บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๒. อัญญมัญญปัจจยกถา (๑๔๖) ว่าด้วยอัญญมัญญปัจจัย [๗๑๘] สก. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แต่ท่านไม่ยอมรับว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. อวิชชาเกิดพร้อมกับสังขารมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอวิชชาเกิดพร้อมกับสังขาร ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี สก. เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แต่ท่านไม่ยอมรับว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ตัณหาเกิดพร้อมกับอุปาทานมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘) @๒ เพราะมีความเห็นว่า อัญญมัญญปัจจัยไม่มี เช่น อวิชชาเป็นปัจจัยให้สังขารเกิดได้ แต่สังขารจะเป็นปัจจัย @ให้อวิชชาเกิดไม่ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มีอัญญมัญญปัจจัย @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๖๕}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]
๓. อัทธากถา (๑๔๗)
สก. หากตัณหาเกิดพร้อมกับอุปาทาน ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี [๗๑๙] ปร. พระสูตรที่ว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะชรามรณะเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ภพจึงมี๑- มีอยู่หรือ สก. ไม่มี ปร. ดังนั้น ท่านไม่ควรยอมรับว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี สก. พระสูตรที่ว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ดังนั้น จึงควรยอมรับว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมีอัญญมัญญปัจจยกถา จบ ๓. อัทธากถา (๑๔๗) ว่าด้วยกาล [๗๒๐] สก. กาลเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. เป็นรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๙๖-๙๘/๕๗-๕๙ @๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘) @๓ เพราะมีความเห็นว่า กาลเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ (ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาที @ที่เห็นว่า กาลไม่จัดเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ เป็นเพียงคำบัญญัติเรียก แต่คำบัญญัติว่า รูป @เป็นต้นจัดเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๐-๗๒๑/๒๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๖๖}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๖๕-๗๖๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=164 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=16557&Z=16588 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1611 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1611&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6278 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1611&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6278 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv15.2/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]