บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๓. โวหารวรรค
๓. โวหารวรรค หมวดว่าด้วยการใช้โวหาร ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ [๔๒๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ควร พูดในสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ ๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ๑- ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ ๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์ภิกษุควรพูดในสงฆ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ ๓. รู้ประโยคอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ ๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์ @เชิงอรรถ : @๑ ไม่รู้ประโยคอาบัติ คือไม่รู้ว่า อาบัตินี้เกิดจากความพยายามทางกาย อาบัตินี้เกิดจากความพยายามทาง @วาจา (วิ.อ. ๓/๔๒๔/๕๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๐๑}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๓. โวหารวรรค
๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์ ๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์ภิกษุควรพูดในสงฆ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์ ๓. รู้ประโยคอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์ ๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. กล่าวข่มขู่ ๒. กล่าวไม่ให้โอกาสผู้อื่น ๓. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๔. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์ภิกษุควรพูดในสงฆ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่กล่าวข่มขู่ ๒. กล่าวให้โอกาสผู้อื่น ๓. โจทตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๐๒}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๓. โวหารวรรค
๔. ปรับตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร ๕. ชี้แจงตามความเห็น อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์ภิกษุควรพูดในสงฆ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้กรรม ๒. ไม่รู้การทำกรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๐๓}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๓. โวหารวรรค
๓. ไม่รู้วัตถุของกรรม ๔. ไม่รู้วัตรของกรรม ๕. ไม่รู้ความระงับกรรม อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์ภิกษุควรพูดในสงฆ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. รู้กรรม ๒. รู้การทำกรรม ๓. รู้วัตถุของกรรม ๔. รู้วัตรของกรรม ๕. รู้ความระงับกรรม อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน ๓. ไม่รู้บัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง ๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์ภิกษุควรพูดในสงฆ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน ๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง ๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๐๔}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๓. โวหารวรรค
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ๕. เป็นอลัชชี อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์ภิกษุควรพูดในสงฆ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. เป็นลัชชี อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ๕. ไม่ฉลาดในพระวินัย อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์ภิกษุควรพูดในสงฆ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. ฉลาดในพระวินัย อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๐๕}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๓. โวหารวรรค
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้ญัตติ ๒. ไม่รู้การทำญัตติ ๓. ไม่รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ ๔. ไม่รู้สมถะแห่งญัตติ ๕. ไม่รู้ความระงับแห่งญัตติ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์ภิกษุควรพูดในสงฆ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. รู้ญัตติ ๒. รู้การทำญัตติ ๓. รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ ๔. รู้สมถะแห่งญัตติ ๕. รู้ความระงับแห่งญัตติ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้พระสูตร ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระสูตร ๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย ๕. ไม่ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์ภิกษุควรพูดในสงฆ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. รู้พระสูตร ๒. รู้ข้ออนุโลมพระสูตร ๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย ๕. ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๐๖}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้พระธรรม ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระธรรม ๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย ๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์ภิกษุควรพูดในสงฆ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ ๑. รู้พระธรรม ๒. รู้ข้ออนุโลมพระธรรม ๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย ๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์โวหารวรรคที่ ๓ จบ หัวข้อประจำวรรค ภิกษุไม่รู้อาบัติ ไม่รู้อธิกรณ์ กล่าวข่มขู่ ไม่ควรพูดในสงฆ์ ภิกษุรู้อาบัติ กรรม วัตถุ ควรพูดในสงฆ์ ภิกษุเป็นอลัชชี ไม่ฉลาดในญัตติ ไม่รู้พระสูตร ไม่รู้พระธรรมไม่ควรพูดในสงฆ์ จัดเป็นวรรคที่ ๓ แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๐๗}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๖๐๑-๖๐๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=108 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=10792&Z=10984 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1170 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1170&items=2 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1170&items=2 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/brahmali#pli-tv-pvr17:39.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/horner-brahmali#Prv.17.3
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]