ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
             [๗๙๕] สกวาที มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
             ปรวาที ถูกแล้ว
             ส. มังสจักษุ ก็คือทิพยจักษุ ทิพยจักษุ ก็คือมังสจักษุ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๗๙๖] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. มังสจักษุเป็นเช่นใด ทิพยจักษุก็เป็นเช่นนั้น ทิพยจักษุเป็นเช่นใด
มังสจักษุก็เป็นเช่นนั้น หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๗๙๗] ส. มังสจักษุอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. มังสจักษุอันนั้น ทิพยจักษุก็อันนั้นแหละ ทิพยจักษุอันนั้น มังสจักษุก็
อันนั้นแหละ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๗๙๘] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. วิสัย อานุภาพ โคจร ของมังสจักษุ เป็นเช่นใด วิสัย อานุภาพ โคจร
ของทิพยจักษุ ก็เป็นเช่นนั้น หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๗๙๙] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. เป็นอุปาทินนะแล้วเป็นอนุปาทินนะ ๑- หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
@๑. อุปาทินนะ-อนุปาทินนะ ดูนิเทศในธรรมสังคณี ข้อ ๗๗๙ และข้อ ๙๕๕
             [๘๐๐] ส. เป็นอุปาทินนะแล้วเป็นอนุปาทินนะ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. เป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจร หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๘๐๑] ส. เป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจร หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจร หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๘๐๒] ส. เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจร หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. เป็นปริยาปันนะแล้วเป็นอปริยาปันนะ ๑- หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๘๐๓] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ทิพยจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว ก็เป็นมังสจักษุ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๘๐๔] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ทิพยจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นปัญญาจักษุ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๘๐๕] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ทิพยจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นมังสจักษุ หรือ?
             ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
@๑. ปริยาปันนะ-อปริยาปันนะ ดูนิเทศในธรรมสังคณี ข้อ ๘๓๑ และข้อ ๙๘๓
             [๘๐๖] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. จักษุ มี ๒ อย่างเท่านั้น หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๘๐๗] ส. จักษุ มี ๒ อย่างเท่านั้น หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสจักษุว่ามี ๓ คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ
มิใช่หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสจักษุว่ามี ๓ คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ
ปัญญาจักษุ ก็ต้องไม่กล่าวว่า จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น
             [๘๐๘] ส. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุนี้มี ๓ อย่าง, ๓
อย่างเป็นไฉน มังสจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ จักษุมี ๓ อย่าง
ฉะนี้แล
             พระผู้มีพระภาคผู้ปุริโสดม ได้ตรัสจักษุ ๓ อย่างนี้ คือ
มังสจักษุ ทิพยจักษุ และปัญญาจักษุ อันยอดเยี่ยมไว้แล้ว ความ
เกิดขึ้นแห่งมังสจักษุ เป็นทางแห่งทิพยจักษุ ก็เมื่อใด ญาณ คือ
ปัญญาจักษุ อันยอดเยี่ยมเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้ง
ปวงได้ เพราะการได้จักษุนั้น ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
@๑. ขุ. อิติวุตตะ ข้อ ๒๓๙ หน้า ๒๗๐
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น
ทิพพจักขุกถา จบ
-----------------------------------------------------
ทิพพโสตกถา

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๘๒๐๐-๘๒๗๕ หน้าที่ ๓๓๙-๓๔๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=8200&Z=8275&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=47              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=795              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [795-809] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=37&item=795&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4410              The Pali Tipitaka in Roman :- [795-809] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=37&item=795&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4410              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv3.7/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :