ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
๕. ปาจิตติยกัณฑ์
จำนวนอาบัติในปาจิตติยกัณฑ์
๑. มุสาวาทวรรค
๑. มุสาวาทสิกขาบท
[๑๖๕] ถาม : ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ ๑. ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริ- มนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก ๒. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๓. ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่านภิกษุรูปนั้นเป็นพระ อรหันต์” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๓๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค

๔. เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ๕. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
๒. โอมสวาทสิกขาบท
ภิกษุกล่าวเสียดสี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กล่าวเสียดสีอุปสัมบัน(ภิกษุ) ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๒. กล่าวเสียดสีอนุปสัมบัน(ผู้มิใช่ภิกษุ) ต้องอาบัติทุกกฏ
๓. เปสุญญสิกขาบท
ภิกษุกล่าวส่อเสียด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กล่าวส่อเสียดอุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๒. กล่าวส่อเสียดอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๔. ปทโสธัมมสิกขาบท
ภิกษุสอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบทๆ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังสอนให้กล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ บท
๕. สหเสยยสิกขาบท
ภิกษุนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน เกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังนอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อนอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท
ภิกษุนอนร่วมกันกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๓๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค

๑. กำลังนอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อนอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท
ภิกษุแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ บท
๘. ภูตาโรจนสิกขาบท
ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังบอก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อบอกแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท
ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังบอก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อบอกแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท
ภิกษุขุดดิน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังขุด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คราวที่ขุด
มุสาวาทวรรคที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๓๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค

๒. ภูตคามวรรค
๑. ภูตคามสิกขาบท
[๑๖๖] ภิกษุพรากภูตคาม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังพราก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คราวที่พราก
๒. อัญญวาทกสิกขาบท
ภิกษุนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. เมื่อสงฆ์ยังไม่ลงอัญญวาทกกรรม(กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้พูด กลบเกลื่อน) นำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. เมื่อสงฆ์ลงอัญญวาทกกรรมแล้ว นำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. อุชฌาปนกสิกขาบท
ภิกษุกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังกล่าวให้เพ่งโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อกล่าวให้เพ่งโทษแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท
ภิกษุวางเตียง ตั่ง ฟูก หรือเก้าอี้ของสงฆ์ในที่กลางแจ้งแล้ว เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ ไม่บอกมอบหมาย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. เดินล่วงเลฑฑุบาต๑- ไป ๑ ก้าว ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. เดินล่วงเลฑฑุบาตไป ๒ ก้าว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ เลฑฑุบาต เท่ากับระยะโยนหรือขว้างก้อนดินไปตก(ดู วิสุทฺธิ. ๑/๓๑/๗๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๓๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค

๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท
ภิกษุปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้ว เมื่อจะจากไปไม่เก็บ ไม่บอกมอบหมาย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. เดินล่วงเลยเครื่องล้อมไป ๑ ก้าว ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. เดินล่วงเลยเครื่องล้อมไป ๒ ก้าว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. อนุปขัชชสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ เข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เข้าไปอยู่ในวิหารของสงฆ์ก่อน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังนอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อนอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท
ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังฉุดลาก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อฉุดลากออกไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท
ภิกษุนั่งบนเตียงหรือบนตั่งอันมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๙. มหัลลกวิหารสิกขาบท
ภิกษุดำเนินการมุงหลังคา(วิหาร) ๒-๓ ชั้น แล้วดำเนินการเกินกว่านั้น ต้อง อาบัติ ๒ อย่าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๓๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค

๑. กำลังดำเนินการ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อดำเนินการแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๐. สัปปาณกสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต รดหญ้าหรือดิน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังรด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อรดแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภูตคามวรรคที่ ๒ จบ
๓. โอวาทวรรค
๑. โอวาทสิกขาบท
[๑๖๗] ภิกษุไม่ได้รับแต่งตั้ง สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังสั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อสั่งสอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. อัตถังคตสิกขาบท
ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายในเวลาที่ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังสั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อสั่งสอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท
ภิกษุเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังสั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อสั่งสอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๓๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค

๔. อามิสสิกขาบท
ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุ(ผู้เถระ)ทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเพราะเห็นแก่อามิส” ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อกล่าวแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. จีวรทานสิกขาบท
ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. จีวรสิพพนสิกขาบท
ภิกษุเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังเย็บ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในทุกๆ รอยเข็ม
๗. สังวิธานสิกขาบท
ภิกษุชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อเดินทางไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท
ภิกษุชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังโดยสาร ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อโดยสารไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๔๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค

๙. ปริปาจิตสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในทุกๆ คำกลืน
๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท
ภิกษุนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
โอวาทวรรคที่ ๓ จบ
๔. โภชนวรรค
๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท
[๑๖๘] ภิกษุฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่าหนึ่งมื้อ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน
๒. คณโภชนสิกขาบท
ภิกษุฉันคณโภชนะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน
๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท
ภิกษุฉันปรัมปรโภชนะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๔๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค

๔. กาณมาตุสิกขาบท
ภิกษุรับขนมเต็ม ๒-๓ บาตร แล้วรับเกินกว่านั้น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังรับ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อรับแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท
ภิกษุฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉันที่ไม่เป็นเดน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน
๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท
ภิกษุนำของเคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดนไปปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จแล้ว บอก ห้ามภัตตาหารแล้ว ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. ภิกษุรับไว้ตามคำของภิกษุนั้นด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ภิกษุ ผู้นำไปต้องอาบัติทุกกฏ ๒. เมื่อภิกษุผู้รับนั้นฉันเสร็จ ภิกษุผู้นำไปปวารณา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. วิกาลโภชนสิกขาบท
ภิกษุเคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉันในเวลาวิกาล ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน
๘. สันนิธิการกสิกขาบท
ภิกษุเคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉันที่เก็บสะสมไว้ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๔๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค

๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน
๙. ปณีตโภชนสิกขาบท
ภิกษุออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน
๑๐. ทันตโปนสิกขาบท
ภิกษุกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน
โภชนวรรคที่ ๔ จบ
๕. อเจลกวรรค
๑. อเจลกสิกขาบท
[๑๖๙] ภิกษุให้ของเคี้ยวหรือของฉันแก่อเจลกปริพาชก หรือปริพาชิกาด้วย มือตน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. อุยโยชนสิกขาบท
ภิกษุผู้กล่าวชักชวนภิกษุว่า “ท่านจงมาเถิด พวกเราจะเข้าไปบิณฑบาตในหมู่ บ้าน หรือในนิคม” แล้วให้ทายกถวายหรือไม่ให้ทายกถวายแก่ภิกษุนั้นแล้วนิมนต์กลับ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๔๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค

๑. กำลังนิมนต์กลับ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อนิมนต์กลับแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. สโภชนสิกขาบท
ภิกษุเข้าไปนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน ๒ คน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. รโหปฏิจฉันนสิกขาบท
ภิกษุนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. รโหนิสัชชสิกขาบท
ภิกษุนั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. จาริตตสิกขาบท
ภิกษุรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่เที่ยวสัญจรไป ในตระกูลทั้งหลาย ก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หรือหลังเวลาฉันภัตตาหาร ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. ก้าวเท้าที่ ๑ ล่วงธรณีประตู ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ก้าวเท้าที่ ๒ ล่วง(ธรณีประตู) ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. มหานามสิกขาบท
ภิกษุออกปากขอเภสัชเกินกว่ากำหนด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๔๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราเมรยวรรค

๑. กำลังออกปากขอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อออกปากขอแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท
ภิกษุไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังไป ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๙. เสนาวาสสิกขาบท
ภิกษุพักแรมอยู่ในกองทัพเกินกว่า ๓ คืน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังพักแรมอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อพักแรมอยู่แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท
ภิกษุเที่ยวไปสู่สนามรบ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังเที่ยวไป ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อเจลกวรรคที่ ๕ จบ
๖. สุราเมรยวรรค
๑. สุราปานสิกขาบท
[๑๗๐] ภิกษุดื่มน้ำเมา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะดื่ม” ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คราวที่ดื่มเข้าไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๔๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราเมรยวรรค

๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท
ภิกษุใช้นิ้วมือจี้ภิกษุให้หัวเราะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังจี้ให้หัวเราะ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อให้หัวเราะแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. หัสสธัมมสิกขาบท
ภิกษุเล่นน้ำ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. เล่นในน้ำตื้นใต้ข้อเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. เล่นในน้ำลึกพอท่วมข้อเท้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. อนาทริยสิกขาบท
ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อไม่เอื้อเฟื้อแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. ภิงสาปนสิกขาบท
ภิกษุทำให้ภิกษุตกใจ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังทำให้ตกใจ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อทำให้ตกใจแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. โชติกสิกขาบท
ภิกษุก่อไฟผิง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังก่อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อก่อเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. นหานสิกขาบท
ภิกษุยังไม่ถึงครึ่งเดือนอาบน้ำ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๔๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค

๑. กำลังอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่ออาบเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท
ภิกษุไม่ใช้วัตถุที่ทำให้สีเสีย ๓ ชนิดอย่างใดอย่างหนึ่งมาทำให้เสียสี แล้วใช้สอย จีวรใหม่ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อใช้สอยแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๙. วิกัปปนสิกขาบท
ภิกษุวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุ หรือแก่ภิกษุณี หรือแก่สิกขมานา หรือแก่ สามเณร หรือแก่สามเณรี แล้วใช้สอยจีวรที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อใช้สอยแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท
ภิกษุเอาบาตรหรือจีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม หรือประคดเอวของภิกษุไปซ่อน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังเอาไปซ่อน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อเอาไปซ่อนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สุราเมรยวรรคที่ ๖ จบ
๗. สัปปาณกวรรค
๑. สัญจิจจสิกขาบท
[๑๗๑] ถาม : ภิกษุจงใจปลงชีวิตสัตว์ ต้องอาบัติเท่าไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๔๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค

ตอบ : ภิกษุจงใจปลงชีวิตสัตว์ ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ ๑. ขุดหลุมพรางไว้ไม่เจาะจงด้วยคิดว่า “ใครก็ได้จะตกลงไปตาย” ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒. มนุษย์ตกลงไปตายในหลุมนั้น ต้องอาบัติปาราชิก ๓. ยักษ์ เปรต หรือสัตว์ดิรัจฉานมีกายเป็นมนุษย์๑- ตกลงไปตายในหลุมนั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๔. สัตว์ดิรัจฉานตกลงไปตายในหลุมนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุจงใจปลงชีวิตสัตว์ ต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้
๒. สัปปาณกสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ว่าน้ำมีสัตว์มีชีวิต ก็ยังบริโภค ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อบริโภคแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. อุกโกฏนสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินไปแล้วอย่างถูกต้อง เพื่อพิจารณาใหม่ ต้อง อาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังรื้อฟื้น ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อรื้อฟื้นเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ ปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงสัตว์ดิรัจฉาน เช่น นาคและครุฑแปลงร่างเป็นมนุษย์ (สารตฺถ.ฏีกา ๒/๑๗๖/๓๒๖, กงฺขา.ฏีกา ๒๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๔๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค

๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ อุปสมบทให้บุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่ออุปสมบทเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. เถยยสัตถสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับกลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ต้อง อาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อเดินทางไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. สังวิธานสิกขาบท
ภิกษุชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อเดินทางไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. อริฏฐสิกขาบท
ภิกษุไม่สละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. จบกรรมวาจา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ยังคบหาภิกษุผู้กล่าวตู่อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำธรรมอันสมควร ผู้ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังคบหา ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อคบหาแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๔๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค

๑๐. กัณฏกสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ ปลอบโยนสมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังปลอบโยน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อปลอบโยนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สัปปาณกวรรคที่ ๗ จบ
๘. สหธัมมิกวรรค
๑. สหธัมมิกสิกขาบท
[๑๗๒] ภิกษุผู้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่โดยชอบธรรม กลับกล่าว ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้สอบถามภิกษุ รูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นวินัยธร” ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อกล่าวแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. วิเลขนสิกขาบท
ภิกษุดูหมิ่นพระวินัย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังดูหมิ่น ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อดูหมิ่นแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. โมหนสิกขาบท
ภิกษุแสร้งทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับ ทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติ ทุกกฏ ๒. เมื่อสงฆ์ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับแล้ว ทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๕๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค

๔. ปหารสิกขาบท
ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ ทำร้ายภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังทำร้าย ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อทำร้ายแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. ตลสัตติกสิกขาบท
ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังเงื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อเงื้อแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. อมูลกสิกขาบท
ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังใส่ความ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อใส่ความแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. สัญจิจจสิกขาบท
ภิกษุจงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังก่อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อก่อแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. อุปัสสุติสิกขาบท
ภิกษุยืนแอบฟังพวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. เดินไปด้วยตั้งใจว่า “จะฟัง” ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ยืนอยู่ในที่ที่จะได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๕๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค

๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท
ภิกษุให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้ว กลับติเตียนในภายหลัง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อติเตียนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท
ภิกษุเมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. เมื่อกำลังจะละหัตถบาสที่ชุมนุมสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. เมื่อละหัตถบาสไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๑. ทัพพสิกขาบท
ภิกษุร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรไปแล้วกลับติเตียนในภายหลัง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อติเตียนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๒. ปริณามนสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ไปเพื่อบุคคล ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังน้อมไป ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อน้อมไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สหธัมมิกวรรคที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๕๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค

๙. ราชวรรค
๑. อันเตปุรสิกขาบท
[๑๗๓] ภิกษุไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า เข้าเขตพระราชฐานชั้นใน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. ก้าวเท้าที่ ๑ ล่วงธรณีประตู ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ก้าวเท้าที่ ๒ ล่วงธรณีประตู ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. รตนสิกขาบท
ภิกษุเก็บรัตนะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังเก็บ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อเก็บแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท
ภิกษุไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว เข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล๑- ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. ยกเท้าแรกก้าวเข้าเขตรั้วล้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ยกเท้าที่ ๒ ก้าวเลยเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. สูจิฆรสิกขาบท
ภิกษุทำกล่องเข็มด้วยกระดูก ด้วยงา หรือด้วยเขา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ เวลาวิกาล ในที่นี้ประสงค์เอาตั้งแต่เที่ยงวันจนถึงอรุณขึ้น (วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๑๓/๖๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๕๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค

๕. มัญจปีฐสิกขาบท
ภิกษุให้ทำเตียงหรือตั่งเกินขนาด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. ตูโลนัทธสิกขาบท
ภิกษุให้ทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. นิสีทนสิกขาบท
ภิกษุให้ทำผ้ารองนั่งเกินขนาด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท
ภิกษุให้ทำผ้าปิดฝีเกินขนาด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท
ภิกษุให้ทำผ้าอาบน้ำฝนเกินขนาด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๐. นันทสิกขาบท
ถาม : ภิกษุให้ทำจีวรเท่ากับสุคตจีวร ต้องอาบัติเท่าไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๕๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์

ตอบ : ภิกษุให้ทำจีวรเท่ากับสุคตจีวร ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม ๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุให้ทำจีวรเท่ากับสุคตจีวร ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้
ราชวรรคที่ ๙ จบ
ขุททกสิกขาบท จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๑๓๔-๑๕๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=27              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=2658&Z=2891                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=291              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=291&items=92              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=291&items=92                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.2/en/brahmali#pli-tv-pvr1.2:53.0.1 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.2/en/horner-brahmali#Prv.1.2:Bu-Pc.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :