บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ว่าด้วยนิโรธ ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นว่ารวมนิโรธทั้ง ๒ คืออัปปฏิสังขานิโรธ คือการดับโดยไม่ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา และปฏิสังขานิโรธ คือการดับโดยใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ทั้ง ๒ นี้เข้าด้วยกัน จึงชื่อว่านิโรธสัจจะ ดังนี้ ดุจนิกายมหิสาสกะและนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ สกวาทีหมายชนเหล่านั้น จึงถามว่า นิโรธเป็น ๒ หรือ คำตอบรับรองเป็นของพระปรวาที. ในปัญหาว่า ทุกขนิโรธเป็น ๒ หรือ ปรวาทีไม่ปรารถนาทุกขสัจจะเป็น ๒ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงตอบปฏิเสธ แต่ปรารถนาว่าทุกข์ย่อมดับไปโดยอาการ ๒ อย่าง เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรอง. ในปัญหาว่า นิโรธสัจจะเป็น ๒ หรือ ปรวาที เมื่อไม่ปรารถนาด้วยสามารถแห่งการดับทุกขสัจจะทั้ง ๒ อย่าง จึงตอบปฏิเสธ แต่ย่อมตอบรับรองเพราะการดับทุกข์โดยอาการทั้ง ๒ อย่าง. ในคำทั้งหลาย แม้คำว่า ตาณะเป็น ๒ หรือ เป็นต้น ก็ในนี้นั่นแหละ ตาณะ คือธรรมเป็นเครื่องต้านทานเป็นต้น นี้เป็นไวพจน์ของพระนิพพาน. ในคำถามทั้งหลายมีคำว่า มีความสูงและต่ำแห่งนิพพานทั้ง ๒ หรือ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่เห็นพระนิพพานมีการสูงต่ำเป็นต้น จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า สังขารที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ดังนี้ อธิบายว่า สังขารเหล่าใดไม่ดับไปด้วยโลกุตตรญาณอันเป็นเครื่องพิจารณา ท่านเรียกสังขารเหล่านั้นว่า ดับไปแล้วตามปกติของตนเอง หรือเพราะไม่มีการปฏิบัติด้วยสามารถแห่งการสอบถามอุทเทสเป็นต้น. คำว่า สังขารที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ได้แก่ สังขารเหล่านั้นย่อมดับไปด้วยโลกุตตรญาณ คือย่อมถึงซึ่งความไม่เกิดขึ้นอีก. คำถามว่า สังขารทั้งที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ทั้งที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ต่างก็ย่อยยับไปสิ้นแล้วมิใช่หรือ ดังนี้ เป็นของปรวาที. ในคำวิสัชนานั้น สกวาทีย่อมตอบรับรองซึ่งความที่สังขารทั้งหลายเหล่านั้นมีการแตกดับไปเป็นธรรมดา โดยมิต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา เพราะการแตกดับแห่งสังขารทั้งหลายเป็นสภาพต้องแตกดับไปโดยส่วนเดียว หรือว่าความที่สังขารเหล่านั้น เมื่ออริยมรรคเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องแตกดับไปเพราะการแตกดับนั้นเทียว. คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล. รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ ๑. ปรูปหารกถา ๒. อัญญาณกถา ๓. กังขากถา ๔. ปรวิตารณกถา ๕. วจีเภทกถา ๖. ทุกขาหารกถา ๗. จิตตฐิติกถา ๘. กุกกุฬกถา ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา ๑๐. โวหารกถา ๑๑. นิโรธกถา. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๒ นิโรธกถา จบ. |