ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๑. อานิสังสทัสสาวีกถา (๘๔)

๙. นวมวรรค
๑. อานิสังสทัสสาวีกถา (๘๔)
ว่าด้วยผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน)
[๕๔๗] สก. บุคคลผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน) ละสังโยชน์ได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. บุคคลผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง ละสังโยชน์ได้มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากบุคคลผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง ละสังโยชน์ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน) ละสังโยชน์ได้” สก. บุคคลผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นโรค ฯลฯ โดยความเป็นฝี ฯลฯ โดยความเป็นของเสียดแทง ฯลฯ โดยความเป็นของลำเค็ญ ฯลฯ โดยความเป็นอาพาธ ฯลฯ โดยความเป็นดังสิ่งอื่น ฯลฯ โดยความเป็น ของเสื่อม ฯลฯ โดยความเป็นเสนียด ฯลฯ โดยความเป็นเครื่องเบียดเบียน ฯลฯ โดยความเป็นภัย ฯลฯ โดยความเป็นอุปสรรค ฯลฯ โดยความเป็นของหวั่นไหว ฯลฯ โดยความเป็นของเปื่อยพัง ฯลฯ โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน ฯลฯ โดย ความไม่เป็นที่ต้านทาน ฯลฯ โดยความไม่เป็นที่เร้น ฯลฯ โดยความไม่เป็นที่พึ่ง ฯลฯ โดยความไม่เป็นที่อาศัย ฯลฯ โดยความเป็นของว่าง ฯลฯ โดยความเป็น ของเปล่า ฯลฯ โดยความเป็นของสูญ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ โดยความเป็นโทษ ฯลฯ โดยความเป็นสภาวะมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ละสังโยชน์ได้มิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๗/๒๔๑-๒๔๒) @ เพราะมีความเห็นว่า เพียงแต่เห็นอานิสงส์ในนิพพานก็สามารถละสังโยชน์ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของ @สกวาทีที่เห็นว่า การละสังโยชน์ได้ จะต้องพิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นไตรลักษณ์และพิจารณาเห็น @อานิสงส์ในนิพพานจึงละสังโยชน์ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๗/๒๔๑-๒๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๑. อานิสังสทัสสาวีกถา (๘๔)

สก. หากบุคคลผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นสภาวะมีความแปรผันไปเป็น ธรรมดา ละสังโยชน์ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน)ละ สังโยชน์ได้” สก. บุคคลมนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง และเห็นอานิสงส์ใน นิพพานใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลมนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง และเห็นอานิสงส์ใน นิพพานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลมนสิการสังขารโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นโรค ฯลฯ โดยความเป็นสภาวะมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา และเห็นอานิสงส์ในนิพพานใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลมนสิการสังขารโดยความเป็นสภาวะมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา และเห็นอานิสงส์ในนิพพานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๔๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน) ละสังโยชน์ได้” ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)

ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นว่าเป็นสุข หมายรู้ว่าเป็นสุข รู้สึกว่าเป็นสุข มีใจน้อมไปเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ในนิพพานอยู่”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น บุคคลผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน)จึงละสังโยชน์ได้
อานิสังสทัสสาวีกถา จบ
๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
ว่าด้วยสภาวธรรมมีอมตะ(นิพพาน)เป็นอารมณ์
[๕๔๙] สก. สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. อมตะเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของ โอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็น อารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๙/๒๘ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๙/๒๔๓) @ เพราะมีความเห็นว่าสังโยชน์สามารถรับอมตะเป็นอารมณ์ได้ โดยยึดตามพระสูตรที่ว่า ‘นิพฺพานํ @เมติ มญฺญติ’ เป็นต้น (ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๖/๙) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อมตะ @ไม่สามารถเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๙/๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๙๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๕๙๓-๕๙๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=104              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=13019&Z=13069                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1306              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1306&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5442              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1306&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5442                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv9.1/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :