บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๑๐. ปัญญัตตานุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงบัญญัติ [๖๑] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่๑- สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ เพราะมีความเห็นว่า ผู้มีรูปเป็นนามบัญญัติที่ได้มาเพราะเกี่ยวข้องกับรูปภูมิ และรูปกายเป็นสิ่งที่มีปรากฏ @จริงในรูปภูมิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑-๖๖/๑๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๙}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
[๖๒] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ [๖๓] สก. ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๔] สก. ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๕] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นบุคคล ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นบุคคล และ บางคนจุติจากรูปธาตุแล้วเข้าถึงอรูปธาตุใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้มีรูปขาดสูญ บุคคลผู้ไม่มีรูปเกิดได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๖] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นสัตว์ ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นสัตว์ และบาง คนจุติจากรูปธาตุแล้วเข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @๑ เพราะมีความเห็นว่า ผู้มีกามเป็นนามบัญญัติที่มิใช่ได้มาเพราะเกี่ยวข้องกับกามภูมิ แต่เป็นบัญญัติที่ได้มา @เพราะเกี่ยวข้องกับกิเลสกาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑-๖๖/๑๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๐}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
สก. สัตว์มีรูปขาดสูญ สัตว์ไม่มีรูปเกิดได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๗] สก. เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มี ความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วน เท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับ บุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมาย อย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคน ละอย่างกัน ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ท่าน กล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้ นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อ บัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๑}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน แต่ไม่ยอมรับว่า ชีวะกับ สรีระเป็นคนละอย่างกัน คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความ หมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะ กับบุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมาย อย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคน ละอย่างกัน ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อ บัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มี ความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน แต่ ไม่ยอมรับว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ [๖๘] ปร. เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่ ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๒}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
ปร. กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้ เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วน เท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล ตนเองมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อบัญญัติว่า กายกับ สรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระ และกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่ แต่ไม่ยอมรับว่า กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลตนเองมีอยู่ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่ แต่ไม่ยอมรับว่า กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน คำนั้นของท่านผิด (ย่อ)ปัญญัตตานุโยคะ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๙-๔๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=14 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=755&Z=834 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=68 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=68&items=8 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3230 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=68&items=8 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3230 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.1/en/aung-rhysdavids#pts-cs1.1.154
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]