ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. ปัจจยจตุกกะ

๕. ปัจจยจตุกกะ
อกุศลจิต ๑๒
[๒๔๘] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ มี เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มี ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๔๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๓๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. ปัจจยจตุกกะ

เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความชักนำให้คล้อยตามไป ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก แห่งจิต นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เป็นไฉน ทิฏฐิ ความเห็นผิด ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นที่เป็นข้าศึก ความ เห็นโลเล สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความถือรั้น ความถือผิด จากความเป็นจริง ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นอุปาทานแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ แห่งสภาวธรรมนั้นๆ นี้เรียกว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. ปัจจยจตุกกะ

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เป็นไฉน ชรา ๑ มรณะ ๑ ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน ความแก่ ความคร่ำคร่า ความเสื่อมอายุแห่งสภาวธรรมนั้นๆ นี้เรียกว่า ชรา มรณะ เป็นไฉน ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตกสลาย ความแตกทำลาย ความไม่เที่ยง ความหายไปแห่งสภาวธรรมนั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ ชราและมรณะดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี คำว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ อธิบายว่า กอง ทุกข์ทั้งมวลนี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑) [๒๕๐] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็น ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๕๑] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร จึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๓๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. ปัจจยจตุกกะ

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็น ปัจจัย นามจึงมี ในคำว่า เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี นั้น นาม เป็นไฉน เว้นผัสสะแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า นาม เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒) [๒๕๒] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็น ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๕๓] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๓๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. ปัจจยจตุกกะ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ และ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิตมีจิตเป็นเหตุมีจิตเป็น สมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ในคำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี นั้น ได้แก่ นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน รูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๓๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. ปัจจยจตุกกะ

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๓) [๒๕๔] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็น ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา จึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๕๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร จึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน นาม ๑ รูป ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. ปัจจยจตุกกะ

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ แห่งกายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ในคำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี นั้น ได้แก่ นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน มหาภูตรูป ๔ และรูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๔)
ปัจจยจตุกกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๔๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๖. เหตุจตุกกะ

๖. เหตุจตุกกะ
[๒๕๖] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามเป็นเหตุ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มี เวทนาเป็นเหตุจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๕๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะนาม เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามเป็นเหตุจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๖. เหตุจตุกกะ

เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ทิฏฐิ ความเห็นผิด ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นที่เป็นข้าศึก ความ เห็นโลเล สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความถือรั้น ความถือผิด จากความเป็นจริง ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็น เหตุจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑-๕) [๒๕๘] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีนามเป็นเหตุจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา ที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๖. เหตุจตุกกะ

[๒๕๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี ในคำว่า เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีนามเป็นเหตุจึงมี นั้น นามเป็นไฉน เว้นผัสสะแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า นาม เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีนามเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีนามเป็นเหตุจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒-๖) [๒๖๐] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามรูป เป็นเหตุจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๖. เหตุจตุกกะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา ที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๖๑] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน นาม ๑ รูป ๑ ในนามรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป ประมวลย่อนามและรูปดังที่กล่าวมานี้เข้าด้วยกัน นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๖. เหตุจตุกกะ

คำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี ได้แก่ นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน รูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี (๓-๗) [๒๖๒] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะที่มีนามรูปเป็น เหตุจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีสฬายตนะเป็นเหตุจึงมี เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนา เป็นเหตุจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๔๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๖. เหตุจตุกกะ

[๒๖๓] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปที่ มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี คำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี ได้แก่ นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๔๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๖. เหตุจตุกกะ

รูป เป็นไฉน มหาภูตรูป ๔ และรูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ ที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีสฬายตนะเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีสฬายตนะเป็นเหตุจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย วิปลาส นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๔-๘)
เหตุจตุกกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๔๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๗. สัมปยุตตจตุกกะ

๗. สัมปยุตตจตุกกะ
[๒๖๔] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุต ด้วยนามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วย ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๖๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ นามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๔๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๗. สัมปยุตตจตุกกะ

เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิด แต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี เป็นไฉน ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย วิปลาส นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑-๙) [๒๖๖] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วย ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๖๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๔๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๗. สัมปยุตตจตุกกะ

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัยวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี ในคำว่า เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี นั้น นามเป็นไฉน เว้นผัสสะแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒-๑๐) [๒๖๘] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและนามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะ ที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๕๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๗. สัมปยุตตจตุกกะ

สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๖๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและนามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เป็นไฉน นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือแม้รูปอื่นใดมีอยู่ ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและ นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี คำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี ได้แก่ นาม ๑ รูป ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๕๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๗. สัมปยุตตจตุกกะ

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน รูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๓-๑๑) [๒๗๐] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและนามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะและ อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่ สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะ จึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็น ปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะ ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๗๑] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๕๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๗. สัมปยุตตจตุกกะ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและนามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เป็นไฉน นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและ นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี คำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะและอายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุต ด้วยนามจึงมี ได้แก่ นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน มหาภูตรูป ๔ และรูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๕๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๘. อัญญมัญญจตุกกะ

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะและอายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนาม จึงมี เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ และอายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๔-๑๒)
สัมปยุตตจตุกกะ จบ
๘. อัญญมัญญจตุกกะ
[๒๗๒] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็น ปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็น ปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี แม้เพราะนามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็น ปัจจัย นามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะเป็น ปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี แม้เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๗๓] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๕๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๘. อัญญมัญญจตุกกะ

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า แม้ เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี แม้เพราะนามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ นามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะนาม เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย นามจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๕๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๘. อัญญมัญญจตุกกะ

เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี แม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า แม้ เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิด แต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เป็นไฉน ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความถือโดยวิปลาส นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๕๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๘. อัญญมัญญจตุกกะ

แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า แม้ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นอุปาทานแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ แห่งสภาวธรรมนั้นๆ นี้เรียกว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เป็นไฉน ชรา ๑ มรณะ ๑ ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน ความแก่ ความคร่ำคร่า ความเสื่อมสิ้นอายุแห่งสภาวธรรมนั้นๆ นี้เรียกว่า ชรา มรณะ เป็นไฉน ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตกทำลาย ความแตกสลาย ความไม่เที่ยง ความหายไปแห่งสภาวธรรมนั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ ชราและมรณะดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี คำว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ได้แก่ กองทุกข์ ทั้งมวลนี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑-๑๓) [๒๗๔] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็น ปัจจัย อวิชชาจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๕๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๘. อัญญมัญญจตุกกะ

ปัจจัย นามจึงมี แม้เพราะนามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี แม้เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี แม้เพราะตัณหาเป็น ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แม้เพราะอุปาทานเป็น ปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึง มี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๗๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า แม้ เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๘. อัญญมัญญจตุกกะ

แม้เพราะนามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ นามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี คำว่า เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี นั้น นาม เป็นไฉน เว้นผัสสะเสีย เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า นาม เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ นามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า แม้เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย นามจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒-๑๔) [๒๗๖] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็น ปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็น ปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี แม้เพราะนามรูปเป็น ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี แม้เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี แม้เพราะตัณหาเป็น ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แม้เพราะอุปาทานเป็น ปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๕๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๘. อัญญมัญญจตุกกะ

[๒๗๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๖๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๘. อัญญมัญญจตุกกะ

คำว่า แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ได้แก่ นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน รูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี คำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี ได้แก่ นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน รูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน นาม ๑ รูป ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๘. อัญญมัญญจตุกกะ

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๗๘] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็น ปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็น ปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี แม้เพราะนามรูปเป็น ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี แม้เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี แม้เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี แม้เพราะตัณหา เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แม้เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๘. อัญญมัญญจตุกกะ

[๒๗๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๘. อัญญมัญญจตุกกะ

คำว่า แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ได้แก่ นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน รูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี คำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ได้แก่ นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน มหาภูตรูป ๔ และรูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี แม้เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน นาม ๑ รูป ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๙. อกุสลนิทเทส

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ แห่งกายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะสฬายตะเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๔-๑๖)
อัญญมัญญจตุกกะ จบ
๙. อกุสลนิทเทส
อกุศลจิตดวงที่ ๒ - ๔
[๒๘๐] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิเกิดขึ้น ฯลฯ โดยมีเหตุ ชักจูง สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ สหรคตด้วย โสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๙. อกุสลนิทเทส

อารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๘๑] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อกุศลจิตดวงที่ ๕
[๒๘๒] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๙. อกุสลนิทเทส

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๘๓] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา ฯลฯ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อกุศลจิตดวงที่ ๖-๘
[๒๘๔] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ สหรคตด้วย อุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภ อารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึง มี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๙. อกุสลนิทเทส

ตัณหาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็น ปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๘๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อกุศลจิตดวงที่ ๙-๑๐
[๒๘๖] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็น ปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็น ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปฏิฆะ จึงมี เพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะ ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๘๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปฏิฆะจึงมี เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๙. อกุสลนิทเทส

ความอาฆาต ความอาฆาตตอบ ฯลฯ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปฏิฆะจึงมี เพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์ นี้เรียกว่า เพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อกุศลจิตดวงที่ ๑๑
[๒๘๘] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะ ที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย วิจิกิจฉาจึงมี เพราะวิจิกิจฉาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๘๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๙. อกุสลนิทเทส

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย วิจิกิจฉาจึงมี เป็นไฉน ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ความคิดเห็นไป ต่างๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความคิดเห็นเป็นสองทาง ความคิดเห็นเหมือน ทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิด ส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้าง แห่งจิต วิจิกิจฉา๑- นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย วิจิกิจฉาจึงมี เพราะวิจิกิจฉาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นวิจิกิจฉาแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิจิกิจฉาเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อกุศลจิตดวงที่ ๑๒
[๒๙๐] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะ ที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย อุทธัจจะจึงมี เพราะอุทธัจจะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็น ปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๒๕/๑๑๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๗๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๙. อกุสลนิทเทส

[๒๙๑] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชา ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุทธัจจะจึงมี เป็นไฉน ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบ ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุทธัจจะจึงมี๑- เพราะอุทธัจจะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า เพราะอุทธัจจะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อกุสลนิทเทส จบ
@เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๒๙/๑๑๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๗๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๒๓๔-๒๗๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=23              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=4108&Z=5015                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=291              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=291&items=67              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=5289              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=291&items=67              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=5289                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb6/en/anandajoti#pts-p-pi144



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :