![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ความเพียร ชื่อปธาน. ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมจักษุเป็นต้น ชื่อสังวรปธาน. ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้ละกามวิตกเป็นต้น ชื่อปหานปธาน. ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญ ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ตามรักษาสมาธินิมิต ชื่ออนุรักขนาปธาน. ในบทว่า วิเวกนิสฺสิตํ เป็นอาทิ มีวินิจฉัยดังนี้ แม้บททั้ง ๓ คือ วิเวก วิราคะ นิโรธเป็นชื่อของนิพพาน. แท้จริงนิพพาน ชื่อวิเวก เพราะสงัดจากอุปธิ. ชื่อวิราคะ เพราะราคะเป็นต้นอาศัยนิพพานนั้น จึงคลายไป. ชื่อนิโรธ เพราะราคะเป็นต้นอาศัยนิพพานนั้น ก็ดับไป เพราะฉะนั้น ในบทว่า วิเวกนิสฺสิตํ เป็นอาทิ จึงมีความว่า อาศัยนิพพานโดยเป็นอารมณ์บ้าง โดยเป็นธรรมที่พึงบรรลุบ้าง. ในบทว่า โวสฺสคฺคปริณามึ นี้ โวสสัคคะมี ๒ คือ ปริจจาคโวสสัคคะ ๑ ปักขันทน บทว่า ภทฺทกํ ได้แก่ ที่ได้แล้ว. สมาธิที่ได้แล้วด้วยอำนาจอัฏฐิกสัญญาเป็นต้น เรียกว่าสมาธินิมิต. บทว่า อนุรกฺขติ ได้แก่ ทำราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิ ให้เหือดแห้งไปรักษาไว้. ก็สัญญา ๕ มี ความพิสดารของอสุภสัญญานั้น กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. ในคาถา ท่านกล่าวความเพียรอย่างเดียวที่ให้สำเร็จสังวรเป็นต้น โดยชื่อว่าสังวร. บทว่า ขยํ ทุกฺขสฺส ปาปุเณ คือพึงบรรลุพระอรหัต กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์. จบอรรถกถาสังวรสูตรที่ ๔ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จรวรรคที่ ๒ ๔. สังวรสูตร จบ. |