ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๒. สุญญตากถา (๑๘๗)
ว่าด้วยความว่าง
[๘๓๒] สก. ความว่าง๑- นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. นิพพานที่ไม่มีนิมิต๔- ก็นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ความว่าง แปลมาจากศัพท์ว่า “สุญฺญตา” ซึ่งมีความหมาย ๒ อย่าง คือ (๑) อนัตตลักขณะ(ลักษณะ @ที่เป็นอนัตตา)ของขันธ์ทั้งหลาย (๒) นิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๒/๓๐๔) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๒/๓๐๔) @ เพราะมีความเห็นว่า ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์โดยไม่แยก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า @ความว่างที่เป็นอนัตตลักษณะของขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น จึงจะชื่อว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ได้ ส่วนความว่างที่ @เป็นนิพพานไม่ชื่อว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๒/๓๐๔) @ นิพพานที่ไม่มีนิมิต หมายถึงนิพพานที่ไม่มีนิมิตคือกิเลสทั้งปวง (ขุ.ป.อ. ๒/๒๐๙/๑๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]

๒. สุญญตากถา (๑๘๗)

สก. ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง๑- นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นิพพานที่ไม่มีนิมิต ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความว่าง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความว่าง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความว่าง นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สังขารขันธ์ไม่ใช่ไม่เที่ยง ไม่ใช่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ใช่อาศัยกันและกัน เกิดขึ้น ไม่ใช่มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สังขารขันธ์ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ สิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากสังขารขันธ์ไม่เที่ยง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่านก็ ไม่ควรยอมรับว่า “ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์” @เชิงอรรถ : @ นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง หมายถึงนิพพานที่ไม่มีที่ตั้งคือกิเลส (ขุ.ป.อ. ๒/๒๐๙/๑๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]

๒. สุญญตากถา (๑๘๗)

[๘๓๓] สก. ความว่างแห่งรูปขันธ์นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์นับเนื่องในรูปขันธ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความว่างแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์นับเนื่องในวิญญาณขันธ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในรูปขันธ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความว่างแห่งรูปขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในเวทนาขันธ์ ฯลฯ นับเนื่องในสัญญาขันธ์ ฯลฯ นับเนื่องในวิญญาณขันธ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความว่างแห่งวิญญาณขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๓๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๗๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]

๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)

ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้ว่างจาก อัตตาหรือจากสิ่งที่นับเนื่องด้วยอัตตา”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ความว่างจึงนับเนื่องในสังขารขันธ์
สุญญตากถา จบ
๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)
ว่าด้วยผลแห่งความเป็นสมณะ
[๘๓๕] สก. ผลแห่งความเป็นสมณะ๒- เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม ปร.๓- ใช่๔- สก. ผลแห่งความเป็นสมณะ เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผลแห่งความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพาน เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๖๙/๗๕ @ ผลแห่งความเป็นสมณะ ในที่นี้หมายถึงวิปากจิตแห่งอริยมรรคในมรรควิถีและในผลสมาบัติ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๕-๘๓๖/๓๐๕) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๕-๘๓๖/๓๐๕) @ เพราะมีความเห็นว่า การละกิเลสและความเกิดขึ้นแห่งผลจิตจัดเป็นผลแห่งความเป็นสมณะ ฉะนั้นจึงเป็น @สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๕-๘๓๖/๓๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๗๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๖๘-๘๗๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=205              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=18680&Z=18737                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1775              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1775&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6854              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1775&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6854                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv19.2/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :