บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
ทีปังกรพุทธวงศ์ที่ ๑ ว่าด้วยพระประวัติพระทีปังกรพุทธเจ้า [๒] ในสี่อสงไขยแสนกัป มีพระนครหนึ่งชื่อว่าอมรนครเป็นนครสวยงาม น่ารื่นรมย์ใจ ไม่ว่างจากเสียง ๑๐ ประการคือ เสียงประกาศให้มา นำเอาข้าวน้ำไป เสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียง รถ เสียงเชิญให้มาเคี้ยวมาดื่ม มาบริโภคข้าวและน้ำ เป็นนคร สมบูรณ์ด้วยองค์คุณทั้งปวง ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง สมบูรณ์ ด้วยรัตนะ ๗ ประการ คับคั่งไปด้วยหมู่ชนต่างๆ เป็นนครสมบูรณ์ เหมือนเทพนคร เป็นที่อยู่ของผู้มีบุญ เราเป็นพราหมณ์นามว่าสุเมธ อยู่ในครอมรวดี สั่งสมโภคทรัพย์ไว้หลายโกฏิ มีทรัพย์สมบัติ มากมาย เป็นผู้เล่าเรียน ทรงมนต์รู้จบไตรเพท ถึงความสำเร็จใน ตำราทำนายลักษณะ และคัมภีร์อิติหาสะ นั่งอยู่ในที่ลับคิดอย่างนี้ ในครั้งนั้นว่าการเกิดในภพใหม่และความที่สรีระแตกเป็นทุกข์ [ความ หลงตายเป็นทุกข์ ชีวิตถูกย่ำยี] เราจักแสวงหานิพพานอันไม่แก่ไม่ ตาย ปลอดภัย เป็นที่ดับชาติธรรม ชราธรรม และพยาธิธรรม เอาละ เราพึงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ไม่ต้องการ ละทิ้งกายอันเปื่อย เน่าเต็มด้วยซากศพนี้ไปเสียเถิดทางที่ใครๆ ไม่อาจจะไปได้เพราะ ไม่มีเหตุ จักมีแน่นอนเราจักแสวงหาทางนั้นเพื่อหลุดพ้นไปจากภพ เมื่อมีความเจริญ ความเสื่อมก็จำต้องปรารถนา เปรียบเหมือนเมื่อมี ทุกข์แม้สุขก็ย่อมมี ฉะนั้นไฟ ๓ กองมีอยู่นิพพานความดับก็จำ ต้องปรารถนา เปรียบเหมือนเมื่อความร้อน ความเย็นก็ย่อมมี ฉะนั้น ความเกิดมีอยู่ ความไม่เกิดก็จำต้องปรารถนาเปรียบเหมือน เมื่อความชั่วมีอยู่ แม้ความดีก็ย่อมมี ฉะนั้นสระน้ำอมฤตอันเป็น สถานที่ชำระกิเลสมลทินมีอยู่ แต่บุคคลผู้ต้องการจะชำระไม่แสวง หาสาระ จะโทษสระน้ำอมฤตไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษเปื้อนคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มแล้ว ไม่ไปหาสระเอง จะโทษสระนั้นไม่ได้ฉะนั้น บุคคลผู้ถูกกิเลสห้อมล้อมแล้ว เมื่อทางเกษมมีอยู่แต่ไม่แสวงหา ทางนั้น จะไปโทษทางเกษมไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษถูกข้าศึกล้อม ไว้ เมื่อทางสำหรับจะหนีไปมีอยู่แต่เขาไม่หนีไป จะโทษทางนั้น ไม่ได้ ฉะนั้น บุคคลผู้มีทุกข์ถูกพยาธิคือกิเลสเบียดเบียด ไม่ แสวงหาอาจารย์ จะโทษอาจารย์นั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ ป่วยไข้ เมื่อหมอมีอยู่แต่ไม่ให้รักษาความป่วยไข้นั้น จะโทษหมอ นั้นไม่ได้ ฉะนั้น [เอาละ เราพึงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใยไม่ต้องการ ละทิ้งกายอันเปื่อยเน่าเต็มไปด้วยซากศพนี้ไปเสียเถิด] เราพึงเป็นผู้ ไม่มีความห่วงใย ไม่ต้องการ ละทิ้งกายอันเปื่อยเน่าสั่งสมด้วยซาก ศพต่างๆ นี้ไปเสีย เปรียบเหมือนบุรุษพึงเปลื้องซากศพอันน่าเกลียด พันอยู่ที่คอออกเสีย แล้วพึงไปอยู่เป็นสุขเสรีตามลำพังตน ฉะนั้น เราจักละทิ้งกายอันเต็มด้วยซากศพต่างๆ นี้ไปเสีย ดังถ่ายอุจจาระ ในส้วมแล้วไป เปรียบเหมือนบุรุษและสตรีถ่ายอุจจาระลงในส้วม เสร็จแล้วออกไป โดยไม่ห่วงใย ไม่ต้องการ ฉะนั้น เราจักละทิ้ง กายอันมีช่อง ๙ แห่ง มีน้ำหนองเป็นนิตย์นี้ไปเสีย ดังเจ้าของเรือ ทิ้งเรือที่คร่ำคร่า เปรียบเหมือนเจ้าของเรือที่เก่าคร่ำคร่า ชำรุดน้ำชุ่ม ไปโดยไม่ห่วงใย ไม่ต้องการ ฉะนั้นเถิด เราจักละกายนี้ซึ่งเปรียบ เสมอด้วยมหาโจรไปเสีย เพราะกลัวจะชิงตัดกุศล เปรียบเหมือน บุรุษถือห่อสิ่งของไปกับพวกโจร ทิ้งโจรไปเสียเพราะเห็นภัย คือ โจรจะชิงสิ่งของ ฉะนั้น ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ให้ทรัพย์หลาย ร้อยโกฏิแก่คนไม่มีที่พึ่งและคนอนาถาแล้วเข้าไปยังภูเขาหิมวันต์ ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีเขาลูกหนึ่งชื่อธรรมมิกบรรพต เราสร้าง อาศรมอย่างดี สร้างบรรณศาลาอยู่ที่เขาธรรมมิกบรรพต ณ ที่นั้น เราสร้างที่จงกรมอันเว้นโทษ ๕ ประการ ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ เป็นที่นำมาซึ่งอภิญญาและพละไว้ ทิ้งผ้าสาฎกประกอบ ด้วยโทษ ๙ ประการเสีย นุ่งผ้าเปลือกไม้กรองอันประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการเราละบรรณศาลาอันเกลื่อนกล่นไปด้วยโทษ ๘ ประการ เสีย มาอาสัยโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เราละทิ้ง ข้าวเปลือกที่ปลูกไว้หว่านไว้เสียโดยไม่เหลือ เก็บเอาผลไม้ที่หล่น เองซึ่งประกอบด้วยคุณหลายอย่างมาบริโภค ณ ที่นั้น เราบำเพ็ญ ความเพียรอยู่ในที่นั่งและที่จงกรมภายใน ๗ วันก็ได้บรรลุอภิญญา และพละ เมื่อเราถึงความสำเร็จมีความเย็นใจในศาสนาอย่างนี้แล้ว พระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลกพระนามว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้น เมื่อพระพิชิตมารเสด็จอุบัติบังเกิด ตรัสรู้ และในการแสดง พระธรรมเทศนา เราผู้เปี่ยมด้วยความยินดีในฌาน ไม่ได้เห็นนิมิต ๔ ประการ ชนทั้งหลายทูลนิมนต์พระตถาคต ณ ที่ประทับในปัจจันต ประเทศช่วยกันแผ้วถางทาง สำหรับพระตถาคตเสด็จดำเนินมา สมัยนั้น เราออกจากอาศรมของตนแล้ว สลัดผ้าคากรองเหาะไป ในอัมพรได้เห็นหมู่ชนผู้มีจิตโสมนัส ยินดี ร่าเริงเบิกบานใจ จึงลง จากอากาศมาถามมนุษย์ทั้งหลายในขณะนั้นว่า มหาชนผู้มีจิตโสมนัส ยินดี ร่าเริง เบิกบานใจ ช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับเดินเพื่อใคร ชนเหล่านั้นอันเราถามแล้วบอกว่า พระพุทธชินเจ้าผู้ยอดเยี่ยมเป็น นายกของโลก พระนามว่าทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ชน ทั้งหลายช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับเดินเพื่อพระองค์ ขณะนั้นปีติ เกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้ฟังคำว่า พุทโธ เราจึงกล่าวประกาศความ โสมนัสว่า พุทโธ พุทโธ เราทั้งยินดีทั้งสลดใจยืนคิดอยู่ ณ ที่นั้น ว่าเราจะปลูกพืชคือบุญลงในที่นี้ขณะอย่างได้ล่วงไปเสียเลย แล้ว กล่าวว่าถ้าท่านทั้งหลายช่วยกันถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า ขอจงให้ โอกาสหนึ่งแก่ข้าพเจ้าแม้ข้าพเจ้าก็จะช่วยแผ้วถางทางเสด็จดำเนิน ในกาลนั้นชนเหล่านั้นได้ให้โอกาสเพื่อการถางทางแก่เรา ครั้งนั้น เราถางทางไปพลางคิดไปพลางว่า พุทโธ พุทโธ เมื่อเราทำยังไม่ทัน เสร็จ พระมหามุนีทีปังกรชินเจ้ากับพระขีณาสพสี่แสนผู้ได้อภิญญา ๖ ผู้คงที่ปราศจากมลทินก็เสด็จมาถึง การต้อนรับย่อมเป็นไป คน เป็นอันมากประโคมกลองเภรี มนุษย์และเทวดาต่างก็มีใจเบิกบาน เปล่งเสียงสาธุการ เทวดาก็เห็นมนุษย์ มนุษย์ก็เห็นเทวดา มนุษย์ และเทวดาทั้งสองพวกนั้น พากันประนมอัญชลีเดินตามพระตถาคต พวกเทวดาเอาดนตรีทิพย์มาประโคม พวกมนุษย์เอาดนตรีมนุษย์มา ประโคม เดินตามพระตถาคตมาทั้งสองพวกทวยเทพผู้อยู่ในอากาศ ต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพดอกปทุม ดอกปาริชาตทิพย์ ลงยัง ทิศน้อยทิศใหญ่และโปรยลงซึ่งกระแจะจันทน์ และของหอมอย่างดี ล้วนแต่เป็นของทิพย์ลงยังทิศน้อยทิศใหญ่ พวกมนุษย์ผู้ที่อยู่บน พื้นดิน ก็โปรยดอกจำปา ดอกช้างน้าว ดอกประดู่ ดอกกากะทิง ดอกบุนนาค ดอกการเกตลงยังทิศน้อยทิศใหญ่เราสยายผมแล้ว เอาผ้าคากรองและหนังสัตว์ลาดลงบนเปือกตม นอนคว่ำลง ณ ที่นั้น ด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก จงทรงเหยียบ เราเสด็จไปเถิด อย่าทรงเหยียบเปือกตมนั้นเลย ข้อนั้นจักเป็น ประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา เมื่อเรานอนอยู่ที่พื้นดิน ได้มีความคิดอย่าง นี้ว่า เรา (มิได้) ปรารถนาว่า วันนี้ พระพุทธเจ้าพึงทรงเผากิเลส ของเราประโยชน์อะไรแก่เราด้วยเพศที่ใครๆ ไม่รู้จัก และด้วยการ ทำให้แจ้งซึ่งธรรม ณ ที่นี้ เราพึงบรรลุสัพพัญญุตญาณหลุดพ้นแล้ว พึงเปลื้องหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาให้หลุดพ้นเถิด ประโยชน์อะไร ด้วยเราผู้เป็นคนมีกำลังจะข้ามไปคนเดียวเล่า เราบรรลุสัพพัญญุต- ญาณได้ และจะช่วยหมู่ชนให้ข้ามได้เป็นอันมาก ด้วยอธิการที่เรา ทำแล้วในพระพุทธเจ้านี้ เราตัดกระแสสงสารกำจัดภพทั้ง ๓ ขึ้น สู่เรือคือธรรมแล้ว จักช่วยหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาให้ข้ามได้ พระ- พุทธทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชาประทับยืนอยู่ เหนือศีรษะเรา ตรัสพระดำรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดูชฎิลดาบสผู้มี ตบะอันรุ่งเรืองนี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลกในกัปอันประมาณ มิได้แต่กัปนี้ พระตถาคตชินเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระเกียรติยศมาก จักเสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ จักทรงบำเพ็ญ ความเพียรทำทุกกรกิริยา แล้วเสด็จไปประทับนั่งที่ควงไม้อชปาล- นิโครธทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำ เนรัญชรา พระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้ว เสด็จดำเนินตามทางราบเรียบที่เขาตกแต่งไว้ไปที่ควงไม้โพธิพฤกษ์ แต่นั้นทรงทำประทักษิณโพธิมณฑลอันยอดเยี่ยมแล้ว จักตรัสรู้ ที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์ พระมารดาบังเกิดเกล้าของพระตถาคต พระองค์นี้ จักมีพระนามว่ามายา พระบิดามีพระนามว่าสุทโธทนะ พระตถาคตนี้จักมีพระนามว่าโคดม พระตถาคตพระองค์นั้น จักมี พระอัครสาวกผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบระงับมั่นคง นามว่าโกลิตะ และอุปปติสสะ ภิกษุอุปฐากมีนามว่าอานนท์ จัก บำรุงพระพิชิตมารนี้ จักมีอัครสาวิกาผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบระงับ มั่นคง นามว่าเขมาและอุบลวรรณา ไม้โพธิ ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ประชาชนเรียกว่าอัสสัตถพฤกษ์ จิตตคฤหบดี หัตถกคฤหบดีชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ นันทมารดาและอุตตราอุบาสิกา จักเป็นอุปัฏฐายิกาผู้เลิศ พระโคดม ผู้มียศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี มนุษย์และเทวดา ทั้งหลายได้ฟังพระพุทธดำรัสนี้แล้ว ต่างก็เบิกบานใจกล่าวว่า ท่าน ผู้นี้จักเป็นหน่อพุทธธางกูร หมู่สัตว์ในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง ประนมอัญชลีถวายนมัสการ ว่า ถ้าเราทั้งหลายจักไม่ยินดีพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ เราทั้งหลายจักมีหน้าพร้อมต่อหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคต ถ้าเรา ทั้งปวงละพระพิชิตมารพระองค์นี้ เราทั้งปวงก็จักมีหน้าพร้อมต่อ หน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตเปรียบเหมือนมนุษย์ผู้จะข้ามแม่น้ำไม่ ยินดีท่าน้ำเฉพาะหน้า ไปยึดเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น พระพุทธทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงสมควรรับเครื่องบูชา ทรงประกาศกรรมของเราแล้ว ทรงยกพระบาทเบื้องขวาขึ้น พระ สาวกของพระพิชิตมารที่อยู่ ณ ที่นั้น ได้ทำประทักษิณเราทุกๆ องค์ เทวดา มนุษย์ อสูร ยักษ์ อภิวาทเราแล้วพากันกลับไป ครั้งนั้น เมื่อพระพุทธทีปังกรผู้เป็นนายกของโลก พร้อมด้วยพระ สงฆ์สาวกล่วงคลองจักษุเราไป เราลุกขึ้นจากที่นอนแล้ว นั่งเข้า สมาธิอยู่ เราสำราญใจด้วยความสุข เบิกบานใจด้วยปราโมทย์ และอิ่มใจด้วยปิติ นั่งเข้าสมาธิอยู่ในกาลนั้น ครั้งนั้น เรานั่งขัด สมาธิแล้ว คิดอย่างนี้ว่า คิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีความชำนาญใน ฌาน ถึงที่สุดแห่งอภิญญาในหมื่นโลกธาตุ ฤาษีผู้เสมอเหมือนเรา ไม่มี ในธรรมคือฤทธิ์ไม่มีใครเสมอเรา เราได้สุขเหล่านี้ ขณะที่ เราเข้าสมาธิอยู่ เทวดาผู้สถิตอยู่ในหมื่นจักรวาล พากันเปล่งเสียง กึกก้องว่า ท่านผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่ นิมิตเหล่าใด ที่เคย ปรากฏในขณะที่พระโพธิสัตว์ในปางก่อนนั่งเข้าสมาธิอันประเสริฐ นิมิตเหล่านั้นปรากฏในวันนี้ ความหนาวถึงความซาบซึม และ ความร้อนสงบ นิมิตเหล่านั้นปรากฏในวันนี้ ท่านผู้นี้จักเป็น พระพุทธเจ้าแน่ หมื่นโลกธาตุเงียบเสียง สงบเสียง นิมิตเหล่านั้น ปรากฏในวันนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ลมพายุย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล นิมิตเหล่านั้นปรากฏในวันนี้ ท่านผู้นี้จักเป็น พระพุทธเจ้าแน่ ไม้ดอกพันธุ์ไม้บกและพันธุ์ไม้น้ำทุกชนิด ผลิดอก ในขณะนั้น แม้วันนี้ดอกไม้เหล่านี้ก็บานทุกดอก ท่านผู้นี้จักเป็น พระพุทธเจ้าแน่ ไม้เถาหรือไม้ต้น ย่อมเผล็ดผลในขณะนั้น แม้ วันนี้ไม้ผลทุกชนิดก็เผล็ดผลในวันนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า แน่ รัตนะทั้งที่อยู่ในอากาศและพื้นดินย่อมสว่างไสวในขณะนั้น แม้วันนี้รัตนะเหล่านั้นก็สว่างไสว ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ดนตรีทั้งของมนุษย์และทิพย์ ย่อมประโคมในขณะนั้น แม้วันนี้ ดนตรีทั้งสองอย่างนั้นก็ประโคม ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ดอกไม้อันวิจิตรย่อมตกลงจากอากาศในขณะนั้น แม้วันนี้ดอกไม้ เหล่านั้นก็ปรากฏ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ มหาสมุทรย่อม กระฉอกฉ่อน หมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหว แม้วันนี้สิ่งทั้งสอง นั้นก็มีเสียงครืนๆ อยู่ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ไฟในนรก หมื่นขุมย่อมดับในขณะนั้น แม้วันนี้ไฟนั้นก็ดับแล้ว ท่านผู้นี้จัก เป็นพระพุทธเจ้าแน่ พระอาทิตย์ย่อมปราศจากมลทิน ดาวทุกดวง ย่อมปรากฏแจ่มจ้า แม้วันนี้พระอาทิตย์และดาวทุกดวงก็แจ่มจ้า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ โดยที่ฝนไม่ตกเลย น้ำในแม่น้ำก็ ขึ้นในขณะนั้น แม้วันนี้น้ำในแม่น้ำก็ขึ้น ท่านผู้นี้จักเป็นพระ พุทธเจ้าแน่ หมู่ดาวนักษัตรในท้องฟ้า ย่อมส่องแสงไพโรจน์ พระจันทร์วันวิสาขฤกษ์แจ่มจ้า ท่านผู้นี้จะเป็นพระพุทธเจ้าแน่ งูที่ อยู่รูและที่อยู่ตามซอก ย่อมออกจากที่อยู่ของตน แม้วันนี้งูเหล่านั้น ก็ออกมาเพ่นพ่าน ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ สัตว์ทั้งหลายที่ ไม่ยินดีไม่มี ย่อมยินดีทั่วกันในขณะนั้น แม้วันนี้สัตว์ก็ยินดีทั่ว กัน ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ โรคทุกชนิดเบาบางสงบ และ ความหิวย่อมหายไป แม้วันนี้ก็ปรากฏอย่างนั้น ท่านผู้นี้จักเป็น พระพุทธเจ้าแน่ ในกาลนั้นราคะย่อมบางเบา โทสะและโมหะย่อม เสื่อมคลาย แม้วันนี้ก็ปราศจากไปหมดสิ้น ท่านผู้นี้จักเป็นพระ พุทธเจ้าแน่ ในกาลนั้นภัยย่อมไม่มี แม้วันนี้ก็ปรากฏเช่นนี้ ด้วย นิมิตนั้น เราทั้งหลายจึงรู้ได้ว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ธุลีย่อมไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน แม้วันนี้ก็ปรากฏเช่นนั้น ด้วยนิมิตนั้น เราทั้งหลายจึงรู้ได้ว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ กลิ่นเหม็น ย่อมปราศจากไป มีแต่กลิ่นหอมตลบไป แม้วันนี้ก็มีกลิ่นหอม ตลบไป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ เทวดาทั้งปวงย่อม ปรากฏ เว้นแต่ที่ไม่มีรูป แม้วันนี้ก็ปรากฏทั้งหมด ท่านผู้นี้จักเป็น พระพุทธเจ้าแน่ ขณะนั้น นรกมีประมาณเท่าใด ก็ปรากฏหมด เท่านั้น แม้วันนี้ก็ปรากฏทั้งหมด ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ในกาลนั้น หม้อไห บานประตู ภูเขา ย่อมไม่มีอะไรปิด แม้ วันนี้ก็เปิดโล่ง ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ การจุติและการ อุบัติ ย่อมไม่มีในขณะนั้น แม้วันนี้ก็ปรากฏเช่นนั้น ท่านผู้นี้จัก เป็นพระพุทธเจ้าแน่ (นิมิตเหล่านี้ย่อมปรากฏ เพื่อประโยชน์แก่ การตรัสรู้ของสัตว์) ท่านจงบำเพ็ญเพียรให้มั่นเถิด อย่าถอยกลับ จงก้าวไปข้างหน้า แม้เราทั้งหลายก็รู้ท่านว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นแน่ เราได้ฟังพระพุทธดำรัส และคำของเทวดาในหมื่นโลก ธาตุแล้วก็ยินดี ร่าเริง เบิกบานใจ ได้คิดอย่างนี้ในกาลนั้นว่า พระพุทธชินเจ้ามีพระวาจาไม่เป็นสอง มีพระวาจาไม่เปล่าประโยชน์ พระพุทธเจ้าไม่ตรัสคำไม่จริง เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่ พระ- ดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เปรียบ เหมือนก้อนดินที่โยนขึ้นไปในอากาศ ย่อมตกลงมาที่พื้นดินแน่นอน ฉะนั้น (พระพุทธเจ้าไม่ตรัสคำไม่จริง เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าเป็น แน่) พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เปรียบเหมือนสัตว์ทั้งปวงต้องตายเป็นแน่ ฉะนั้น พระดำรัสของ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เปรียบเหมือนเมื่อ ราตรีสิ้นไปพระอาทิตย์ขึ้นแน่ ฉะนั้น พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐสุด ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เปรียบเหมือนราชสีห์เมื่อลุกจาก ที่นอน ต้องบันลือสีหนาทแน่ ฉะนั้นพระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐสุดย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เปรียบเหมือนสัตว์ทั้งหลายผู้ ไปถึงที่หมายแล้ว ย่อมปลงภาระอันหนักลง ฉะนั้น เอาละ เราจักค้น หาพุทธการกธรรม จากข้างนี้ๆ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำทั้งทิศน้อยทิศ ใหญ่ตลอดทั่วธรรมธาตุ ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นทานบารมี เป็นข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นทางใหญ่อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อน ประพฤติมาจึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๑ นี้บำเพ็ญให้ มั่นก่อนท่านจงบำเพ็ญทานบารมีเถิด ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุ โพธิญาณ ท่านเห็นยาจกทั้งชั้นต่ำ ปานกลางและชั้นสูงแล้ว จงให้ ทานอย่าให้เหลือ ดังหม้อที่เขาคว่ำไว้ เปรียบเหมือนหม้อที่เต็ม ด้วยน้ำ ผู้ใดผู้หนึ่งจับคว่ำลงแล้ว น้ำย่อมไหลออกหมด ไม่ขังอยู่ ในหม้อนั้น ฉะนั้น แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เรา จักค้นหาธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ก็ได้เห็นศีลบารมีเป็นข้อที่ ๒ ที่พระพุทธเจ้าแต่ ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๒ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อนท่านจงบำเพ็ญศีลบารมีเถิด ถ้าท่านปรารถนาจะ บรรลุโพธิญาณ ท่านจงบำเพ็ญศีลในภูมิ ๔ ให้บริบูรณ์ จงรักษาศีล ในกาลทั้งปวง ดังจามรีรักษาขนหาง เปรียบเหมือนดังจามรีย่อม รักษาขนหางอันติดในที่ไรๆ ยอมตายในที่นั้น ไม่ยอมทำขนหางให้ เสีย ฉะนั้น แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหา ธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเรา ค้นหาอยู่ก็ได้เห็นเนกขัมมบารมีเป็นข้อที่ ๓ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปาง ก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๓ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านจะบำเพ็ญเนกขัมมบารมีเถิด ถ้าท่าน ปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ ท่านจงเห็นภพทั้งปวงดังเรือนจำ ท่านจง มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นไปจากภพ เปรียบเหมือนบุรุษที่ ถูกขังในเรือนจำ ได้รับทุกข์มานาน ย่อมไม่ยังความยินดีให้เกิดใน เรือนจำนั้น แสวงหาความพ้นไป ฉะนั้น แต่พุทธธรรมจักมีเพียง เท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ อย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นปัญญาบารมี เป็นข้อที่ ๔ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน ทรงเสพอาศัย จึงเตือนตน เองว่า ท่านจงยึดบารมีที่ ๔ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านจะบำเพ็ญ ปัญญาบารมีเถิด ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ ท่านได้สอบถาม คนมีปัญญาตลอดกาลทั้งปวง บำเพ็ญปัญญาบารมีแล้ว จักบรรลุ สัมโพธิญาณได้ เปรียบเหมือนภิกษุ เมื่อเที่ยวภิกษา ไม่เว้นตระกูล ต่ำ ปานกลางและสูงย่อมได้อาหารเครื่องเยียวยาอัตภาพ ฉะนั้น แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็น เครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ก็ได้ เห็นวิริยบารมีเป็นข้อที่ ๕ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่าท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๕ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านจงบำเพ็ญวิริยบารมีเถิด ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ ท่านประคองความเพียรให้มั่นไว้ทุกภพ บำเพ็ญวิริยบารมีแล้ว จัก บรรลุสัมโพธิญาณได้ เปรียบเหมือนสีหมฤคราช มีความเพียรไม่ ย่อหย่อนในที่นั่งที่ยืนและที่เดินประคองใจไว้ทุกเมื่อ ฉะนั้น แต่ พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรม อันเป็น เครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไปในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ก็ได้ เห็นขันติบารมีเป็นข้อที่ ๖ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๖ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านมีใจแน่วแน่ในขันตินั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ท่านจง อดทนต่อคำยกย่องและคำดูหมิ่นทั้งปวง บำเพ็ญขันติบารมีเปรียบ เหมือนแผ่นดินอดทนสิ่งที่เขาทิ้งลงทุกอย่างทั้งสะอาดและไม่สะอาด ไม่แสดงความยินดียินร้ายฉะนั้นแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ แต่ พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็นเครื่อง บ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ก็ได้เห็น สัจจบารมีเป็นข้อที่ ๗ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึง เตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๗ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านมี ใจแน่วแน่ในสัจจะนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ดาวประกายพฤกษ์ เป็นดาวนพเคราะห์ ประจำอยู่ในมนุษย์โลกทั้งเทวโลก ไม่หลีกไป จากทางเดิน ทุกสมัยฤดูหรือปี ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น อย่าหลีก ไปจากแนวในสัจจะ บำเพ็ญสัจจบารมีแล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณได้ แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็น เครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ก็ได้เห็นอธิษฐานบารมีเป็นข้อที่ ๘ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรง เสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่าท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๘ นี้บำเพ็ญให้ มั่นก่อน ท่านไม่หวั่นในอธิษฐานบารมีนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในการอธิษฐานในการทั้งปวง บำเพ็ญ อธิษฐานบารมี เปรียบเหมือนภูเขาหินไม่หวั่นไหว ตั้งมั่น ไม่ สะท้านสะเทือนเพราะลมจัด คงอยู่ในที่เดิม ฉะนั้นแล้ว จักบรรลุ สัมโพธิญาณได้ แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้น หาธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อ เราค้นหาอยู่ก็ได้เห็นเมตตาบารมีเป็นข้อที่ ๙ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปาง ก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๙ นี้ บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านจงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอด้วยเมตตา ถ้าท่าน ปรารถนาจะบรรลุสัมโพธิญาณ ท่านจงเจริญเมตตาให้เสมอกัน ทั้งในสัตว์ที่มีประโยชน์ และไม่มีประโยชน์บำเพ็ญเมตตาบารมี เปรียบเหมือนน้ำย่อมแผ่ความเย็น ชำระล้างมลทินธุลี เสมอกัน ทั้งในคนดีและคนชั่ว ฉะนั้นแล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณได้ แต่พุทธ ธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็นเครื่อง บ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ก็ได้เห็น อุเบกขาบารมีเป็นข้อที่ ๑๐ ที่พระพุทธเจ้าทรงเสพอาศัยจึงเตือนตน เองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๑๐ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้มี อุเบกขามั่นคงดังตราชั่ง จักบรรลุโพธิญาณได้ ท่านจงมีใจเที่ยงตรง ดังตราชั่งในสุขและทุกข์ในกาลทุกเมื่อ บำเพ็ญอุเบกขาบารมีเปรียบ เหมือนแผ่นดินย่อมวางเฉย สิ่งที่เขาทิ้งลงทั้งที่ไม่สะอาดและสะอาด ทั้งสองอย่าง เว้นจากความโกรธและความยินดี ฉะนั้นแล้ว จัก บรรลุสัมโพธิญาณได้ ธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ มีอยู่ในโลก เพียงเท่านี้ นอกจากนี้ที่ยิ่งกว่านั้นไม่มี ท่านจงตั้งมั่นอยู่ในธรรม นั้นเถิด. เมื่อเราพิจารณาเห็นธรรมเหล่านี้ พร้อมทั้งภาวะ กิจของตนและ ลักษณะ พื้นพสุธาในหมื่นจักรวาล ก็หวั่นไหวด้วยเดชแห่งธรรม ปฐพีย่อมหวั่นไหวส่งเสียงร้อง เหมือนหีบอ้อยบีบอ้อย ฉะนั้น เมทนีดลย่อมหวั่นไหว เหมือนล้อยนต์ใส่น้ำมัน ฉะนั้น บริษัท ประมาณเท่าใด มีอยู่ในบริเวณรอบๆ พระพุทธเจ้าบริษัทในบริเวณ นั้นหวั่นไหวนอนซบอยู่ที่ภาคพื้นหม้อน้ำหลายพันหม้อ หม้อข้าว หลายพันหม้อ หม้อใส่กระแจะและหม้อเปรียงในที่นั้น กระทบกัน และกันมหาชนหวาดเสียว สะดุ้งกลัว ประหลาดใจ มีใจหวาดหวั่น ประชุมกันแล้ว พากันเข้าเฝ้าพระพุทธทีปังกร ทูลถามว่าความดีงาม หรือความชั่วร้ายอะไรจักมีแก่โลก โลกทั้งปวงจักมีอันตรายหรือ ขอ พระองค์ผู้มีพระจักษุ โปรดบรรเทาอันตรายนั้นเถิด ในกาลนั้น พระพุทธทีปังกรมหามุนี ทรงชี้แจงให้มหาชนนั้นเข้าใจว่า ในการที่ แผ่นดินหวั่นไหวนี้ ท่านทั้งหลายจงเบาใจ อย่ากลัวเลย วันนี้ เรา พยากรณ์ผู้ใดว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ผู้นั้นพิจารณาเห็น ธรรมที่พระพิชิตมารทรงเสพมาก่อน เมื่อผู้นั้นพิจารณาธรรมอันเป็น พุทธภูมิโดยไม่เหลือ เพราะเหตุนั้น ปฐพีในหมื่นโลกธาตุพร้อมทั้ง ในเทวโลก จึงหวั่นไหว ขณะนั้น มหาชนได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้ว เย็นใจ ทุกคนพากันมาหาเราแล้ว ก็กราบไหว้อีก ในกาลนั้น เรา ยึดพระพุทธคุณ ทำใจให้มั่นคง ถวายนมัสการพระพุทธทีปังกร แล้ว ลุกจากอาสนะ ขณะเมื่อเราลุกขึ้นจากอาสนะ ทวยเทพและ หมู่มนุษย์ ก็พากันเอาดอกไม้ทิพย์และดอกไม้มนุษย์โปรยปรายลง อนึ่ง ทวยเทพและหมู่มนุษย์นั้น ต่างก็อวยชัยให้พรสวัสดีว่า ท่าน ปรารถนาภูมิอันใหญ่หลวง ขอให้ท่านได้ภูมินั้นตามปรารถนาเถิด เสนียดจัญไรทั้งปวงจงอย่ามี ความโศกและโรคจงอย่ามี อันตรายจง อย่ามีแก่ท่าน ขอให้ท่านได้บรรลุโพธิญาณอันอุดมเร็วพลัน ข้าแต่ ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ท่านย่อมบานด้วยพุทธญาณ เปรียบเหมือนไม้ ดอกย่อมมีดอกบานในฤดูที่มาถึง ฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ขอให้ท่านจงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ดังพระสัมพุทธเจ้าเหล่าใด เหล่าหนึ่งทรงบำเพ็ญฉะนั้นเถิด ข้าแต่ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ขอให้ท่าน จงตรัสรู้ที่โพธิพฤกษ์ เหมือนหนึ่งพระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ที่โพธิมณฑลเถิด ข้าแต่ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ขอให้ท่านจงประกาศ ธรรมจักร อย่างพระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งทรงประกาศ ฉะนั้น เถิด ขอให้ท่านมีใจเต็มเปี่ยม รุ่งเรืองในหมื่นจักวาล เช่นพระจันทร์ เต็มดวง ส่องแสงสว่างในวันเพ็ญ ฉะนั้นเถิด ขอให้ท่านพ้นจาก โลก รุ่งเรืองด้วยศิริดังพระอาทิตย์พ้นจากราหูแผดแสงสว่างจ้า ฉะนั้นเถิด โลกพร้อมด้วยเทวโลก มาประชุมกันในสำนักของท่าน เปรียบเหมือนแม่น้ำทุกสายย่อมไหลมารวมลงยังทะเลหลวง ฉะนั้น ในกาลนั้น สุเมธดาบสนั้น อันทวยเทพและหมู่มนุษย์เหล่านั้น ชมเชย สรรเสริญแล้ว สมาทานธรรม ๑๐ ประการ เมื่อจะบำเพ็ญ ธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์ จึงเข้าป่าใหญ่.จบสุเมธกถา. ในกาลนั้น มหาชนเหล่านั้น นิมนต์พระศาสดาพระนามว่า ทีปังกร ผู้เป็นนายกของโลก พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์ ให้เสวยแล้ว ได้ถือ เป็นสรณะ พระตถาคตผู้นราสภ ทรงยังใครๆ ให้ตั้งอยู่ในสรณะ พระตถาคตผู้นราสภ ทรงยังใครๆ ให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์ ทรงยัง ใครๆ ให้ตั้งอยู่ในเบญจศีล ทรงยังใครๆ ให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ ทรง ประทานสามัญผล คือ ผล ๔ อันสูงสุดให้แก่ใคร ทรงประทาน ธรรมอันไม่มีธรรมอื่นเสมอ คือปฏิสัมภิทาให้แก่ใคร ทรงประทาน สมาบัติ อันประเสริฐ ๘ ให้แก่ใคร ทรงประทานวิชชา ๓ อภิญญา ๖ ให้แก่ใคร มหามุนีย่อมตรัสสอนหมู่ชน ด้วยธรรมเครื่องประกอบ นั้น พระศาสนาของพระโลกนาถ แผ่ไปกว้างขวางด้วยธรรมนั้น พระศาสดาทรงพระนามว่า ทีปังกร มีพระหนุใหญ่ และพระกายงาม ทรงช่วยให้คนหมู่มากข้ามไป ทรงเปลื้องให้พ้นทุคติ พระมหามุนี ทรงเห็นคนที่ควรให้ตรัสรู้ได้แม้ในแสนโยชน์ ก็เสด็จไปชั่วขณะ เดียว ทรงยังผู้นั้นให้ตรัสรู้ ในธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ พระพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลก ทรงยังชนให้ตรัสรู้ร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบ โกฏิ และธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ทวยเทพเก้าหมื่นโกฏิ ในเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในเทพพิภพพระพุทธทีปังกรบรม ศาสดาทรงประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง การประชุมครั้งที่ ๑ มีพระสาวกแสนโกฏิ เมื่อพระพิชิตมาร ประทับอยู่ในที่ วิเวก ที่ยอดเขานารทะอีก พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินร้อยโกฏิ มาประชุมกัน สมัยใด พระมหามุนีมหาวีรเจ้า ทรงปวารณาพรรษา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เก้าหมื่นโกฏิ ที่ยอดเขาสุทัสนะ สมัยนั้น เรา เป็นชฎิลผู้มีตบะอันรุ่งเรือง รู้จบอภิญญา ๕ เหาะไปในอากาศได้ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาและมนุษย์สองแสน ธรรมาภิสมัยในครั้ง ที่ ๑ และครั้งที่ ๒ คณนานับมิได้ ในกาลนั้น พระศาสนาของ พระผู้มีพระภาคทีปังกรแผ่ไพศาล มีคนมาก เจริญแพร่หลายบริสุทธิ์ สะอาด ภิกษุสงฆ์สี่แสน ล้วนได้อภิญญา ๖ มี ฤทธิ์มาก แวดล้อม พระผู้มีพระภาคทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งโลกในกาลทั้งปวง สมัยนั้น ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ได้บรรลุอรหัตเป็นพระเสขะ ละภพมนุษย์ ไป ชนเหล่านั้นย่อมถูกครหา พระศาสนาแพร่หลาย งดงามด้วย พระอรหันตขีณาสพ ผู้คงที่ ปราศจากมลทิน ในกาลทั้งปวง พระนคร ชื่อรัมมวดี พระชนกนาถของพระทีปังกรบรมศาสดาเป็นพระมหา- กษัตริย์ ทรงพระนามว่าสุเทพ พระชนนีทรงพระนามว่า สุเมธา พระพิชิตมารทรงครอบครองอคารสถานอยู่หมื่นปี ทรงมีฝูงหงส์ นกกระเรียน นกยูงมากมาย มีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท มีนางสนมนารีกำนัลใน ๓ แสน ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าปทุมา พระราชโอรสพระนามว่าอุสภขันธกุมาร พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการแล้ว เสด็จออกผนวชด้วยคชสาร- ยานพระที่นั่งต้น ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม ครั้นทรง ประพฤติปธานจริยาแล้ว ก็ได้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ พระมหามุนี ทีปังการ มหาวีรชินเจ้าอันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระ- ธรรมจักร แล้วประทับอยู่ในนันทารามประทับนั่งที่ควงไม้ซึก ทรง ปราบปรามเดียรถีย์ ทรงมีพระสุมงคลเถระ และพระติสสเถระเป็น พระอัครสาวก มีพระเถระชื่อว่าสาคตะเป็นอุปัฏฐากมีพระนันทาเถรี และพระสุนันทาเถรี เป็นพระอัครสาวิกาไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์ มหาชนเรียกว่า ปิปผลิ ทรงมีอุบาสกชื่อ ตปุสสะ และภัลลิกะ เป็นอัครอุปัฏฐาก นางสิริมา และ นางโสณา เป็นอุปัฏฐายิกา พระมหามุนีทีปังกร สูง ๘๐ ศอก ทรงงดงามดังไม้ประจำทวีป เหมือนพญารังกำลังดอกบาน พระองค์มีพระรัศมีแผ่ซ่านออก ๑๐ โยชน์ โดยรอบ พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง มีพระชนมายุ แสนปี ทรงดำรงอยู่นานเพียงนั้น ทรงประกาศสัทธรรมให้รุ่งเรือง ช่วยบุคคลให้พ้นวัฏสงสารไปเป็นอันมาก พระองค์เองทรงรุ่งเรือง ดังกองไฟ แล้วเสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระฤทธิ์ ยศ- บริวาร และจักรรัตนะที่พระยุคลบาท หายไปหมดทุกอย่าง สังขาร ทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระทีปังกรชินศาสดา เสด็จนิพพาน ณ นันทารามพระสถูปของพระองค์ที่นันทารามนั้น สูง ๓๖ โยชน์ พระ สถูปบรรจุบาตร จีวร และบริขารและเครื่องบริโภคของพระองค์ ตั้งอยู่ที่ควงไม้โพธิพฤกษ์ในกาลนั้นสูง ๓ โยชน์.จบทีปังกรพุทธวงศ์ ที่ ๑ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๖๘๗๔-๗๒๖๓ หน้าที่ ๒๙๕-๓๑๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=33&A=6874&Z=7263&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=33&siri=193 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=182 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [182] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=182&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=51&A=3893 The Pali Tipitaka in Roman :- [182] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=182&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=51&A=3893 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]