ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
๙. นวกปุคคลบัญญัติ
[๒๐๘] บุคคลผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน บรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมคือสัจจะ ๔ นั้น และถึงความชำนาญในทศพลญาณ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๒๙}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๙. นวกปุคคลบัญญัติ

บุคคลผู้เป็นปัจเจกพุทธะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน แต่ไม่บรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมคือสัจจะ ๔ นั้น และไม่ถึงความชำนาญใน ทศพลญาณ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปัจเจกพุทธะ บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของ เขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลาย ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ บุคคลผู้เป็นกายสักขี เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของ เขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นกายสักขี บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” อนึ่ง สภาวธรรมที่พระตถาคตประกาศแล้ว บุคคลนั้น เห็นชัดแล้วด้วยปัญญา ประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่างของเขา ย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์” อนึ่ง สภาวธรรมที่พระตถาคตประกาศแล้ว บุคคลนั้นเห็น ชัดแล้วด้วยปัญญา ประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่างของเขาย่อม สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่ไม่เหมือนผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น สัทธาวิมุตตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๓๐}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑๐. ทสกปุคคลบัญญัติ

บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นไฉน ปัญญินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีประมาณยิ่ง บุคคลนั้นย่อมเจริญอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นตัวนำ มีปัญญาเป็นประธาน บุคคล นี้เรียกว่า ผู้เป็นธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าผู้เป็น ธัมมานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลชื่อว่าผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นไฉน สัทธินทรีย์ของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีประมาณยิ่ง บุคคลนั้นย่อมเจริญอริยมรรคอันมีศรัทธาเป็นตัวนำ มีศรัทธาเป็นประธาน บุคคล นี้เรียกว่า ผู้เป็นสัทธานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าผู้เป็น สัทธานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลชื่อว่าผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ
นวกนิทเทส จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๒๒๙-๒๓๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=36&siri=35              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=36&A=4875&Z=4920                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=666              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=36&item=666&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4139              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=36&item=666&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4139                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pp2.9/en/law



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :