ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๓. ติกนิทเทส
[๙๐๙] บรรดามาติกาเหล่านั้น อกุศลมูล ๓ เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ @เชิงอรรถ : @ คือสังโยชน์ในกามภพ (อภิ.วิ.อ. ๙๐๘/๕๓๕) @ คือสังโยชน์ในรูปภพและอรูปภพ (อภิ.วิ.อ. ๙๐๘/๕๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

บรรดาอกุศลมูล ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ความหวั่นไหว ความหลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติ ที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติที่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ธรรมชาติที่เป็นกระแส ธรรมชาติที่แผ่ไป ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อนใจ ธรรมชาติที่ตั้งความปรารถนา ธรรมชาติที่นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนหมู่ไม้ที่ตั้งอยู่ในป่า ความ เชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติที่อยากได้ ธรรมชาติที่อยากได้ทั่ว ธรรมชาติที่อยากได้ยิ่ง กิริยาที่อยากได้ ภาวะที่อยากได้ ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่เป็นเหตุซมซานไป ความ ใคร่ในอารมณ์ที่ดี ความกำหนัดในฐานะที่ไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่ม ความปรารถนาจัด กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ (คือ ราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ) รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูกมัด อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐานะ ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่ง ทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหา เหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ นี้เรียกว่า โลภะ โทสะ เป็นไฉน ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ผู้นี้กำลังทำความ เสื่อมเสียแก่เรา ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

ความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบพอของเรา ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสีย แก่คนผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบพอของเรา ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบพอของเรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบ พอของเรา ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ผู้นี้ จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิด ขึ้นในฐานะที่ไม่สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบ ความแค้น ความ เคือง ความพลุ้งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความ ขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิด ประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยา ที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย ความ เกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โทสะ โมหะ เป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความ ไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในสภาวธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและ กัน และอิงอาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โมหะ เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลมูล ๓ (๑) [๙๑๐] อกุศลวิตก ๓ เป็นไฉน อกุศลวิตก ๓ คือ ๑. กามวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยกาม) ๒. พยาปาทวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยความพยาบาท) ๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยความเบียดเบียน) บรรดาวิตก ๓ นั้น กามวิตก เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยกาม นี้ เรียกว่า กามวิตก พยาปาทวิตก เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยความ พยาบาท นี้เรียกว่า พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยความ เบียดเบียน นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลวิตก ๓ (๒) [๙๑๑] อกุศลสัญญา ๓ เป็นไฉน อกุศลสัญญา ๓ คือ ๑. กามสัญญา ๒. พยาปาทสัญญา ๓. วิหิงสาสัญญา บรรดาสัญญา ๓ นั้น กามสัญญา เป็นไฉน ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ที่เกี่ยวด้วยกาม นี้เรียกว่า กามสัญญา พยาปาทสัญญา เป็นไฉน ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ที่เกี่ยวกับความพยาบาท นี้เรียกว่า พยาปาทสัญญา วิหิงสาสัญญา เป็นไฉน ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ที่เกี่ยวด้วยความเบียดบียน นี้เรียกว่า วิหิงสาสัญญา เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลสัญญา ๓ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

[๙๑๒] อกุศลธาตุ ๓ เป็นไฉน อกุศลธาตุ ๓ คือ ๑. กามธาตุ ๒. พยาปาทธาตุ ๓. วิหิงสาธาตุ บรรดาอกุศลธาตุ ๓ นั้น กามธาตุ เป็นไฉน กามวิตกชื่อว่ากามธาตุ พยาปาทวิตกชื่อว่าพยาปาทธาตุ วิหิงสาวิตกชื่อว่า วิหิงสาธาตุ บรรดาวิตก ๓ นั้น กามวิตก เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยกาม นี้เรียกว่า กามวิตก พยาปาทวิตก เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยความ พยาบาท นี้เรียกว่า พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยความเบียด เบียน นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลธาตุ ๓ (๔) [๙๑๓] ทุจริต ๓ เป็นไฉน ทุจริต ๓ คือ ๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต ๓. มโนทุจริต บรรดาทุจริต ๓ นั้น กายทุจริต เป็นไฉน ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร นี้เรียกว่า กายทุจริต วจีทุจริต เป็นไฉน มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ นี้เรียกว่า วจีทุจริต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๗๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

มโนทุจริต เป็นไฉน อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ นี้เรียกว่า มโนทุจริต กายทุจริต เป็นไฉน กายกรรมที่เป็นอกุศลชื่อว่ากายทุจริต วจีกรรมที่เป็นอกุศลชื่อว่าวจีทุจริต มโนกรรมที่เป็นอกุศลชื่อว่ามโนทุจริต บรรดาทุจริต ๓ นั้น กายกรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน กายสัญเจตนาที่เป็นอกุศลชื่อว่ากายกรรมที่เป็นอกุศล วจีสัญเจตนาที่เป็นอกุศล ชื่อว่าวจีกรรมที่เป็นอกุศล มโนสัญเจตนาที่เป็นอกุศลชื่อว่ามโนกรรมที่เป็นอกุศล เหล่านี้ชื่อว่าทุจริต ๓ (๕) [๙๑๔] อาสวะ ๓ เป็นไฉน อาสวะ ๓ คือ ๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) ๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา) บรรดาอาสวะ ๓ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ความ อยากในกาม ความเยื่อใยในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความสยบในกาม ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กามาสวะ ภวาสวะ เป็นไฉน ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภวาสวะ อวิชชาสวะ เป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาสวะ เหล่านี้ชื่อว่าอาสวะ ๓ (๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๗๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

[๙๑๕] สังโยชน์ ๓ เป็นไฉน สังโยชน์ ๓ คือ ๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) ๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ) ๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต) บรรดาสังโยชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตนหรือ เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตนหรือเห็นตนในรูป ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ เห็นสัญญาเป็นตน ฯลฯ เห็นสังขารเป็นตน ฯลฯ เห็นวิญญาณเป็นตนหรือ พิจารณาเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตนหรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความ เห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา เป็นไฉน ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระธรรม ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระสงฆ์ ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในสิกขา ย่อมเคลือบ แคลงสงสัยในส่วนอดีต ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในส่วนอนาคต ย่อมเคลือบแคลง สงสัยในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในสภาวธรรมที่เป็น ปัจจัยของกันและกันและอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ความเคลือบแคลง กิริยาที่ เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะ เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส เหล่านี้ชื่อว่าสังโยชน์ ๓ (๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๗๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

[๙๑๖] ตัณหา ๓ เป็นไฉน ตัณหา ๓ คือ ๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม) ๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ) ๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ) บรรดาตัณหา ๓ นั้น ภวตัณหา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่สหรคตด้วยภวทิฏฐิ นี้เรียกว่า ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่สหรคตด้วย อุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา ตัณหาที่เหลือชื่อว่ากามตัณหา บรรดาตัณหา ๓ นั้น กามตัณหา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยกามธาตุ นี้เรียกว่า กามตัณหา ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวกับรูปธาตุและ อรูปธาตุ นี้เรียกว่า ภวตัณหา ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่สหรคตด้วย อุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าตัณหา ๓ (๘) [๙๑๗] ตัณหา ๓ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ตัณหา ๓ คือ ๑. กามตัณหา ๒. รูปตัณหา ๓. อรูปตัณหา บรรดาตัณหา ๓ นั้น กามตัณหา เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๗๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยกามธาตุ นี้เรียกว่า กามตัณหา รูปตัณหา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยรูปธาตุ นี้เรียกว่า รูปตัณหา อรูปตัณหา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยอรูปธาตุ นี้เรียกว่า อรูปตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าตัณหา ๓ (๙) [๙๑๘] ตัณหา ๓ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ตัณหา ๓ คือ ๑. รูปตัณหา ๒. อรูปตัณหา ๓. นิโรธตัณหา บรรดาตัณหา ๓ นั้น รูปตัณหา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยรูปธาตุ นี้เรียกว่า รูปตัณหา อรูปตัณหา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยอรูปธาตุ นี้เรียกว่า อรูปตัณหา นิโรธตัณหา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่สหรคตด้วย อุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า นิโรธตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าตัณหา ๓ (๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

[๙๑๙] เอสนา ๓ เป็นไฉน เอสนา ๓ คือ ๑. กาเมสนา ๒. ภเวสนา ๓. พรหมจริเยสนา บรรดาเอสนา ๓ นั้น กาเมสนา เป็นไฉน ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กาเมสนา ภเวสนา เป็นไฉน ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ นี้เรียกว่า ภเวสนา พรหมจริเยสนา เป็นไฉน ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิด อีกก็ไม่ใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา บรรดาเอสนา ๓ นั้น กาเมสนา เป็นไฉน ความกำหนัดในกาม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นอกุศลซึ่งตั้งอยู่ ในฐานเดียวกันกับความกำหนัดในกามนั้น นี้เรียกว่า กาเมสนา๑- ภเวสนา เป็นไฉน ความกำหนัดในภพ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นอกุศลซึ่งตั้งอยู่ใน ฐานเดียวกันกับความกำหนัดในภพนั้น นี้เรียกว่า ภเวสนา พรหมจริเยสนา เป็นไฉน ความเห็นที่ถือว่า โลกมีที่สุด กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นอกุศล ซึ่ง ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับความเห็นที่ถือว่าโลกมีที่สุดนั้น นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา เหล่านี้ชื่อว่าเอสนา ๓ (๑๑) @เชิงอรรถ : @ สสฺสโต โลโกติอาทินา นเยน วุตฺตา ทิฏฺฐิคติกสมฺมตสฺส พฺรหฺมอริยสฺส คเวสนา ทิฏฺฐิ พฺรหฺมจริเยสนาติ @เวทิตพฺพา (อภิ.วิ.อ. ๙๑๙/๕๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

[๙๒๐] วิธา ๓ เป็นไฉน วิธา ๓ คือ ความถือตัวว่า ๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขา ๒. เป็นผู้เสมอเขา ๓. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา เหล่านี้เรียกว่า วิธา ๓ (๑๒) [๙๒๑] ภัย ๓ เป็นไฉน ภัย ๓ คือ ๑. ชาติภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยชาติ) ๒. ชราภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยชรา) ๓. มรณภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยความตาย) บรรดาภัย ๓ นั้น ชาติภัย เป็นไฉน ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความเกิด นี้เรียกว่า ชาติภัย ชราภัย เป็นไฉน ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยชรา นี้เรียกว่า ชราภัย มรณภัย เป็นไฉน ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความตาย นี้เรียกว่า มรณภัย เหล่านี้ชื่อว่าภัย ๓ (๑๓) [๙๒๒] ตมะ๑- ๓ เป็นไฉน ตมะ ๓ คือ @เชิงอรรถ : @ ตมนฺธกาโร สมฺโมโห อวิชฺโชโฆ มหพฺภโยติ วจนโต อวิชชา ตโม นาม (อภิ.วิ.อ. ๙๒๒/๕๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

๑. บุคคลเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอดีตกาล ๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอนาคตกาล ๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภปัจจุบันกาล เหล่านี้ชื่อว่าตมะ ๓ (๑๔) [๙๒๓] ติตถายตนะ ๓๑ เป็นไฉน ติตถายตนะ ๓ คือ ๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหมดนั้น เพราะเคยการทำเหตุมาก่อน ๒. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งหมดนั้น เพราะเหตุคือผู้เป็นใหญ่สร้างให้ ๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งหมดนั้น เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย เหล่านี้ชื่อว่าติตถายตนะ ๓ (๑๕) [๙๒๔] กิญจนะ ๓ ๒- เป็นไฉน กิญจนะ ๓ คือ ๑. กิญจนะคือราคะ ๒. กิญจนะคือโทสะ ๓. กิญจนะคือโมหะ เหล่านี้ชื่อว่ากิญจนะ ๓ (๑๖) @เชิงอรรถ : @ ถิ่น หรือบ่อเกิดทิฏฐิ ๖๒ (อภิ.วิ.อ. ๙๒๓/๕๓๘) @ อภิ.วิ.อ. ๙๒๔/๕๓๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๗๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

อังคณะ ๓ ๑- เป็นไฉน อังคณะ ๓ คือ ๑. อังคณะคือราคะ (กิเลสเพียงดังเนินคือราคะ) ๒. อังคณะคือโทสะ (กิเลสเพียงดังเนินคือโทสะ) ๓. อังคณะคือโมหะ (กิเลสเพียงดังเนินคือโมหะ) เหล่านี้ชื่อว่าอังคณะ ๓ (๑๗) มละ ๓ ๒- เป็นไฉน มละ ๓ คือ ๑. มละคือราคะ (มลทินคือราคะ) ๒. มละคือโทสะ (มลทินคือโทสะ) ๓. มละคือโมหะ (มลทินคือโมหะ) เหล่านี้ชื่อว่ามละ ๓ (๑๘) วิสมะ ๓ ๓- เป็นไฉน วิสมะ ๓ คือ ๑. วิสมะคือราคะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอคือราคะ) ๒. วิสมะคือโทสะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอคือโทสะ) ๓. วิสมะคือโมหะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอคือโมหะ) เหล่านี้ชื่อว่าวิสมะ ๓ (๑๙) วิสมะ ๓ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน วิสมะ ๓ คือ ๑. วิสมะทางกาย ๒. วิสมะทางวาจา ๓. วิสมะทางใจ เหล่านี้ชื่อว่าวิสมะ ๓ (๒๐) @เชิงอรรถ : @ แปลว่า กิเลสเพียงดังเนิน คือ ราคะ โทสะ และโมหะ (อภิ.วิ.อ. ๙๒๔/๕๓๙) @ มละเป็นมลทินทำจิตให้เศร้าหมอง ซึ่งได้แก่ ราคะ โทสะ และโมหะ (อภิ.วิ.อ. ๙๒๔/๕๓๙) @ คำว่า “วิสมะ” หมายถึงความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๗๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

อัคคิ๑- ๓ เป็นไฉน อัคคิ ๓ คือ ๑. อัคคิคือราคะ (ไฟคือราคะ) ๒. อัคคิคือโทสะ (ไฟคือโทสะ) ๓. อัคคิคือโมหะ (ไฟคือโมหะ) เหล่านี้ชื่อว่าอัคคิ ๓ (๒๑) กสาวะ ๓ เป็นไฉน กสาวะ ๓ คือ ๑. กสาวะคือราคะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือราคะ) ๒. กสาวะคือโทสะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือโทสะ) ๓. กสาวะคือโมหะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือโมหะ) เหล่านี้ชื่อว่ากสาวะ ๓ (๒๒) กสาวะ ๓ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน กสาวะ ๓ คือ ๑. กสาวะทางกาย ๒. กสาวะทางวาจา ๓. กสาวะทางใจ เหล่านี้ชื่อว่ากสาวะ ๓ (๒๓) [๙๒๕] อัสสาททิฏฐิ๒- เป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ เป็นผู้มีความเห็น อย่างนี้ว่า กามทั้งหลายไม่มีโทษ ดังนี้ จึงบริโภคกาม นี้เรียกว่า อัสสาททิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิ เป็นไฉน ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ @เชิงอรรถ : @ แปลว่า ไฟ ท่านเปรียบกิเลสเหมือนไฟ (อภิ.วิ.อ. ๙๒๔/๕๓๙) @ ความเห็นผิดที่สัมปยุตด้วยความยินดี (อภิ.วิ.อ. ๙๒๕/๕๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๗๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตนหรือ เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ สัญญาเป็นตน ฯลฯ สังขารเป็นตน ฯลฯ วิญญาณเป็นตน หรือย่อมพิจารณา เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ เป็นไฉน ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณะ หรือพราหมณ์ผู้รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศ ให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลกนี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ สัสสตทิฏฐิชื่อว่าอัสสาททิฏฐิ สักกายทิฏฐิ ชื่อว่าอัตตานุทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ (๒๔) [๙๒๖] อรติ เป็นไฉน ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความกระสัน ความดิ้นรนในเสนาสนะที่สงัด หรือในสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอธิกุศลอย่างใด อย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ วิเหสา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วย ท่อนไม้ ด้วยศัสตรา ด้วยเชือก อย่างใดอย่างหนึ่ง ความบีบคั้น ความรบกวน ความเบียดเบียน ความเบียดเบียนหนักขึ้น การทำให้เดือดร้อน การทำให้เดือด ร้อนอย่างหนัก การทำร้ายสัตว์อื่น มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิเหสา อธรรมจริยา เป็นไฉน ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางกาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางวาจา ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ความ ประพฤติไม่เป็นธรรมทางใจ ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ นี้เรียกว่า อธรรม- จริยา (๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

[๙๒๗] โทวจัสสตา เป็นไฉน ความเป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือ ข้างขัดขืน ความพอใจในการโต้แย้ง กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เอื้อเฟื้อ ความ ไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา ปาปมิตตตา เป็นไฉน บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความตระหนี่ มี ปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา นานัตตสัญญา เป็นไฉน สัญญาที่เกี่ยวด้วยกาม สัญญาที่เกี่ยวด้วยความพยาบาท สัญญาที่เกี่ยวด้วย ความเบียดเบียน นี้เรียกว่า นานัตตสัญญา สัญญาที่เป็นอกุศลแม้ทั้งหมดชื่อว่า นานัตตสัญญา (๒๖) [๙๒๘] อุทธัจจะ เป็นไฉน ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบ ความซัดส่าย ความพล่านไปแห่งจิต นี้เรียกว่า อุทธัจจะ โกสัชชะ เป็นไฉน ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ การทำโดยไม่เคารพ การทำโดยไม่ติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล นี้เรียกว่า โกสัชชะ ปมาทะ เป็นไฉน ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ การทำโดยไม่เคารพ การทำโดยไม่ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ความประมาท กิริยาที่ ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (๒๗) [๙๒๙] อสันตุฏฐิตา เป็นไฉน ความอยากได้ยิ่งๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ หรือด้วยกามคุณ ๕ ความอยาก ความ ปรารถนา ความไม่สันโดษ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่ง จิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อสันตุฏฐิตา อสัมปชัญญตา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อสัมปชัญญตา มหิจฉตา เป็นไฉน ความอยากได้ยิ่งๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ หรือด้วยกามคุณ ๕ ความอยาก ความ ปรารถนา ความมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มหิจฉตา (๒๘) [๙๓๐] อหิริกะ เป็นไฉน ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่ละอาย ต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อหิริกะ อโนตตัปปะ เป็นไฉน ความไม่เกรงกลัวการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว ความไม่เกรงกลัว ต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ ปมาทะ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ การทำโดยไม่เคารพ การทำโดยไม่ติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาท ในการเจริญสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ความประมาท กิริยา ที่ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (๒๙) [๙๓๑] อนาทริยะ เป็นไฉน ความไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ความ ไม่เชื่อถือ กิริยาที่ไม่เชื่อถือ ภาวะที่ไม่เชื่อถือ ความไม่มีศีล ความไม่ยำเกรง นี้เรียกว่า อนาทริยะ โทวจัสสตา เป็นไฉน ความที่เป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความถือรั้น ความพอใจในการโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา ปาปมิตตตา เป็นไฉน บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความตระหนี่ มี ปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การเสพเฉพาะ การคบ การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา (๓๐) [๙๓๒] อัสสัทธิยะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือ พระสงฆ์ ความไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่ปักใจเชื่อ ความไม่เลื่อมใสยิ่ง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัสสัทธิยะ อวทัญญุตา เป็นไฉน ความตระหนี่มี ๕ อย่างคือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) ๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล) ๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) ๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ) ๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม) ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความถี่เหนียว ความปกปิด ภาวะที่จิตหวงแหน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อวทัญญุตา โกสัชชะ เป็นไฉน ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ การไม่ทำโดยเคารพ การไม่ทำโดยติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความ ไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ ความ ประมาทในการเจริญสภาวธรรมที่เป็นกุศล นี้เรียกว่า โกสัชชะ (๓๑) [๙๓๓] อุทธัจจะ เป็นไฉน ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่าย ความพล่านไปแห่งจิต นี้เรียกว่า อุทธัจจะ อสังวร เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมใน จักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่ปฏิบัติแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส ครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่ สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษา มนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า อสังวร ทุสสีลยะ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกนิทเทส

ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง กายและทางวาจา นี้เรียกว่า ทุสสีลยะ (๓๒) [๙๓๔] อริยานัง อทัสสนกัมยตา เป็นไฉน บรรดาบุคคลเหล่านั้น พระอริยะ เป็นไฉน พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าเรียกว่า พระอริยะ ความไม่ต้องการจะ พบ ความไม่ต้องการจะเห็น ความไม่ต้องการจะเข้าใกล้ ความไม่ต้องการจะสมาคม กับพระอริยะเหล่านี้ นี้เรียกว่า อริยานัง อทัสสนกัมยตา สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา เป็นไฉน บรรดาบทเหล่านั้น สัทธรรม เป็นไฉน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เรียกว่า สัทธรรม ความไม่ต้องการจะฟัง ความไม่ต้องการจะสดับ ความไม่ต้องการจะเรียน ความไม่ต้องการจะทรงจำสัทธรรมนี้ นี้เรียกว่า สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา อุปารัมภจิตตตา เป็นไฉน บรรดาบทเหล่านั้น อุปารัมภจิตตตา เป็นไฉน ความคิดแข่งดี ความคิดแข่งดีเนืองๆ กิริยาที่คิดแข่งดี กิริยาที่คิดแข่งดี เนืองๆ ภาวะที่คิดแข่งดีเนืองๆ ความดูถูก ความดูหมิ่น ความดูแคลน ความ เป็นผู้คอยแสวงหาโทษ นี้เรียกว่า อุปารัมภจิตตตา (๓๓) [๙๓๕] มุฏฐัสสัจจะ เป็นไฉน ความระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความย้อนระลึกไม่ได้ ความระลึกไม่ได้ ภาวะที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม นี้เรียกว่า มุฏฐัสสัจจะ อสัมปชัญญะ เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

เจตโสวิกเขปะ เป็นไฉน ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ความพล่าน ไปแห่งจิต นี้เรียกว่า เจตโสวิกเขปะ (๓๔) [๙๓๖] อโยนิโสมนสิการ เป็นไฉน ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายใน สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่งามว่างาม หรือความนึก ความนึกเนืองๆ ความคำนึง ความพิจารณา ความใคร่ครวญแห่งจิตโดยผิดจากความจริง นี้เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ กุมมัคคเสวนา เป็นไฉน บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น กุมมัคคะ เป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ นี้เรียกว่า กุมมัคคะ การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มน้าวไปตามทางผิด นี้เรียกว่า กุมมัคคเสวนา เจตโสลีนัตตะ เป็นไฉน ความที่จิตไม่คล่องแคล่ว ไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความท้อถอย ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความซึมเซา กิริยาที่ซึมเซา ภาวะที่จิตซึมเซา นี้เรียกว่า เจตโสลีนัตตะ (๓๕)
ติกนิทเทส จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๖๖-๕๘๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=68              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=12335&Z=12792                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=926              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=926&items=35              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=12602              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=926&items=35              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=12602                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila#pts-s908



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :