ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๓. สัจจกถา (๕๕)
ว่าด้วยสัจจะ
[๔๕๒] สก. สัจจะ ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ที่ต้านทานมี ๔ อย่าง ที่เร้นมี ๔ อย่าง ที่พึ่งมี ๔ อย่าง ที่หมาย มี ๔ อย่าง ที่มั่นมี ๔ อย่าง อมตะมี ๔ อย่าง นิพพานมี ๔ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๒/๒๑๘) @ เพราะมีความเห็นว่า อริยสัจ ๔ เป็นสภาวธรรมที่เที่ยงแท้ ถาวร ไม่เป็นอย่างอื่น โดยถือตามพระพุทธพจน์ @ที่ว่า “สัจจะ ๔ เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ไม่เป็นอย่างอื่น อย่างไม่รอบคอบ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า @สัจจะ ๔ เป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๒/๒๑๘, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๙๐/๖๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๘๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๓. สัจจกถา (๕๕)

สก. นิพพานมี ๔ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นิพพานทั้ง ๔ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทุกข์เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ ความโศก ความคร่ำครวญ ความลำบากกาย ความลำบากใจ ความคับแค้นใจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สมุทัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๓. สัจจกถา (๕๕)

สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทุกข์เป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ ความโศก ความคร่ำครวญ ความลำบากกาย ความลำบากใจ ความคับแค้นใจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สมุทัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๓. สัจจกถา (๕๕)

สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๕๓] สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธก็เป็นสภาวธรรม ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ทุกข์ก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก ปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก ปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สมุทัยก็เป็นสภาวธรรมที่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก ปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มรรคก็เป็นสภาวธรรมที่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่ทุกข์เป็นสภาวธรรมที่ ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๓. สัจจกถา (๕๕)

สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่นิโรธเป็นสภาวธรรม ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่สมุทัยเป็นสภาวธรรม ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่นิโรธเป็นสภาวธรรม ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่มรรคเป็นสภาวธรรม ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่นิโรธเป็นสภาวธรรม ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๕๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัจจะ ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุง แต่ง” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ อย่างนี้ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น สัจจะ ๔ อย่างอะไรบ้าง คือ (๑) คำว่า นี้ทุกข์ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น (๒) คำว่า นี้สมุทัย ... (๓) คำว่า นี้ทุกขนิโรธ ... (๔) คำว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ อย่างนี้ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น สัจจะ ๔ จึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
สัจจกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๙๐/๖๐๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๘๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๘๑-๔๘๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=75              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=10581&Z=10678                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1090              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1090&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4907              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1090&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4907                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv6.3/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :