ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
             [๒๑๗] สก. บุคคลอาศัยอะไรดำรงอยู่
             ปร. บุคคลอาศัยภพดำรงอยู่
@เชิงอรรถ :
@ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๘/๒๐๙
@ เพราะมีความเห็นว่า นิพพานเป็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งบุคคลหลังจากปรินิพพานแล้วจะไปอยู่ในที่นั้น
@(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๖/๑๕๗)
@ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นสัสสตทิฏฐิจึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๖/๑๕๗)
@ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นอุจเฉททิฏฐิจึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๖/๑๕๗)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. ภพ๑- ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๑๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนามีอยู่” มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากบุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา มีอยู่” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” [๒๑๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลบางคนเมื่อเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาจึง รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” มีอยู่มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากบุคคลบางคนเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา” มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” @เชิงอรรถ : @ ภพ ในที่นี้หมายถึงอุปปัตติภพ (ภพคือที่เกิด ได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๗/๑๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๒๒๐] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ที่เสวยสุขเวทนาอยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา” เท่านั้น จัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ที่เสวยสุขเวทนาอยู่แต่ไม่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา” นั้น ไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ที่เสวยทุกขเวทนาอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้ที่เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้เสวย อทุกขมสุขเวทนาอยู่แต่ไม่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” นั้นไม่จัดเป็น บุคคลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๒๑] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สุขเวทนากับบุคคลผู้เสวยสุขเวทนาอยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา” เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนากกับบุคคลผู้ที่เสวยอทุกขม- สุขเวทนาอยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๒๒๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากบุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึง ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” [๒๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลบางคนพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากบุคคลบางคนพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึง ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” [๒๒๔] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ไม่ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่นั้นไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ที่ไม่พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ ไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๒๒๕] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กายกับบุคคลผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนา ฯลฯ จิต ฯลฯ ธรรมกับบุคคลผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๒๖] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “โมฆราช เธอจงพิจารณาเห็นโลก๑- โดยความว่างเปล่า มีสติทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์” @เชิงอรรถ : @ โลก ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๖/๑๕๘) @ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๑๒๖/๗๗๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๘/๓๒๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๒๒๗] สก. บุคคลพิจารณาเห็น(โลก)ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พิจารณาเห็น(โลก)พร้อมกับรูปหรือเว้นจากรูป๑- ปร. พิจารณาเห็น(โลก)พร้อมกับรูป สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พิจารณาเห็น(โลก)พร้อมกับรูปหรือเว้นจากรูป ปร. พิจารณาเห็น(โลก)เว้นจากรูป สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๒๘] สก. บุคคลพิจารณาเห็น(โลก)ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อยู่ภายใน(รูป)พิจารณาเห็นหรือออกไปภายนอก(รูป)แล้วจึงพิจารณาเห็น ปร. อยู่ภายใน(รูป)พิจารณาเห็น สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อยู่ภายใน(รูป)พิจารณาเห็นหรือออกไปภายนอก(รูป)แล้วจึงพิจารณาเห็น ปร. ออกไปภายนอก(รูป)แล้วจึงพิจารณาเห็น สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ รูป ในที่นี้หมายถึงรูปกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๒๘/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๐๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๒๒๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที๑- กาลวาที๒- ภูตวาที๓- ตถวาที๔- อวิตถวาที๕- อนัญญถวาที๖- มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง๗- มีอยู่” มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ [๒๓๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที อนัญญถวาที มิใช่หรือ สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ สัจจวาที หมายถึงตรัสเรื่องจริงที่อิงอริยสัจ (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาอันเหมาะสม (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ ภูตวาที หมายถึงตรัสสภาวะที่เป็นจริง (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ ตถวาที หมายถึงตรัสตามที่ทรงกระทำมา (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ อวิตถวาที หมายถึงตรัสเรื่องที่ไม่คลาดเคลื่อน (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๗) @ อนัญญถวาที หมายถึงตรัสเรื่องจริงแท้ไม่เป็นอย่างอื่น (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๖-๖๗) @ ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๓/๒๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๐๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ [๒๓๑] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที อนัญญถวาที มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์” [๒๓๒] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที อนัญญถวาที มิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๑๗๐/๒๒ @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๕๖/๓๙๑-๓๙๒, สํ.ข. (แปล) ๑๗/๙๐/๑๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๐๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อริยสาวกไม่สงสัย ไม่เคลือบ แคลงใจว่า เมื่อเกิด ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น เมื่อดับ ทุกข์เท่านั้นดับไป อริยสาวกนั้นมี ญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย กัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จัดว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์” [๒๓๓] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วชิราภิกษุณีกล่าวกับมารผู้มีบาปดังนี้ว่า “มารเอ๋ย ทิฏฐิของเจ้าเชื่อใครหนอว่าเป็นสัตว์ ร่างกายที่เป็นกองแห่งสังขารล้วนๆ นี้ บัณฑิตจะเรียกว่าสัตว์ไม่ได้เลย เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สมมติว่าสัตว์ก็มีได้ เหมือนเสียงพูดว่ารถย่อมมีได้ เพราะการคุมกันแห่งส่วนประกอบ อนึ่ง ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นดำรงอยู่และแปรผันไป นอกจากทุกข์ไม่มีสิ่งอื่นเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรอื่นดับไปเลย”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๕/๒๔-๒๕ @ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๗๑/๒๒๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๘๖/๕๒๗-๕๒๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๐๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์” [๒๓๔] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเพียงไรเล่าหนอ จึงตรัสว่า ‘โลกว่าง’ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง ด้วยอัตตา ฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘โลกว่าง’ ก็อะไรเล่าชื่อว่าว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา คือ จักษุว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา รูปว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง ด้วยอัตตา ฯลฯ จักขุวิญญาณว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ จักขุสัมผัสว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา โสตะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ สัททะ ว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ ฆานะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ คันธะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ ชิวหาว่างจากอัตตาหรือ สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ รสว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ กายว่าง จากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ โผฏฐัพพะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง ด้วยอัตตา ฯลฯ มนะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ ธรรมารมณ์ว่าง จากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ มโนวิญญาณว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง ด้วยอัตตา ฯลฯ มโนสัมผัสว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ แม้ความ เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๐๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า โลกว่าง”๑- ดังนี้ มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์” [๒๓๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที อนัญญถวาที มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัตตามีอยู่ ความยึดถือว่า ‘สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของเราก็จะพึงมี’ ใช่ไหม ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า ‘ใช่ พระพุทธเจ้าข้า’ เมื่อสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตามีอยู่ ความยึดถือว่า ‘สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของเราก็จะ พึงมี’ ใช่ไหม ‘ใช่ พระพุทธเจ้าข้า’ เมื่อหาไม่พบอัตตาและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโดยความเป็นจริง โดยความแน่แท้ ทิฏฐิที่ว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้นตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความ แปรผันเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งที่คงที่อย่างนั้น’ นี้มิเป็นพาลธรรม (ธรรมของคนโง่) สมบูรณ์แบบละหรือ ‘ทำไมจะไม่เป็นอย่างนั้น นั้นเป็นพาลธรรมสมบูรณ์แบบทีเดียว๒- พระพุทธเจ้าข้า” ดังนี้ มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๕/๗๘ @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๔๔/๒๖๐-๒๖๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๐๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์” [๒๓๖] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที อนัญญถวาที มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เสนิยะ ศาสดา ๓ จำพวก เหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก ศาสดา ๓ จำพวกเหล่าไหน คือ ๑. ศาสดาบางคนในโลกนี้บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และบัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความ เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน ๒. ศาสดาบางคนในโลกนี้บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน แต่ไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้า โดยความ เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน ๓. ศาสดาบางคนในโลกนี้ไม่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของ มีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้า โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความ เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และบัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความเป็น ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน (วาทะ)นี้เรียกว่า สัสสตวาทะ (วาทะว่าอัตตา และโลกเที่ยง) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๐๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความ เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน แต่ไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความ เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน (วาทะ)นี้เรียกว่า อุจเฉทวาทะ (วาทะว่า อัตตาและโลกขาดสูญ) บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่ไม่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็น ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความเป็น ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน (วาทะ)นี้เรียกว่า สัมมาสัมพุทธะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แหละมีปรากฏอยู่ในโลก”๑- ดังนี้ มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์” [๒๓๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที อนัญญถวาที มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคเคยตรัสว่า “หม้อเนยใส” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ใครๆ ทำหม้อเนยใส๒- มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๓๑/๑๘๒ @ หม้อเนยใส สกวาทีชี้แจงว่า หม้อที่ทำด้วยเนยใสจริงๆ เช่น หม้อทองคำ นั้นไม่มี แต่นิยมเรียกหม้อใส่ @เนยใสว่า หม้อเนยใส (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๗/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๐๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา รวมประเด็นสำคัญในปุคคลกถา ๘ ประเด็น

สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์” [๒๓๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที อนัญญถวาที มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคเคยตรัสว่า หม้อน้ำมัน ฯลฯ หม้อน้ำผึ้ง ฯลฯ หม้อน้ำอ้อย ฯลฯ หม้อน้ำนม ฯลฯ หม้อน้ำ ฯลฯ ภาชนะน้ำดื่ม ฯลฯ กระบอกน้ำดื่ม ฯลฯ ขันน้ำดื่ม ฯลฯ นิตยภัต ฯลฯ ธุวยาคู (ยาคูเที่ยง) ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ยาคูบางอย่างเที่ยง ยั่งยืน คงทน ไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์” (ย่อ)
รวมประเด็นสำคัญในปุคคลกถา ๘ ประเด็น คือ
๑. อัฏฐกนิคคหะ ๒. เปยยาละ ๓. สันธาวนิยะ (คติอนุโยคะ) ๔. อุปาทายะ (อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ) ๕. จิตตะ ๖. กัลยาณะ (ปุริสการานุโยคะ) ๗. อิทธิ (อภิญญานุโยคะ) ๘. สุตตาหารณะ
ปุคคลกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๐๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๙๕-๑๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=20              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=1937&Z=2205                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=177              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=177&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3528              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=177&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3528                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.1/en/aung-rhysdavids#pts-cs1.1.228a



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :