ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๐. เทวทัตตสูตร
ว่าด้วยพระเทวทัตถูกอสัทธรรมครอบงำ
[๘๙] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตถูกอสัทธรรม ๓ ประการครอบงำย่ำยีจิต ต้องไป เกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ อสัทธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เทวทัตถูกความปรารถนาชั่วครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ ๒. เทวทัตถูกความมีมิตรชั่วครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไป เกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ ๓. เมื่อยังมีมรรคผลที่ควรทำให้สูงขึ้นไป เทวทัตกลับมาถึงความเสื่อม เสียกลางคัน เพราะบรรลุคุณวิเศษขั้นต่ำ ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕/๒๐, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๒๘/๔๒๗-๔๒๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๔. จตุตถวรรค ๑๐. เทวทัตตสูตร

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ใครๆ อย่าได้เกิดเป็นคนปรารถนาชั่ว ไม่ว่าในกาลไหนๆ ในโลก เธอทั้งหลายจงรู้จักเทวทัตว่า มีคติเหมือนกับคนปรารถนาชั่ว เทวทัตเป็นที่ยกย่องกันว่า เป็นบัณฑิต เป็นที่รู้กันว่า ได้อบรมตนแล้ว เราได้ฟังมาว่า เทวทัตดุจรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ เทวทัตนั้นสั่งสมความประมาท เบียดเบียนตถาคตนั้น จึงต้องไปเกิดในนรกอเวจี มีประตู ๔ ด้าน น่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนที่ไม่ประทุษร้าย ผู้ไม่ทำกรรมชั่ว บาปย่อมถูกต้องเฉพาะผู้นั้นเท่านั้น ผู้มีจิตคิดประทุษร้าย ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ผู้ใดเบียดเบียนตถาคต ผู้เสด็จไปดี มีพระทัยสงบ ด้วยการกล่าวตำหนิ การตำหนิพระองค์ ย่อมฟังไม่ขึ้น เปรียบเหมือนผู้ที่ตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทร ด้วยยาพิษจำนวนเป็นหม้อ เขาไม่อาจประทุษร้ายได้ เพราะมหาสมุทรน่ากลัว๑- @เชิงอรรถ : @ น่ากลัว หมายถึงทั้งกว้างและลึก (ขุ.อิติ.อ. ๘๙/๓๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๔. จตุตถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคาของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก พึงถึงความสิ้นทุกข์ได้ บัณฑิตทำพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกให้เป็นกัลยาณมิตร และคบหาท่านเหล่านั้น๑- แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
เทวทัตตสูตรที่ ๑๐ จบ
จตุตถวรรค จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วิตักกสูตร ๒. สักการสูตร ๓. เทวสัททสูตร ๔. ปัญจปุพพนิมิตตสูตร ๕. พหุชนหิตสูตร ๖. อสุภานุปัสสีสูตร ๗. ธัมมานุธัมมปฏิปันนสูตร ๘. อันธกรณสูตร ๙. อันตรามลสูตร ๑๐. เทวทัตตสูตร @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๕๐/๒๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๖๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๕๘-๔๖๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=204              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6227&Z=6266                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=269              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=269&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=6991              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=269&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=6991                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.3.050-099.than.html#iti-089 https://suttacentral.net/iti89/en/ireland https://suttacentral.net/iti89/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :