ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมานุโลม ทุกปัฏฐาน
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. เหตุโคจฉกะ
๑. เหตุทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ อโทสะ อโมหะอาศัยอโลภะเกิดขึ้น อโลภะ อโมหะอาศัยอโทสะเกิดขึ้น อโลภะ อโทสะอาศัยอโมหะเกิดขึ้น โมหะอาศัยโลภะเกิดขึ้น โลภะอาศัยโมหะเกิดขึ้น โมหะ อาศัยโทสะเกิดขึ้น โทสะอาศัยโมหะเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิ- ขณะ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะ เหตุปัจจัย ได้แก่ อโทสะ อโมหะ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยอโลภะ เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) โมหะ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยโลภะ เกิดขึ้น ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑. เหตุทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

[๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ หทัยวัตถุอาศัย ขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุอาศัยขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ เหตุอาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะ เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เหตุและจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ เหตุและจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ เหตุและสัมปยุตตขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น (๓) [๓] สภาวธรรมที่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ อโทสะ อโมหะอาศัยอโลภะและสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (พึง ผูกเป็นจักกนัย) โมหะอาศัยโลภะและสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น โมหะอาศัยโทสะและ สัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ อโทสะ อโมหะอาศัยอโลภะ และหทัยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นเหตุ และอาศัยเหตุเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ และ เหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ สัมปยุตตขันธ์อาศัยหทัยวัตถุ และเหตุเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็น เหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อโทสะ อโมหะ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นเหตุและอาศัยอโลภะเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อโทสะ อโมหะ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ และอโลภะเกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) ขันธ์ ๓ โมหะ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นเหตุและอาศัยโลภะเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ อโทสะ อโมหะ และสัมปยุตตขันธ์ อาศัยหทัยวัตถุและอโลภะเกิดขึ้น (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑. เหตุทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

อารัมมณปัจจัยเป็นต้น
[๔] สภาวธรรมที่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะอารัมมณ- ปัจจัย (เว้นรูปเสียแล้ว อรูปเท่านั้น มี ๙ วาระ) เพราะอธิปติปัจจัย (ไม่มีปฏิสนธิ บริบูรณ์แล้ว) ... อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัย มหาภูตรูปเกิดขึ้น (นี้เป็นข้อแตกต่างกัน) เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย (พึงเพิ่มมหาภูตรูปทั้งหมดจนถึงอสัญญสัตตพรหม) เพราะ อัญญมัญญปัจจัย เพราะนิสสยปัจจัย เพราะอุปนิสสยปัจจัย เพราะปุเรชาตปัจจัย เพราะอาเสวนปัจจัย (ทั้ง ๒ วาระ ไม่มีปฏิสนธิ) เพราะกัมมปัจจัย เพราะวิปาก- ปัจจัย (ย่อ) เพราะอวิคตปัจจัย
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
[๕] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ) อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะนเหตุ- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นเหตุซึ่งไม่มีเหตุ เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ หทัยวัตถุ อาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตต- พรหม ฯลฯ (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑. เหตุทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

สภาวธรรมที่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะอาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น (๒)
นอารัมมณปัจจัยเป็นต้น
[๗] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะนอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยเหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะนอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ มหาภูตรูปทั้งหมด ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะ นอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ เพราะนอธิปติปัจจัย (บริบูรณ์แล้ว) เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย เพราะนอัญญมัญญปัจจัย เพราะนอุปนิสสยปัจจัย
นปุเรชาตปัจจัย
[๘] สภาวธรรมที่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ อโทสะ อโมหะอาศัยอโลภะเกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) โมหะอาศัยโลภะเกิดขึ้น โลภะอาศัยโมหะเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ สัมปยุตตขันธ์อาศัยเหตุเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยเหตุ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะ นปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ อโทสะ อโมหะ และสัมปยุตตขันธ์ อาศัยอโลภะเกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) โมหะและสัมปยุตตขันธ์อาศัยโลภะเกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑. เหตุทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

[๙] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะนปุเร- ชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ เหตุอาศัยขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น เพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ และเหตุอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่ เป็นเหตุเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) [๑๐] สภาวธรรมที่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น เพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ อโทสะ อโมหะอาศัยอโลภะและ สัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) ในอรูปาวจรภูมิ โมหะอาศัยโลภะและ สัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะ นปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นเหตุ และอาศัยเหตุเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่ไม่ เป็นเหตุและอาศัยเหตุเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยเหตุและมหาภูตรูปเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็น เหตุเกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อโทสะและอโมหะ อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นเหตุและอาศัยอโลภะเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (พึงผูกเป็นจักกนัย) ขันธ์ ๓ และโมหะอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นเหตุและอาศัยโลภะ เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓)
นปัจฉาชาตปัจจัยเป็นต้น
[๑๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะนปัจฉาชาต- ปัจจัย เพราะนอาเสวนปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑. เหตุทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

นกัมมปัจจัยเป็นต้น
[๑๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะนกัมม- ปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตเจตนาอาศัยเหตุเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตเจตนาอาศัยขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มี อาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะ นกัมมปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตเจตนาอาศัยเหตุและสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น สภาวธรรมที่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ (๑)
นอาหารปัจจัยเป็นต้น
[๑๓] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะ นอาหารปัจจัย ได้แก่ ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่า อสัญญสัตตพรหม ฯลฯ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... เพราะนอินทรียปัจจัย ได้แก่ ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น สำหรับเหล่าอสัญญสัตต- พรหม รูปชีวิตินทรีย์อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้นเพราะนฌานปัจจัย ได้แก่ ปัญจ วิญญาณ ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ เพราะนมัคคปัจจัย ได้แก่ ... อาศัย ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นเหตุ ซึ่งไม่มีเหตุ ฯลฯ ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ เพราะนสัมปยุตต- ปัจจัย เพราะนวิปปยุตตปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับนปุเรชาตปัจจัย มีวาระในอรูป เท่านั้น) เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑. เหตุทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๔] นเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑. เหตุทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๑๕] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๙ วาระ นอนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ ฯลฯ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๙ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๙ วาระ นอาเสวนปัจจัย ” มี ๙ วาระ นกัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ นวิปากปัจจัย ” มี ๙ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๙ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๑๖] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ อนันตรปัจจัย ” มี ๒ วาระ ฯลฯ กัมมปัจจัย ” มี ๒ วาระ วิปากปัจจัย ” มี ๑ วาระ อาหารปัจจัย ” มี ๒ วาระ อินทรียปัจจัย ” มี ๒ วาระ ฌานปัจจัย ” มี ๒ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑. เหตุทุกะ ๗. ปัญหาวาร

มัคคปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ ฯลฯ อวิคตปัจจัย ” มี ๒ วาระ
ปัจจนียานุโลม จบ
(สหชาตวาร ปัจจยวาร และนิสสยวาร มีวาระเหมือนกับปฏิจจวารนั่นเอง เมื่อจบมหาภูตรูปแล้ว พึงเพิ่มคำว่า “ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัย” พึงเพิ่มให้เหมือน กับอายตนะ ๕ ที่ได้ทั้งในอนุโลมและปัจจนียะ สังสัฏฐวารและสัมปยุตตวาร บริบูรณ์แล้ว รูปไม่มี มีแต่อรูปอย่างเดียว)


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๒ หน้าที่ ๑-๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=42&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=42&A=1&Z=226                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=1              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=42&item=1&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=12774              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=42&item=1&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=12774                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu42



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :