ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

เสนาสนคาหาปกสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ
[๓๑๗] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ใครจะพึงจัดแจงให้ภิกษุถือ เสนาสนะ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ ๕ อย่างเป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะ คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. รู้จักเสนาสนะที่ให้ภิกษุถือและเสนาสนะที่ยังมิได้ให้ภิกษุถือ
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ในเบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ภิกษุผู้ฉลาด สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วสงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุชื่อ นี้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ ถือเสนาสนะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือ เสนาสนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เรื่องวิธีการให้ถือเสนาสนะเป็นต้น
[๓๑๘] ครั้งนั้น ภิกษุเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะทั้งหลายปรึกษากันดังนี้ ว่า “พวกเราจะให้ภิกษุถือเสนาสนะอย่างไรหนอ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๓๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นับภิกษุทั้งหลายก่อน ครั้นนับภิกษุทั้งหลายแล้วจึงนับที่นอน แล้วจึงให้ถือตามจำนวนที่นอน” เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่ทั้งหลายให้ถือตามจำนวนที่นอน ที่นอนเหลือมาก ฯลฯ พระ ผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือตามจำนวนวิหาร” เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่ทั้งหลายให้ถือตามจำนวนวิหาร วิหารก็ยังเหลือมาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือตามจำนวนบริเวณ” เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่ทั้งหลายให้ถือตามจำนวนบริเวณ บริเวณก็ยังเหลือมาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เพิ่มให้อีก เมื่อภิกษุรับส่วน เพิ่มไปแล้ว ภิกษุอื่นมา เมื่อไม่ปรารถนา(จะให้)ก็ไม่ต้องให้” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุที่อยู่นอกสีมาถือ เสนาสนะ รูปใดให้ถือ ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะแล้วหวงไว้ตลอดเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถือเสนาสนะแล้วหวงไว้ ตลอดเวลา รูปใดหวงไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หวงไว้ได้ ตลอด ๓ เดือนฤดูฝน แต่จะหวงไว้ตลอดฤดูไม่ได้”
เรื่องให้ถือเสนาสนะ ๓ อย่าง
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “การให้ถือเสนาสนะมีกี่อย่าง” ภิกษุ ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย การให้ถือเสนาสนะมี ๓ อย่าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๓๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

๑. ให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น ๒. ให้ถือในวันเข้าพรรษาหลัง ๓. ให้ถือในระหว่างพ้นจากระยะนั้น เสนาสนะที่จะให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น พึงให้ถือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เสนาสนะที่จะให้ถือในวันเข้าพรรษาหลัง พึงให้ถือในเมื่อเดือน ๘ ล่วงไป ๑ เดือน (เดือน ๙) เสนาสนะที่จะให้ถือในระหว่างพ้นจากระยะนั้น พึงให้ถือในวันถัดจากวัน ปวารณา คือ วันแรม ๑ ค่ำ เพื่ออยู่จำพรรษาต่อไป ภิกษุทั้งหลาย การให้ถือ เสนาสนะมี ๓ อย่างนี้”
ทุติยภาณวาร จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=37              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=2414&Z=2463                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=277              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=277&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=7430              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=277&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=7430                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/brahmali#pli-tv-kd16:11.2.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#Kd.16.11.2



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :