![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() หน้าต่างที่ ๙ / ๙. ข้อความเบื้องต้น บุตรพวกเดียรถีย์สอนบุตรไม่ให้ไหว้สมณะ วันหนึ่ง ลูกของพวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น กำลังเล่นอยู่ในที่ใกล้แห่งซุ้มประตูนอกพระเชตวันวิหาร มีความระหายน้ำขึ้น. ทีนั้น พวกเขาจึงส่งเด็กของอุบาสกคนหนึ่งไปสู่พระวิหาร สั่งว่า "เจ้าไปดื่มน้ำในวิหารนั้นแล้ว จงนำมาเพื่อพวกเราบ้าง." เด็กนั้นก็เข้าไปยังพระวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา แล้วกราบทูลความข้อนั้น. บุตรพวกเดียรถีย์นับถือพระพุทธศาสนา พระศาสดารับสั่งให้หาเด็กเหล่านั้นมาแล้ว ตรัสธรรมกถาที่สบายแก่เด็กเหล่านั้น ทรงทำเด็กเหล่านั้นให้มีศรัทธามั่นคงแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีล. เด็กเหล่านั้นไปสู่เรือนของตนๆ แล้ว แจ้งความนั้นแก่มารดาและบิดา. ครั้งนั้น มารดาและบิดาของพวกเขาถึงความโทมนัสปริเทวนาว่า "ลูกของพวกเราเกิดเป็นคนมีทิฏฐิวิบัติเสียแล้ว." ครั้งนั้น คนที่สนิทสนมของพวกนั้นเป็นคนฉลาด มากล่าวธรรมแก่คนเหล่านั้น เพื่อต้องการแก่อันยังความโทมนัสให้สงบ. มารดาและบิดาของพวกเด็กเหล่านั้นฟังถ้อยคำของคนเหล่านั้นแล้ว จึงกล่าวว่า "พวกเราจักมอบพวกเด็กๆ เหล่านี้แก่พระสมณโคดมเสียทีเดียว" ดังนี้แล้ว นำไปสู่พระวิหารพร้อมด้วยหมู่ญาติเป็นอันมาก. ความเห็นเป็นเหตุให้สัตว์ไปทุคติและสุคติ เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
แก้อรรถ บทว่า วชฺชมติโน คือ มีมติเกิดขึ้นว่า "นี้มีโทษ" แต่สัตว์เหล่านั้นมีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ ในธรรมที่มีโทษ คือมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ และคือธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งมิจฉาทิฏฐินั้น. อธิบายว่า สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ เพราะความที่ตนถือด้วยดีแล้ว ซึ่งมิจฉาทิฏฐินั่น คือความรู้ธรรมที่หาโทษมิได้โดยความเป็นธรรมมีโทษ และรู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้ แล้วยึดถือมั่น ย่อมไปสู่ทุคติ. ความแห่งพระคาถาที่ ๒ บัณฑิตพึงทราบโดยความตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว ในกาลจบเทศนา คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดดำรงอยู่ในสรณะ ๓ แล้ว ฟังธรรมอื่นๆ อีกอยู่ ก็ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ดังนี้แล. เรื่องสาวกเดียรถีย์ จบ. นิรยวรรควรรณนา จบ. วรรคที่ ๒๒ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท นิรยวรรคที่ ๒๒ จบ. |