ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติปาราชิก เป็นต้น
วิเคราะห์ปาราชิก
[๓๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาราชิก ตามลำดับ บุคคลเป็นผู้เคลื่อน ผิด พลาด และเหินห่างจากสัทธรรมทั้งหลาย อนึ่ง แม้สังวาสก็ไม่มีในบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า อาบัติปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๑๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ

วิเคราะห์สังฆาทิเสส
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าสังฆาทิเสส ตามลำดับ สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภาน เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า อาบัติสังฆาทิเสส
วิเคราะห์อนิยต
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าอนิยต ตามลำดับ กองอาบัติชื่อว่าอนิยต เพราะไม่แน่ ข้อที่เราบัญญัติไว้แล้วโดยมิใช่ส่วนเดียว ในฐานะทั้ง ๓ ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า อนิยต
วิเคราะห์ถุลลัจจัย
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าถุลลัจจัย ตามลำดับ ภิกษุใดแสดงในภิกษุรูปเดียว และภิกษุรูปใดรับโทษนั้น โทษเสมอด้วยโทษนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย
วิเคราะห์นิสสัคคีย์
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่านิสสัคคีย์ ตามลำดับ ภิกษุยอมสละและแสดงข้อละเมิดใดพร้อมกันในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ และในสำนักภิกษุหนึ่ง เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อละเมิดนั้นว่า นิสสัคคีย์
วิเคราะห์ปาจิตตีย์
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาจิตตีย์ ตามลำดับ ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตกไป ทำอริยมรรคให้เสียไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๑๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ

เป็นเหตุทำให้จิตลุ่มหลง เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกความละเมิดนั้นว่า ปาจิตตีย์
วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาฏิเทสนียะ ตามลำดับ ภิกษุไม่มีญาติ หาโภชนะมาได้ยาก รับมาเองแล้วฉัน เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ภิกษุณีบงการอยู่ในสถานที่นิมนต์นั้น ตามความพอใจ ภิกษุไม่ห้ามแต่กลับฉันอยู่ในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน ภิกษุไม่อาพาธ ไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์น้อย ผู้ไม่ร่ำรวยแล้วฉันในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน ภิกษุอยู่ในป่าที่น่าหวาดระแวงมีภัยน่ากลัว ฉันอาหารที่เขา ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อน ในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน ภิกษุณีไม่มีญาติ ขอโภชนะที่ผู้อื่นยึดถือว่าเป็นของเรา คือ เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมเปรี้ยว ด้วยตนเอง ชื่อว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียนในศาสนาของพระสุคต
วิเคราะห์ทุกกฏ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าทุกกฏ ตามลำดับ กรรมที่ผิด พลั้งพลาด จัดเป็นกรรมที่ทำไม่ดี คนทำความชั่วอันใดไว้ในที่แจ้งหรือในที่ลับ บัณฑิตทั้งหลายย่อมประกาศความชั่วนั้นว่า ทำชั่ว เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า ทุกกฏ
วิเคราะห์ทุพภาสิต
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าทุพภาสิต ตามลำดับ บทใดอันภิกษุกล่าวไม่ดี พูดไม่ดี และเสื่อมเสีย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๑๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ

ทั้งวิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียนบทใด เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อนั้นว่า ทุพภาสิต
วิเคราะห์เสขิยะ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าเสขิยะ ตามลำดับ ข้อนั้นเป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทาง และเป็นข้อสังวรระวังของพระเสขะ ผู้กำลังศึกษา ผู้ดำเนินไปสู่เส้นทางตรง สิกขาทั้งหลายเช่นนี้ไม่มี เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อนั้นว่า เสขิยะ
อุปมาอาบัติ และอนาบัติ
ยิ่งปิดยิ่งรั่ว เปิดแล้วไม่รั่ว เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปิด เมื่อเป็นดังนี้ สิ่งที่เปิดนั้นก็จะไม่รั่ว๑- ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค อากาศเป็นทางไปของหมู่ปักษี ความเสื่อมเป็นคติของธรรมทั้งหลาย๒- พระนิพพานเป็นภูมิที่ไปของพระอรหันต์
คาถาสังคณิกะ จบ
หัวข้อประจำวาร
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ณ ๗ พระนคร วิบัติ ๔ อย่าง สิกขาบทของภิกษุและภิกษุณีที่ทั่วไป ที่ไม่ทั่วไป นี้เป็นถ้อยคำที่ประมวลไว้ด้วยคาถา เพื่ออนุเคราะห์พระศาสนา”
คาถาสังคณิกะ จบ
@เชิงอรรถ : @ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๘๕/๒๘๕, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๔๕/๒๖๘, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๔๔๗/๔๑๕ @ หมายถึงสังขตธรรมทั้งหลายมีความเสื่อมความพินาศ (วิ.อ. ๓/๓๓๙/๔๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๑๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๕๑๕-๕๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=91              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=8956&Z=9020                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1035              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1035&items=11              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1035&items=11                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr10/en/brahmali#pli-tv-pvr10:63.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr10/en/horner-brahmali#BD.6.241



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :