ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๗๔๗] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๗๔๘] บรรดาปฏิสัมภิทา ๔ ปฏิสัมภิทา เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๗๔๙] ปฏิสัมภิทา ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา

ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิด วิบากก็มี อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบาก และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ ของอุปาทาน อัตถปฏิสัมภิทาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่ เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส อัตถปฏิสัมภิทาที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ มีทั้งวิตกและวิจาร อัตถปฏิสัมภิทาที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย อุเบกขาก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ปฏิสัมภิทา ๓ ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็น เหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นของ เสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นปริตตะ อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา

นิรุตติปฏิสัมภิทามีปริตตะเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา ๓ ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นชั้นกลาง อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้น ประณีตก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ ให้ผลไม่แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่มีสภาวะชอบและให้ผล แน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี นิรุตติปฏิสัมภิทา กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือ มีมรรคเป็นอธิบดี อัตถปฏิสัมภิทาไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ปฏิสัมภิทา ๒ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์แต่ไม่ใช่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็น อธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้น แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี นิรุตติปฏิสัมภิทามีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา ๒ ที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี อัตถปฏิสัมภิทาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคต- ธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน และภายนอกตนก็มี นิรุตติปฏิสัมภิทามีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา ๓ ที่มีธรรม ภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายใน ตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๕๐] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุ ปฏิสัมภิทา ๔ มีเหตุ ปฏิสัมภิทา ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุและมีเหตุ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ แต่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุ แต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง ปฏิสัมภิทา ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ปฏิสัมภิทา ๔ เห็นไม่ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ กระทบไม่ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นรูป ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นโลกิยะ อัตถปฏิสัมภิทาที่ เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ จิตบางดวงรู้ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอารมณ์ของอาสวะ อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ วิปปยุตจากอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะ และเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อัตถ- ปฏิสัมภิทากล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ ที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของ อาสวะ อัตถปฏิสัมภิทาที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุต จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

๔-๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ รับรู้อารมณ์ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นจิต ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเจตสิก ปฏิสัมภิทา ๔ สัมปยุตด้วยจิต ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิต ปฏิสัมภิทา ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ปฏิสัมภิทา ๔ เกิดพร้อมกับจิต ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นไปตามจิต ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นภายนอก ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป ปฏิสัมภิทา ๔ กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่ต้อง ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ปฏิสัมภิทา ๓ มีวิตก อัตถปฏิสัมภิทาที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ มีวิจาร อัตถปฏิสัมภิทาที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นกามาวจร อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็น กามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร และไม่เป็นอรูปาวจรก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ นับเนื่องใน วัฏฏทุกข์๑- อัตถปฏิสัมภิทาที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นเหตุ นำออกจากวัฏฏทุกข์๒- ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ ให้ผลไม่แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อัตถปฏิสัมภิทาที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ ฉะนี้แล
ปัญหาปุจฉกะ จบ
ปฏิสัมภิทาวิภังค์ จบบริบูรณ์
@เชิงอรรถ : @ บาลีว่า ปริยาปนฺนา นับเนื่องในวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ @(อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๗-๙๘) @ บาลีว่า นิยฺยานิกา คือตัดมูลวัฏฏทุกข์และยึดนิพพานเป็นอารมณ์ นำออกจากวัฏฏทุกข์ @(อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๘๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๔๗๕-๔๘๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=61              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=10513&Z=10596                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=789              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=789&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=9954              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=789&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=9954                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb15/en/thittila#ba402



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :