บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒. อายตนวิภังค์]
๒. อภิธรรมภาชนีย์
๒. อภิธรรมภาชนีย์ [๑๕๕] อายตนะ ๑๒ คือ ๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ ๓. โสตายตนะ ๔. สัททายตนะ ๕. ฆานายตนะ ๖. คันธายตนะ ๗. ชิวหายตนะ ๘. รสายตนะ ๙. กายายตนะ ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ ๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ [๑๕๖] บรรดาอายตนะ ๑๒ นั้น จักขายตนะ เป็นไฉน จักษุใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นรูปที่เห็น ไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น บุคคลเคยเห็น กำลังเห็น จักเห็น หรือพึงเห็นรูปที่เห็นได้และ กระทบได้ ด้วยจักษุใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยน์ตาบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า จักขายตนะ๑- (๑) [๑๕๗] โสตายตนะ เป็นไฉน โสตะใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นรูปที่เห็น ไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น บุคคลเคยฟัง กำลังฟัง จักฟัง หรือพึงฟังเสียงที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ด้วยโสตะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า โสตะบ้าง โสตายตนะ บ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า โสตายตนะ๒- (๒) [๑๕๘] ฆานายตนะ เป็นไฉน ฆานะใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นรูปที่เห็น ไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น บุคคลเคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่ @เชิงอรรถ : @๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๖/๑๘๒ @๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๐๐/๑๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๑๓}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒. อายตนวิภังค์]
๒. อภิธรรมภาชนีย์
กระทบได้ด้วยฆานะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า ฆานายตนะ๑- (๓) [๑๕๙] ชิวหายตนะ เป็นไฉน ชิวหาใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นรูปที่ เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น บุคคลเคยลิ้ม กำลังลิ้ม จักลิ้ม หรือพึงลิ้มรสที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ด้วยชิวหาใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะ บ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า ชิวหายตนะ๒- (๔) [๑๖๐] กายายตนะ เป็นไฉน กายใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นรูปที่เห็นไม่ ได้แต่กระทบได้ เช่น บุคคลเคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง หรือพึงถูกต้อง โผฏฐัพพะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ด้วยกายใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า กายายตนะ๓- (๕) [๑๖๑] มนายตนะ เป็นไฉน มนายตนะหมวดละ ๑ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยผัสสะ มนายตนะหมวดละ ๒ ได้แก่ มนายตนะที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี มนายตนะหมวดละ ๓ ได้แก่ มนายตนะที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี มนายตนะหมวดละ ๔ ได้แก่ มนายตนะที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจร ก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี @เชิงอรรถ : @๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๐๔/๑๘๔ @๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๐๘/๑๘๕ @๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๑๒/๑๘๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๑๔}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒. อายตนวิภังค์]
๒. อภิธรรมภาชนีย์
มนายตนะหมวดละ ๕ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุต ด้วยทุกขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโทมนัสสินทรีย์ ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุเปกขินทรีย์ก็มี มนายตนะหมวดละ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ มนายตนะหมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้ มนายตนะหมวดละ ๗ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ มนายตนะหมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้ มนายตนะหมวดละ ๘ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ มนายตนะหมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้ มนายตนะหมวดละ ๙ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็น อกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี มนายตนะหมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้ มนายตนะหมวดละ ๑๐ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี มนายตนะหมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ มนายตนะหมวดละ ๑ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยผัสสะ มนายตนะหมวดละ ๒ ได้แก่ มนายตนะที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๑๕}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒. อายตนวิภังค์]
๒. อภิธรรมภาชนีย์
มนายตนะหมวดละ ๓ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มีฯลฯ มนายตนะหมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า มนายตนะ (๖) [๑๖๒] รูปายตนะ เป็นไฉน รูปใดเป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบได้ เช่น สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท๑- สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด สว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด ที่เป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็น ได้และกระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยเห็น กำลังเห็น จักเห็น หรือพึงเห็นรูปใดที่เห็น ได้และกระทบได้ ด้วยจักษุที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รูปายตนะ๒- (๗) [๑๖๓] สัททายตนะ เป็นไฉน เสียงใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียง ปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ เช่น บุคคลเคยฟัง กำลังฟัง จักฟัง หรือพึงฟังเสียงใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยโสตะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุ บ้าง นี้เรียกว่า สัททายตนะ๓- (๘) @เชิงอรรถ : @๑ สีหงสบาท สีคล้ายเท้าหงส์ สีแดงปนเหลือง สีแดงเรื่อ หรือ สีแสดก็ว่า @(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) @๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๑๖/๑๘๘ @๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๒๐/๑๙๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๑๖}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒. อายตนวิภังค์]
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๑๖๔] คันธายตนะ เป็นไฉน กลิ่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ ด้วยฆานะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธายตนะ๑- (๙) [๑๖๕] รสายตนะ เป็นไฉน รสใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็น ไม่ได้แต่กระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยลิ้ม กำลังลิ้ม จักลิ้ม หรือพึงลิ้มรสใดที่เห็น ไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยชิวหาที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะ บ้าง รสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสายตนะ๒- (๑๐) [๑๖๖] โผฏฐัพพายตนะ เป็นไฉน ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มีสัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา เช่น บุคคลเคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง หรือพึงถูกต้องโผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยกายที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ๓- (๑๑) [๑๖๗] ธัมมายตนะ เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง๔- เวทนาขันธ์ เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๒๔/๑๙๒ @๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๒๘/๑๙๓ @๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๔๗/๑๙๖ @๔ คำบาลีคือ อสงฺขตา ธาตุ แปลว่า ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพาน (อภิ.วิ.อ. ๑๖๗/๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๑๗}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒. อายตนวิภังค์]
๒. อภิธรรมภาชนีย์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ (๑) สัญญาขันธ์ เป็นไฉน สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ (๒) สังขารขันธ์ เป็นไฉน สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิตฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ (๓) รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ (๔) ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง เป็นไฉน สภาวธรรมเป็นที่สิ้นราคะ เป็นที่สิ้นโทสะ เป็นที่สิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ธาตุที่ ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง (๕) นี้เรียกว่า ธัมมายตนะอภิธรรมภาชนีย์ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๑๘}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๑๓-๑๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=9 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=1755&Z=1806 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=99 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=99&items=2 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=1298 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=99&items=2 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=1298 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb2/en/thittila#pts-s155
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]