ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

๕. สฬายตนวรรค
หมวดว่าด้วยอายตนะ ๖ ประการ
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาทแก่อนาถบิณฑิกคหบดี
[๓๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เจ้าจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา แล้ว กราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’ และจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ กราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเรา จงเรียนอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า’ และ จงเรียนอย่างนี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์ เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถ บิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด” บุรุษนั้นรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายบังคมพระยุคลบาท ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า” และเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้ แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่าน อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่าน พระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าและฝากมาเรียนว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์ เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด” ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๓๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

[๓๘๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร มีท่าน พระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นั่งบน อาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี ท่านยังสบายดี หรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาของท่านทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการ ทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”๑- ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เหล็กแหลมคมทิ่มแทงศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ ทุเลาไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันที่ศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ ทุเลาไม่ปรากฏ ขอรับ เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด ลมอันแรงกล้าเสียดแทงท้องของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผม ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง ๒ คน จับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้ ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด อาการเร่าร้อนในกายของกระผมก็มีมากอย่างยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผม กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ”๒- @เชิงอรรถ : @ ดู สํ.ม. ๑๙/๑๐๒๒/๕๓๖-๕๓๗, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๖/๕๔๐ @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๗/๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๓๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

[๓๘๕] ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียก ในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นจักขุ(ตา) และวิญญาณที่อาศัยจักขุของเราก็จัก ไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นโสตะ(หู) และวิญญาณที่อาศัยโสตะของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นฆานะ (จมูก) และวิญญาณที่อาศัยฆานะของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นชิวหา(ลิ้น) และวิญญาณที่อาศัยชิวหาของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นกาย (ร่างกาย) และวิญญาณที่อาศัยกายของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นมโน(ใจ) และวิญญาณที่อาศัยมโนของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๑) คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูปของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเสียง ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นกลิ่น ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นรส ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น โผฏฐัพพะ ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์ และวิญญาณที่อาศัยธรรมารมณ์ของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๒) คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น จักขุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักขุวิญญาณของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๓๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น โสตวิญญาณ ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น ฆานวิญญาณ ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น ชิวหาวิญญาณ ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น กายวิญญาณ ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น มโนวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยมโนวิญญาณของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก อย่างนี้ (๓) คหบดี เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจัก ไม่ยึดมั่นจักขุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยจักขุสัมผัสของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึง สำเหนียกอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น โสตสัมผัส ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น ฆานสัมผัส ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น ชิวหาสัมผัส ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น กายสัมผัส ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น มโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยมโนสัมผัสของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก อย่างนี้ (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๓๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัสของเรา ก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่ เกิดจากโสตสัมผัส ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่ เกิดจากฆานสัมผัส ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่ เกิดจากชิวหาสัมผัส ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่ เกิดจากกายสัมผัส ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่ เกิดจากมโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัสของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๕) [๓๘๖] คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจัก ไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ และวิญญาณที่อาศัยปฐวีธาตุของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นอาโปธาตุ ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเตโชธาตุ ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นวาโยธาตุ ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นอากาสธาตุ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๓๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น วิญญาณธาตุ และวิญญาณที่อาศัยวิญญาณธาตุของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก อย่างนี้ (๖) คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูปของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนา ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นสัญญา ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นสังขาร ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยวิญญาณของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๗) คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น อากาสานัญจายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานของเราก็จัก ไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น วิญญาณัญจายตนฌาน ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น อากิญจัญญายตนฌาน ... เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๘) คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น โลกนี้ และวิญญาณที่อาศัยโลกนี้ของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นโลกหน้า และวิญญาณที่อาศัยโลกหน้าของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๓๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘อารมณ์ใดที่ เราเห็น ฟัง ทราบ รู้แจ้ง แสวงหา ได้พิจารณาแล้วด้วยใจ เราจักไม่ยึดมั่น อารมณ์แม้นั้น และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์นั้นของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก อย่างนี้” (๙) [๓๘๗] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อนาถบิณฑิกคหบดีได้ร้องไห้ น้ำตาไหล ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ ได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี ท่านยังยึดติดอยู่หรือ” อนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ กระผมมิได้ยึดติด แต่ กระผมได้นั่งใกล้พระศาสดาและหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมานานแล้ว กระผมไม่เคยได้ สดับธรรมีกถาเห็นปานนี้เลย” “คหบดี ธรรมีกถาเห็นปานนี้ ไม่แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว แต่ แจ่มแจ้งแก่บรรพชิตทั้งหลาย” “ท่านพระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้ จงแจ่มแจ้ง แก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาวบ้างเถิด เพราะกุลบุตรผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย๑- ก็มีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม พวกเขาจึงเสื่อมและเป็นผู้ไม่รู้ธรรม” ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ได้โอวาทอนาถบิณฑิกคหบดี ด้วยโอวาทนี้ ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์จากไปแล้วไม่นาน อนาถบิณฑิก คหบดี ก็ได้ทำกาลกิริยาแล้วไปเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกเทพบุตร มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เมื่อราตรีผ่านพ้นไป ทำพระเชตวันทั้งหมดให้สว่าง เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาเหล่านี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย หมายถึงมีธุลีคือราคะ โทสะ โมหะ เบาบางคือเล็กน้อย ที่ปิดบังดวงตา @คือปัญญา (ม.มู.อ. ๒/๒๘๒/๘๕, วิ.อ. ๓/๘-๙/๑๔-๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๓๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

“ก็พระเชตวันนี้ มีหมู่ฤาษีพำนักอยู่๑- พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่ เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์ การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด๒- ๑ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรมนี้ หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือทรัพย์ไม่ เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดในธรรมเหล่านั้น พระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ” อนาถบเณฑิกเทพบุตรได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น อนาถบิณฑิกเทพบุตรรู้ว่า “พระศาสดาทรงพอพระทัย” จึงถวายอภิวาท กระทำ ประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง [๓๘๘] ครั้งนั้น เมื่อราตรีนั้นล่วงไปแล้ว พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทพบุตรองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เมื่อ ราตรีผ่านพ้นไป ทำพระเชตวันทั้งหมดให้สว่าง เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ไหว้เราแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราด้วยคาถาเหล่านี้ว่า @เชิงอรรถ : @ หมู่ฤาษีพำนักอยู ในที่นี้หมายถึง หมู่ภิกษุอาศัยอยู่ (ม.อุ.อ. ๓/๓๘๗/๒๓๖) @ การงาน หมายถึงมรรคเจตนา วิชชา หมายถึงมรรคปัญญา อีกนัยหนึ่ง หมายถึงสัมมาทิฏฐิและ @สัมมาสังกัปปะ ธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสมาธิ อีกนัยหนึ่ง หมายถึงสัมมาวายามะ สัมมาสติ @และสัมมาสมาธิ ศีล หมายถึงสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ชีวิตอันสูงสุด หมายถึง @ชีวิตของผู้ดำรงอยู่ในศีล (ม.อุ.อ. ๓/๓๘๗/๒๓๖, สํ.ส.อ. ๑/๔๘/๘๖, สํ.ฏีกา ๑/๔๘/๑๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๔๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

“ก็พระเชตวันนี้ มีหมู่ฤาษีพำนักอยู่ พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่ เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์ การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด ๑ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรมนี้ หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือทรัพย์ไม่ เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดในธรรมเหล่านั้น พระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ” ภิกษุทั้งหลาย เทพบุตรนั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว รู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอ พระทัยเรา’ จึงไหว้เรา ทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง”๑- เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทพบุตรนั้น จักเป็นอนาถบิณฑิก เทพบุตรแน่ เพราะอนาถบิณฑิกคหบดีเลื่อมใสแล้วในท่านพระสารีบุตร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ อานนท์ เรื่องที่เธอคาดคะเนนั้น เธอลำดับ เรื่องถูกแล้ว เทพบุตรนั้นคืออนาถบิณฑิกเทพบุตร มิใช่ใครอื่น” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อนาถปิณฑิโกวาทสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๐๑/๑๐๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๔๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๔๓๓-๔๔๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=43              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9311&Z=9524                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=720              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=720&items=21              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=5954              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=720&items=21              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=5954                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i720-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.143.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.143x.olen.html https://suttacentral.net/mn143/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :