไร ท่านยังต้องศึกษาอธิสีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขา บ้าง อธิปัญญาสิกขาบ้าง อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์๑- สมบูรณ์ด้วยอาจาระ๒- และโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาใน สิกขาบททั้งหลายอยู่ คือ สีลขันธ์เล็ก๓- สีลขันธ์ใหญ่๔- ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธาน เพื่อความถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา @เชิงอรรถ : @๑ สังวรในปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้คือ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกายวาจา @ปาติโมกข์ หมายถึงสีลสิกขาบท ที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ=รักษา+โมกขะ=ความ @หลุดพ้น) (วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗) @๒ อาจาระ หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและ @ทางวาจา หรือการสำรวมศีลทั้งหมด คือการไม่เลี้ยงชีพด้วยอาชีพที่ผิด ที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ เช่น @ไม่เลี้ยงชีพด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ผลไม้ เครื่องสนาน ไม้สีฟัน ไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำตนต่ำกว่าคฤหัสถ์ @ด้วยการพูดเล่นเป็นแกงถั่ว(จริงบ้างไม่จริงบ้าง) ไม่เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงเด็ก และการรับส่งข่าว @(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๘) @๓ สีลขันธ์เล็ก หมายถึงอาบัติที่แก้ไขได้ คือ อาบัติสังฆาทิเสสจนถึงทุกกฏ (ขุ.ม.อ. ๑๐/๑๒๐) @๔ สีลขันธ์ใหญ่ หมายถึงอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ คือ อาบัติปาราชิก (ขุ.ม.อ. ๑๐/๑๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๖๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌาน ...บรรลุตติยฌาน... บรรลุจตุตถฌานอยู่... นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา๑- อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ หยั่งถึงความเกิดและความดับ เพิกถอนกิเลส ให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) ... นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์)... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ปฎิปทาเครื่องดำเนินไปสู่ความดับ ทุกข์) ... เหล่านี้อาสวะ... นี้อาสวสมุทัย... นี้อาสวนิโรธ เธอรู้ตามเป็นจริงว่า นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา สิกขา ๓ เหล่านี้ เมื่อพระเสขะนึกถึง ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่า ย่อมศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อรู้ชัดธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรม ที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อเจริญ ธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อม ศึกษา คือ ย่อมประพฤติ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทาน ประพฤติ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า พระเสขะ คำว่า เป็นอันมาก ได้แก่ มากมาย พระเสขะเหล่านี้ คือ พระโสดาบัน และผู้ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติผล พระสกทาคามีและผู้ปฏิบัติเพื่อสกทาคามิผล พระ อนาคามีและผู้ปฏิบัติเพื่ออนาคามิผล พระอรหันต์และผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล คำว่า ในที่นี้ ได้แก่ ในความเห็นนี้ ความถูกใจนี้ ความพอใจนี้ ความยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้ อัตภาพนี้ มนุษยโลกนี้ รวมความว่า และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้ @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดจาก ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๐/๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๖๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้ มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิตของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะ เหล่านั้นเถิด อธิบายว่า แม้พระองค์ผู้มีปัญญา คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มี ปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มกระจ่าง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส (โปรดตรัสบอก) การดำเนินชีวิต คือ จริยา ความประพฤติ ความประพฤติเอื้อเฟื้อ อาจาระ โคจร วิหารธรรม๑- ปฏิปทาของท่านผู้มีสังขาตธรรม และพระเสขะเหล่า นั้นเถิด คำว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ได้แก่ ทูลถามแล้ว คือ ทูลปุจฉา ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ประกาศ คำว่า โปรดตรัสบอก ได้แก่ โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดย ความเคารพ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและ ความยำเกรง รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอ พระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิตของพระอรหันตขีณาสพ และ พระเสขะเหล่านั้นเถิด ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงทูลถามว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้นเถิด [๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ภิกษุไม่พึงปรารถนายิ่งในกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติดำรงอยู่ (๘) @เชิงอรรถ : @๑ วิหารธรรม ในที่นี้หมายถึงความเป็นไปแห่งอิริยาบถ (ขุ.จู.อ. ๗/๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๖๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยกาม ๒ คำว่า ภิกษุไม่พึงปรารถนายิ่งในกามทั้งหลาย อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม วัตถุกาม คืออะไร คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสหญิงชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง หมู่บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท กองพลรบ๑- คลังหลวง๒- และวัตถุที่น่ายินดีอย่าง ใดอย่างหนึ่ง (เหล่านี้) ชื่อว่าวัตถุกาม อีกนัยหนึ่ง กามที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน กามที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก กามอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่าง ประณีต กามที่เป็นของสัตว์ในอบาย ที่เป็นของมนุษย์ ที่เป็นของทิพย์ กามที่ ปรากฏเฉพาะหน้า ที่เนรมิตขึ้นเอง ที่ไม่ได้เนรมิตขึ้นเอง ที่ผู้อื่นเนรมิตให้ กามที่ มีผู้ครอบครอง ที่ไม่มีผู้ครอบครอง ที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร ที่เป็นรูปาวจร ที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งปวง กามที่เป็น เหตุเกิดแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ที่ชื่อว่ากาม เพราะมีความหมายว่า น่าปรารถนา น่ายินดี น่าลุ่มหลง น่ารื่นรมย์ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม กิเลสกาม คืออะไร คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ความดำริ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริ ชื่อว่ากาม ได้แก่ ความพอใจ ด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วย @เชิงอรรถ : @๑ กองพลรบ มี ๔ เหล่า คือ (๑) กองพลช้าง (๒) กองพลม้า (๓) กองพลรถ (๔) กองพลทหารราบ @(ขุ.ม.อ. ๑/๑๔) @๒ คลังหลวง มี ๓ อย่าง คือ (๑) คลังทรัพย์สิน (๒) คลังพืชพันธุ์ธัญญาหาร (๓) คลังผ้า @(ขุ.ม.อ. ๑/๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๖๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
อำนาจความใคร่ ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจ ความใคร่ ความกระหายด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความยินดีด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่ ความติดใจด้วย อำนาจความใคร่ ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลสเครื่องประกอบคือความใคร่ กิเลส เครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ใน กามทั้งหลาย (สมจริงดังที่พระเจ้าอัฑฒมาสกเปล่งอุทานว่า) เจ้ากามเอ๋ย เราเห็นรากเหง้าของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก เจ้าจักไม่เกิดมาเป็นอย่างนี้ได้อีกละเจ้ากามเอ๋ย๑- เหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความติดใจ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๒- คำว่า ไม่พึงปรารถนายิ่งในกามทั้งหลาย อธิบายว่า ไม่พึงปรารถนายิ่งๆ ขึ้นไป คือ ไม่พึงพัวพันในวัตถุกาม เป็นผู้ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่น คือ เป็นผู้คลายความยินดีแล้ว ปราศจากความยินดีแล้ว สละความยินดีแล้ว คลายความยินดีแล้ว ปล่อยความยินดีแล้ว ละความยินดีแล้ว เป็นผู้สลัดทิ้งความ ยินดีแล้ว คือ เป็นผู้คลายราคะแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คลาย ราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก แล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ไม่พึง ปรารถนายิ่งในกามทั้งหลาย คำว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว อธิบายว่า @เชิงอรรถ : @๑ ขุ.ชา. ๒๗/๓๙/๑๘๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑/๒ @๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๖๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ใจ ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ๑- ที่เกิดจากผัสสะเป็นต้นนั้น จิตย่อมขุ่นมัว คือ เศร้าหมอง ยุ่งยาก วุ่นวาย หวั่นไหว หมุนวน ไม่สงบด้วยกายทุจริต ... จิตขุ่นมัว เศร้าหมอง ยุ่งยาก วุ่นวาย หวั่นไหว หมุนวน ไม่สงบด้วยวจีทุจริต ... มโนทุจริต ... ราคะ (ความกำหนัด) ... โทสะ (ความขัดเคือง) ... โมหะ (ความลุ่มหลง) ... โกธะ (ความโกรธ) ... อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ... อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... มายา (ความหลอกลวง) ... สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ... ถัมภะ (ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ (ความแข่งดี) ... มานะ (ความถือตัว) ... อติมานะ (ความดูหมิ่น ) ... มทะ (ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท) ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความ เร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท คำว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว อธิบายว่า พึงเป็นผู้มีจิตไม่ขุ่นมัว คือ ไม่ เศร้าหมอง ไม่ยุ่งยาก ไม่วุ่นวาย ไม่หวั่นไหว ไม่หมุนวน สงบ ได้แก่ พึงละ ทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสที่ก่อความขุ่นมัว คือ พึง เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก สงบ หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลส ที่ก่อความขุ่นมัว มีใจเป็นอิสระ(จากความขุ่นมัว)อยู่ รวมความว่า พึงเป็นผู้มีใจ ไม่ขุ่นมัว @เชิงอรรถ : @๑ ชื่อว่า จิต เพราะเป็นสภาวะวิจิตร @ชื่อว่า มโน เพราะรับรู้อารมณ์ @ชื่อว่า มานัส เพราะมีธรรมที่สัมปยุตกับมโน หรือมานัสก็คือใจนั่นเอง @ชื่อว่า หทัย เพราะอยู่ภายใน @ชื่อว่า ปัณฑระ เพราะเป็นธรรมชาติผ่องใส @ชื่อว่า มนายตนะ เพราะเป็นที่อยู่อาศัย เป็นบ่อเกิด เป็นที่ประชุม เป็นแดนเกิดแห่งใจ @ชื่อว่า มนินทรีย์ เพราะเป็นใหญ่ในการรับรู้อารมณ์ @ชื่อว่า วิญญาณ เพราะรับรู้อารมณ์ต่างๆ @ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ เพราะเป็นกองแห่งวิญญาณ @ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ เพราะเป็นสภาวะที่รับรู้และรับทราบอันสมควรแก่ธรรมทั้งหลาย มีผัสสะเป็นต้น @(ขุ.ม.อ. ๑/๒๒-๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๖๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ฉลาดในธรรมทั้งปวง อธิบายว่า เป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ชื่อว่าฉลาดในธรรมทั้งปวง อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ... เป็นทุกข์ ... เป็นโรค ... เป็นดุจหัวฝี .... เป็นดุจลูกศร ... เป็นของลำบาก .... เป็นอาพาธ ... เป็นอย่างอื่น (บังคับไม่ได้) ... เป็นของทรุดโทรม ... เป็นเสนียด ... เป็น อุปัททวะ... เป็นของไม่น่ายินดี... เป็นภัย ... เป็นอุปสรรค ... เป็นของไม่น่าชอบใจ ... เป็นของหวั่นไหว ... เป็นของผุพัง ...เป็นของไม่ยั่งยืน ... เป็นของไม่มีที่ต้านทาน ... เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น ... เป็นของไม่มีที่พึ่ง ... เป็นของไม่มีที่อาศัย... เป็น ของว่าง... เป็นของเปล่า ... เป็นของสูญ ... เป็นอนัตตา ... เป็นของมีโทษ ... เป็นของแปรผันไปเป็นธรรมดา ... เป็นของไม่มีแก่นสาร ... เป็นเหตุแห่งความ ลำบาก ... เป็นดุจเพชฌฆาต ... เป็นของปราศจากความเจริญ ... เป็นของมีอาสวะ ... เป็นของที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ... เป็นเหยื่อแห่งมาร ... มีชาติเป็นธรรมดา ... มีชราเป็นธรรมดา... มีพยาธิเป็นธรรมดา... มีมรณะเป็นธรรมดา ... มีโสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกขะ(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความ ทุกข์ใจ) อุปายาส(ความคับแค้นใจ)เป็นธรรมดา ... มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ... เป็นเหตุเกิดทุกข์ ... ตั้งอยู่ไม่ได้ ... หาความแช่มชื่นไม่ได้... เป็นโทษ ... เป็นของที่ต้องสลัดออกไป ชื่อว่าฉลาดในธรรมทั้งปวง อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดใน ปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดในนิพพาน ชื่อว่าฉลาดในธรรมทั้งปวง อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง อายตนะ ๑๒ ตรัสเรียกว่า ธรรมทั้งปวง คือ ตาและรูป หูและเสียง จมูกและกลิ่น ลิ้นและรส กายและโผฏฐัพพะ ใจและธรรมารมณ์ ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจในอายตนะภายในและภายนอก ภิกษุละความกำหนัดด้วย อำนาจความพอใจในอายตนะภายในและภายนอกได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๖๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ ไปไม่ได้ ด้วยเหตุใด ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง แม้ด้วยเหตุมีประมาณ เท่านี้ รวมความว่า ฉลาดในธรรมทั้งปวงลักษณะผู้มีสติ ๔ คำว่า มีสติ ในคำว่า ภิกษุ ... มีสติดำรงอยู่ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ๒. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ๓. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต ๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กระทำสิ่งทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดสิ่งทั้งหลายที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับสติ ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลายที่เป็นมูลเหตุแห่งสติ มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติ ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ชำนาญในสติ ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วในสติ ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หวนกลับจากสติ มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะมีอยู่ตามปกติ ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้สงบ ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ระงับ ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๗๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
(มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ) ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว ๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา ๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก ๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา ๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม) ๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมที่สงบระงับ (กิเสสและความทุกข์) คือ นิพพาน สติ ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค ตรัสเรียกว่า สติ๑- ภิกษุเป็นผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมแล้วด้วยสตินี้ ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายธรรม ๗ ประการได้แล้ว คือ ๑. ทำลายสักกายทิฏฐิได้แล้ว ๒. ทำลายวิจิกิจฉาได้แล้ว ๓. ทำลายสีลัพพตปรามาสได้แล้ว ๔. ทำลายราคะได้แล้ว ๕. ทำลายโทสะได้แล้ว ๖. ทำลายโมหะได้แล้ว ๗. ทำลายมานะได้แล้ว คือ ภิกษุนั้นทำลายบาปอกุศลธรรมซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพ ใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะ ต่อไปได้แล้ว @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๔/๕๔-๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๗๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สภิยะ) ผู้ใดควรแก่คำชมเชยว่าเป็นผู้ถึงนิพพานด้วยทางที่ตนทำแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ละความเสื่อมและความเจริญแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ สิ้นภพใหม่แล้ว ผู้นั้นชื่อว่าภิกษุ๑- คำว่า ภิกษุ ... มีสติดำรงอยู่ อธิบายว่า ภิกษุพึงมีสติ ดำรงอยู่ คือ พึง มีสติเดิน พึงมีสติยืน พึงมีสตินั่ง พึงมีสตินอน พึงมีสติก้าวไปข้างหน้า พึงมีสติ ถอยกลับ พึงมีสติมองดู พึงมีสติเหลียวดู พึงมีสติคู้เข้า พึงมีสติเหยียดออก พึงมีสติใช้ผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร พึงมีสติเที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ภิกษุ... มีสติดำรงอยู่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุไม่พึงปรารถนายิ่งในกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติดำรงอยู่ พร้อมกับการจบคาถา ธรรมจักษุ๒- ไร้ธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ได้เกิด ขึ้นแก่เหล่าเทวดาและมนุษย์หลายพัน ผู้มีฉันทะ ความพยายาม ความประสงค์ การอบรมบุญญาบารมีร่วมกันมากับพราหมณ์ จิตของพราหมณ์นั้นก็หลุดพ้นจาก อาสวะเพราะไม่ถือมั่น หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่นน้ำ ผมและ หนวดของอชิตพราหมณ์ก็หายไป พร้อมกับการบรรลุอรหัตตผล ท่านเป็นภิกษุ มี ศีรษะโล้น นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร เพื่อการปฏิบัติเอื้อประโยชน์ จึงประคองอัญชลี นั่งลงนมัสการพระผู้มีพระภาคโดยประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกอชิตมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๐/๔๓๕, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๘/๘๔ @๒ ธรรมจักษุ ในที่นี้หมายถึงโสดาปัตติมรรค (ขุ.จู.อ. ๘/๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๗๒}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๔๓-๗๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=30&siri=20 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=170&Z=643 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=57 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=30&item=57&items=43 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=1 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=30&item=57&items=43 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://www.ancient-buddhist-texts.net/Texts-and-Translations/Parayanavagga/Parayanavaggo-01.htm
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]