บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] หน้าต่างที่ ๘ / ๙. ข้อความเบื้องต้น พวกนิครนถ์โต้วาทะกับพวกภิกษุ พวกนิครนถ์ฟังคำนั้นแล้ว กล่าวว่า "พวกเราย่อมปกปิด เพราะเหตุนั่น หามิได้ พวกเราปกปิด เพราะเหตุนี้ คือก็ละอองต่างๆ มีฝุ่นและธุลีเป็นต้นนั่นเทียว เป็นของเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์, เมื่อเป็นอย่างนั้น ละอองต่างๆ มีฝุ่นและธุลีเป็นต้นเหล่านั้น อย่าตกลงในภาชนะภิกษาทั้งหลายของพวกเรา" ดังนี้แล้ว ทำการพูดกับภิกษุเหล่านั้นอย่างมากมาย ด้วยสามารถแห่งการโต้ตอบวาทะกัน. ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลเรื่องนั้น ในกาลที่ตนนั่งแล้ว. ผู้สมาทานผิดย่อมถึงทุคติ เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
แก้อรรถ บทว่า ลชฺชิตาเย ความว่า เพราะองค์อันยังหิริให้กำเริบอันไม่ปกปิดแล้ว. จริงอยู่ องค์อันยังหิริให้กำเริบ ชื่อว่าสิ่งอันควรละอาย ก็สัตว์เหล่านั้น เมื่อไม่ปกปิดองค์อันยังหิริให้กำเริบนั้นเที่ยวไป ชื่อว่าย่อมไม่ละอายเพราะสิ่งอันควรละอาย. เพราะเหตุนั้น เมื่อสัตว์เหล่านั้นละอาย เพราะสิ่งอันไม่ควรละอายอยู่ ไม่ละอายเพราะสิ่งอันควรละอายอยู่. ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะภาวะคือความยึดถือเปล่า และเพราะภาวะคือความยึดถือโดยประการอื่น, สัตว์เหล่านั้นสมาทานมิจฉาทิฏฐินั้นแล้วเที่ยวไปอยู่ ชื่อว่าสมาทานมิจฉาทิฏฐิ ย่อมถึงทุคติอันต่างโดยอบายมีนรกเป็นต้น. บทว่า อภเย เป็นต้น ความว่า ภาชนะภิกษา ชื่อว่าสิ่งอันไม่ควรกลัว เพราะกิเลส คือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และภัยคือทุจริต หาเกิดขึ้นเพราะอาศัยภาชนะภิกษาไม่. ก็สัตว์ทั้งหลายปกปิดภาชนะนั้น เพราะความกลัว ชื่อว่ามีปกติเห็นในสิ่งอันไม่ควรกลัวว่าควรกลัว. ก็องค์อันยังหิริให้กำเริบนั้น ชื่อว่าสิ่งอันควรกลัว เพราะกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เกิดขึ้นเพราะอาศัยองค์อันยังหิริให้กำเริบ. และเพราะไม่ปกปิดองค์อันยังหิริให้กำเริบนั้น จึงชื่อว่าผู้มีปกติเห็นในสิ่งอันควรกลัวว่าไม่ควรกลัว. สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าสมาทานมิจฉาทิฏฐิ เพราะค่าที่ตนสมาทานการยึดถือเปล่านั้น และการยึดถือโดยประการอื่น ย่อมถึงทุคติ. ในกาลจบเทศนา พวกนิครนถ์เป็นอันมาก มีใจสังเวชแล้วบวช. เทศนาสำเร็จประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล. เรื่องนิครนถ์ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท นิรยวรรคที่ ๒๒ |