บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๑๐. ทสกวาร ว่าด้วยหมวด ๑๐ [๓๓๐] อาฆาตวัตถุมี ๑๐ อุบายกำจัดอาฆาตวัตถุมี ๑๐ วินีตวัตถุมี ๑๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ สัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมี ๑๐ มิจฉัตตะ มี ๑๐ สัมมัตตะมี ๑๐ อกุศลกรรมบถมี ๑๐ กุศลกรรมบถมี ๑๐ จับสลาก ไม่ชอบธรรมมี ๑๐ จับสลากชอบธรรมมี ๑๐ สิกขาบทสำหรับสามเณรมี ๑๐ สามเณรประกอบด้วงองค์ ๑๐ พึงให้นาสนะว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ ๑. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๒. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๓. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ทั้งไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น แล้วปรับอาบัติ ๔. ปรับอาบัติโดยไม่ชอบธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๘๙}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๑๐. ทสกวาร
๕. ปรับอาบัติไม่ตามปฏิญญา ๖. ไม่รู้อาบัติ ๗. ไม่รู้มูลของอาบัติ ๘. ไม่รู้เหตุเกิดอาบัติ ๙. ไม่รู้การระงับอาบัติ ๑๐. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอาบัติ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ ๑. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๒. กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๓. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ทั้งกำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น แล้วปรับอาบัติ ๔. ปรับอาบัติตามธรรม ๕. ปรับอาบัติตามปฏิญญา ๖. รู้อาบัติ ๗. รู้มูลของอาบัติ ๘. รู้เหตุเกิดอาบัติ ๙. รู้การระงับอาบัติ ๑๐. รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอาบัติ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ แม้อีกอย่าง ก็นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ ๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้มูลของอธิกรณ์ ๓. ไม่รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้การระงับอธิกรณ์ ๕. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอธิกรณ์ ๖. ไม่รู้วัตถุ ๗. ไม่รู้เหตุเค้ามูล ๘. ไม่รู้บัญญัติ ๙. ไม่รู้อนุบัญญัติ ๑๐. ไม่รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ ๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้มูลของอธิกรณ์ ๓. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. รู้การระงับอธิกรณ์ ๕. รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอธิกรณ์ ๖. รู้วัตถุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๙๐}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๑๐. ทสกวาร
๗. รู้เหตุเค้ามูล ๘. รู้บัญญัติ ๙. รู้อนุบัญญัติ ๑๐. รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ ก็นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ ๑. ไม่รู้ญัตติ ๒. ไม่รู้การตั้งญัตติ ๓. ไม่ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ไม่ฉลาดในเบื้องปลาย ๕. ไม่รู้กาล ๖. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๗. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๙. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑๐. ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ด้วยดี พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ ๑. รู้ญัตติ ๒. รู้การตั้งญัตติ ๓. ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ฉลาดในเบื้องปลาย ๕. รู้กาล ๖. รู้อาบัติและอนาบัติ ๗. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๙. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑๐. ยึดถือ ใส่ใจ ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ด้วยดี พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ ก็นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ ๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารไม่ดี จำแนกไม่ดี ไม่คล่องแคล่ว วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะไม่ดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๙๑}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๑๐. ทสกวาร
๖. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๗. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๙. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑๐. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ ๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี ๖. รู้อาบัติและอนาบัติ ๗. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๙. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑๐. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ว่าด้วยอุพพาหิกาสมมติ๑- เป็นต้น ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๑๐ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกาวิธี พระตถาคตทรง อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย การเข้าไปสู่ภายในพระราชฐานมีโทษ ๑๐ ทานวัตถุมี ๑๐ รัตนะมี ๑๐ ภิกษุสงฆ์มี @เชิงอรรถ : @๑ วิธีระงับวิวาทาธิกรณ์ในกรณีที่ประชุมสงฆ์มีความไม่สะดวก สงฆ์จึงเลือกภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้น ตั้งเป็น @คณะแล้วมอบเรื่องให้นำเอาไปวินิจฉัย (ทำนองตั้งคณะกรรมการพิเศษ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๙๒}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
หัวข้อประจำวาร
พวก ๑๐ คณะสงฆ์มีพวก ๑๐ พึงให้อุปสมบท ผ้าบังสุกุลมี ๑๐ จีวรสำหรับใช้สอย มี ๑๐ ทรงอติเรกจีวร ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง น้ำอสุจิมี ๑๐ สตรีมี ๑๐ ภรรยามี ๑๐ ภิกษุในพระนครเวสาลีแสดงวัตถุ ๑๐ บุคคลไม่ควรไหว้มี ๑๐ เรื่องสำหรับด่ามี ๑๐ ส่อเสียดด้วยอาการ ๑๐ เสนาสนะมี ๑๐ ขอพร ๑๐ ประการ งดปาติโมกข์ไม่ชอบ ธรรมมี ๑๐ งดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๑๐ ยาคูมีอานิสงส์ ๑๐ เนื้อที่ไม่ควรมี ๑๐ สิกขาบทว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๑๐ ภิกษุมีพรรษาสิบ ฉลาด สามารถ ควรให้บรรพชา อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรใช้สามเณรอุปัฏฐาก ภิกษุณีมีพรรษาสิบ ฉลาด สามารถ ควรให้บรรพชา อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรใช้สามเณรีอุปัฏฐาก ภิกษุณีมีพรรษาสิบ ฉลาด สามารถ พึงยินดีการสมมติการให้บวช ภิกษุณีมีพรรษาสิบ ควรให้สิกขาแก่ สตรีที่มีครอบครัวทสกวาร จบ หัวข้อประจำวาร อาฆาตวัตถุ อุบายกำจัด วินีตวัตถุ มิจฉาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ มิจฉัตตะ สัมมัตตะ อกุศลกรรมบถ กุศลกรรมบถ จับสลากชอบธรรม จับสลากไม่ชอบธรรม สิกขาบทของสามเณร สามเณรที่พึงให้นาสนะ ถ้อยคำ อธิกรณ์ ญัตติ อาบัติเบา อาบัติเบาอีก อาบัติหนัก จงรู้ฝ่ายดำฝ่ายขาวเหล่านี้ไว้ อุพพาหิกสมมติ สิกขาบทว่าด้วยการเข้าไปภายในพระราชฐาน ทานวัตถุ รัตนะ คณะสงฆ์มีพวก ๑๐ คณะสงฆ์มีพวก ๑๐ ให้อุปสมบท ผ้าบังสุกุล จีวรสำหรับใช้สอย ทรงอติเรก ๑๐ วัน น้ำอสุจิ สตรี ภรรยา วัตถุ ๑๐ บุคคลไม่ควรไหว้ เรื่องสำหรับด่า การส่อเสียด เสนาสนะ ขอพร การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม การงดปาติโมกข์ชอบธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๙๓}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]
๑๑. เอกาทสกวาร
ยาคู มังสะ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง ภิกษุ ภิกษุณี ให้อุปสมบทสตรีที่มีครอบครัว หมวดสิบ พระผู้มีพระภาคทรงประกาศไว้ดีแล้วแลเนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๔๘๙-๔๙๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=85 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=8487&Z=8558 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1000 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1000&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=10729 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1000&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=10729 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/brahmali#pli-tv-pvr7:126.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/horner-brahmali#Prv.7.10.1
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]