บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
๒๒. มหานิบาต ๑. เตมิยชาดก๑- (๕๓๘) ว่าด้วยพระเตมีย์โพธิสัตว์ (เทพธิดาผู้เคยเป็นมารดาพระโพธิสัตว์ในอัตภาพหนึ่ง ปลอบพระโพธิสัตว์ ให้สบายพระทัยแล้ว จึงกล่าวว่า) [๑] ท่านจงอย่าเปิดเผยตนว่าเป็นบัณฑิต จงให้คนทั้งปวงรู้ว่าเป็นคนโง่ ขอให้คนทั้งหมดจงดูหมิ่นท่านเถิด ความประสงค์ของท่าน จักสำเร็จได้ด้วยอาการอย่างนี้ (พระเตมีย์โพธิสัตว์กลับได้ความสบายพระทัยตามคำของเทพธิดานั้น จึงตรัสว่า) [๒] แม่เทพธิดา ข้าพเจ้าจะทำตามคำของท่าน ที่ได้กล่าวกับข้าพเจ้า แม่เทพธิดา ท่านเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์ มุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า (พระโพธิสัตว์ตรัสถามนายสารถีว่า) [๓] นายสารถี ท่านจะรีบขุดหลุมไปทำไมหนอ สหายเอ๋ย เราถามท่านแล้ว ท่านจงบอกเรา ท่านจักทำประโยชน์อะไรกับหลุมเล่า @เชิงอรรถ : @๑ เป็นชาดกที่พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการเสด็จออกบรรพชาอันยิ่งใหญ่(ในอดีต) @ได้ตรัสไว้โดยทรงเริ่มต้นด้วยคาถาแรกที่เทวดาผู้สถิตอยู่ที่เศวตฉัตรกล่าวสอนเตมิยกุมารว่า ท่านจง @อย่าเปิดเผยตนว่าเป็นบัณฑิต เป็นต้น (ขุ.ชา.อ. ๙/๑/๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๘๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
(สุนันทสารถีได้ฟังคำนั้น ขุดหลุมมิได้เงยหน้าดู จึงกราบทูลว่า) [๔] พระโอรสของพระราชาเป็นใบ้ และเป็นง่อยเปลี้ยขาดความสำนึก พระราชาตรัสสั่งข้าพเจ้าว่า ควรฝังลูกเราไว้ในป่าช้า (พระเตมีย์โพธิสัตว์ ตรัสกับสุนันทสารถีว่า) [๕] นายสารถี เรามิได้เป็นคนหนวก คนใบ้ คนเปลี้ย และมิได้เป็นคนบกพร่อง๑- ถ้าท่านพึงฝังเราไว้ในป่า ชื่อว่าพึงทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม [๖] ท่านจงดูขา แขน และฟังภาษิตของเรา ถ้าท่านพึงฝังเราไว้ในป่า ชื่อว่าพึงทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม (สุนันทสารถีไม่รู้ จึงกราบทูลว่า) [๗] ท่านเป็นเทวดา คนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ ท่านเป็นใครหรือเป็นบุตรของใคร พวกเราจักรู้จักท่านได้อย่างไร (พระเตมีย์โพธิสัตว์เมื่อแสดงตนให้ปรากฏ แสดงธรรมแก่สุนันทสารถีนั้น จึงตรัสว่า) [๘] เรามิใช่เทวดา มิใช่คนธรรพ์ ทั้งมิใช่ท้าวสักกปุรินททะ เราเป็นผู้ที่ท่านจะฝังในหลุม เป็นโอรสของพระเจ้ากาสี [๙] เราเป็นโอรสของพระราชา องค์ที่ท่านเข้าไปพึ่งบารมีเลี้ยงชีพอยู่เสมอ นายสารถี ถ้าท่านพึงฝังเราไว้ในป่า ชื่อว่าพึงทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม @เชิงอรรถ : @๑ คำว่า มิได้เป็นคนบกพร่อง หมายถึงเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์ (ขุ.ชา.อ. ๙/๕/๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๘๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
[๑๐] บุคคลพึงนั่งหรือนอนที่ร่มแห่งต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะคนผู้ประทุษร้ายมิตร ชื่อว่าเป็นคนเลวทราม [๑๑] พระราชาก็เหมือนต้นไม้ เราก็เป็นเหมือนกิ่งไม้ ข้าแต่มหาราช นายสารถีเป็นเหมือนคนผู้อาศัยร่มไม้ นายสารถี ถ้าท่านฝังเราไว้ในป่า ชื่อว่าพึงทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม (พระเตมีย์โพธิสัตว์ปรารภคาถาบูชามิตร ๑๐ คาถาว่า) [๑๒] ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร ผู้นั้นพรากจากเรือนของตนแล้ว ย่อมมีอาหารสมบูรณ์ คนเป็นอันมากย่อมเข้าไปพึ่งพาผู้นั้นเลี้ยงชีพ [๑๓] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร จะไปสู่ชนบท นิคม และราชธานีใดๆ ก็เป็นผู้อันชนทั้งหลายในชนบท นิคม และราชธานีนั้นๆ บูชาไปทุกแห่งหน [๑๔] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไม่มีพวกโจรข่มเหง พระมหากษัตริย์ก็ไม่ทรงดูหมิ่น ย่อมข้าม(ชนะ)ศัตรูทั้งปวงได้ [๑๕] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไม่โกรธเคืองใครๆ มาสู่เรือนของตน ย่อมเป็นผู้ที่มหาชนยินดีต้อนรับในที่ประชุม และเป็นคนชั้นสูงของหมู่ญาติ [๑๖] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร สักการะคนอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้ที่คนอื่นสักการะตอบ เคารพคนอื่นแล้วก็มีคนอื่นเคารพตอบ เป็นผู้อันเขาสรรเสริญเกียรติคุณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๘๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
[๑๗] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร บูชาผู้อื่น ย่อมได้รับการบูชาตอบ ไหว้ผู้อื่น ย่อมได้รับการไหว้ตอบ ทั้งได้รับอิสริยยศและเกียรติ [๑๘] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมรุ่งเรือง๑- เหมือนไฟ ย่อมรุ่งโรจน์เหมือนเทวดา เป็นผู้อันสิริไม่ทอดทิ้ง [๑๙] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีโคทั้งหลายตกลูกมาก พืชที่หว่านลงในนาย่อมงอกงาม ย่อมได้บริโภคผลของพืชทั้งหลายที่หว่านไว้แล้ว [๒๐] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร พลัดตกจากเหว ภูเขา พลาดตกต้นไม้หรือเคลื่อนจากภพ ย่อมได้ที่พึ่ง [๒๑] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ศัตรูทั้งหลายจะระรานไม่ได้ เหมือนลมระรานต้นไทรที่มีรากและลำต้นงอกงามแล้วไม่ได้ (สุนันทสารถีประคองอัญชลี ทูลวิงวอนว่า) [๒๒] ข้าแต่พระราชโอรส เชิญเสด็จเถิด กระหม่อมจักนำพระองค์เสด็จกลับ ไปยังพระราชมณเฑียรของพระองค์ เชิญพระองค์เถลิงถวัลยราชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า พระองค์จักทรงทำอะไรในป่าได้เล่า (ลำดับนั้น พระเตมีย์โพธิสัตว์จึงตรัสกับนายสุนันทสารถีนั้นว่า) [๒๓] นายสารถี พอทีสำหรับเราด้วยราชสมบัตินั้น พระญาติทั้งหลายหรือทรัพย์ทั้งหลาย ที่เราจะพึงได้ด้วยการประพฤติอันไม่ชอบธรรม @เชิงอรรถ : @๑ รุ่งเรือง ในที่นี้หมายถึงรุ่งเรืองด้วยอิสริยยศและบริวารยศ (ขุ.ชา.อ. ๙/๑๘/๒๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๘๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
(สุนันทสารถีกราบทูลว่า) [๒๔] ข้าแต่พระราชโอรส พระองค์เสด็จไปจากที่นี้แล้ว ทำให้ข้าพระองค์ได้รับรางวัล เมื่อพระองค์เสด็จกลับไป พระบิดาและพระมารดาพึงพระราชทานรางวัลให้แก่ข้าพระองค์ [๒๕] ข้าแต่พระราชโอรส เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปแล้ว พระสนมกำนัลใน พระกุมาร แพศย์ และพราหมณ์เหล่านั้น จะพึงดีใจ ให้รางวัลแก่ข้าพระองค์ [๒๖] ข้าแต่พระราชโอรส เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปแล้ว กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกองพลราบ แม้เหล่านั้นจะพากันดีใจ ให้รางวัลแก่ข้าพระองค์ [๒๗] ข้าแต่พระราชโอรส เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปแล้ว ชาวชนบทและชาวนิคมผู้มีธัญญาหารมาก จะมาประชุมกัน ให้เครื่องบรรณาการแก่ข้าพระองค์ (พระเตมีย์โพธิสัตว์ตรัสว่า) [๒๘] เราเป็นผู้อันพระบิดาและพระมารดา ชาวแคว้น ชาวนิคม และกุมารทั้งปวงสละแล้ว เราไม่มีเรือนของตน [๒๙] เราเป็นผู้อันพระมารดาทรงอนุญาตแล้ว และพระบิดาก็ทรงสละขาดแล้ว ออกไปบวชอยู่ในป่าแต่ลำพัง เราไม่พึงปรารถนากามทั้งหลาย (พระเตมีย์โพธิสัตว์เมื่อจะเปล่งอุทานด้วยกำลังปีติ จึงตรัสว่า) [๓๐] ความหวังผลของเหล่าชนผู้ไม่รีบร้อนย่อมสำเร็จแน่ เรามีพรหมจรรย์เผล็ดผลแล้ว นายสารถี ท่านจงรู้ไว้อย่างนี้เถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๘๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
[๓๑] อนึ่ง ประโยชน์โดยชอบของเหล่าชน ผู้ไม่รีบร้อน ย่อมเผล็ดผลโดยแท้ เรามีพรหมจรรย์เผล็ดผลแล้ว ออกบวชแล้วย่อมไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ (นายสุนันทสารถีกราบทูลว่า) [๓๒] พระองค์เป็นผู้มีพระวาจาไพเราะ มีพระดำรัสสละสลวยอย่างนี้ เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ตรัสในสำนัก ของพระบิดาและพระมารดาในเวลานั้น (ลำดับนั้น พระเตมีย์โพธิสัตว์ จึงตรัสว่า) [๓๓] เราเป็นคนง่อยเปลี้ย เพราะไม่มีข้อต่อก็หามิได้ เป็นคนหนวก เพราะไม่มีโสตประสาทก็หามิได้ เป็นคนใบ้ เพราะไม่มีชิวหาประสาทก็หามิได้ ท่านอย่าเข้าใจว่า เราเป็นใบ้ [๓๔] เราระลึกชาติก่อนที่เราเสวยราชสมบัติได้ เราได้เสวยราชสมบัติในครั้งนั้นแล้ว ต้องไปตกนรกอันแสนสาหัส [๓๕] เราได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้น ๒๐ ปี แล้วต้องไปหมกไหม้อยู่ในนรกถึง ๘๐,๐๐๐ ปี [๓๖] เรากลัวจะต้องได้เสวยราชสมบัตินั้น จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอชนทั้งหลายอย่าได้อภิเษกเราไว้ในราชสมบัติเลย เพราะฉะนั้น เราจึงไม่พูดในสำนัก ในสำนักของพระบิดาและพระมารดาในกาลนั้น [๓๗] พระบิดาทรงอุ้มเราให้นั่งบนพระเพลาแล้ว ตรัสพิพากษาว่า ท่านทั้งหลายจงฆ่าโจรคนหนึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๘๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
จงจองจำโจรอีกคนหนึ่งไว้ในเรือนจำ จงเอาหอกแทงโจรคนหนึ่งแล้ว ราดด้วยน้ำกรด จงเสียบโจรคนหนึ่งบนหลาว พระบิดาตรัสพิพากษาอรรถคดีแก่มหาชนนั้นด้วยประการฉะนี้ [๓๘] เราได้ฟังพระวาจาอันหยาบคายที่พระบิดาตรัสนั้น จึงกลัวต่อการเสวยราชสมบัติ เรามิได้เป็นคนใบ้ ก็ทำเหมือนเป็นคนใบ้ มิได้เป็นคนง่อยเปลี้ย ก็ทำเป็นเหมือนคนง่อยเปลี้ย เรากลิ้งเกลือกนอนจมอยู่ในอุจจาระและปัสสาวะของตน [๓๙] ชีวิตเป็นของยาก เป็นของเล็กน้อย๑- ซ้ำประกอบไปด้วยทุกข์ ใครเล่าอาศัยชีวิตนี้แล้วพึงก่อเวรกับใครๆ [๔๐] ใครเล่าอาศัยชีวิตนี้แล้วพึงก่อเวรกับใครๆ เพราะไม่ได้ปัญญาและเพราะไม่ได้เห็นธรรม [๔๑] ความหวังผลของเหล่าคนผู้ไม่รีบร้อนย่อมสำเร็จแน่ เรามีพรหมจรรย์เผล็ดผลแล้ว นายสารถี ท่านจงรู้ไว้อย่างนี้เถิด [๔๒] อนึ่ง ประโยชน์โดยชอบของเหล่าชน ผู้ไม่รีบร้อน ย่อมเผล็ดผลโดยแท้ เรามีพรหมจรรย์เผล็ดผลแล้ว ออกบวชแล้วย่อมไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ @เชิงอรรถ : @๑ ชีวิตเป็นของเล็กน้อย หมายความว่า หากชีวิตของสัตว์ทั้งหลายได้รับความลำบาก ก็จะดำรงอยู่ได้นาน @มาก แต่หากได้รับความสบาย ก็จะดำรงอยู่ได้ชั่วเวลานิดหน่อย และชีวิตนี้ยากเข็ญ เป็นของเล็กน้อย คือ @มีประมาณน้อยนิด อีกทั้งเป็นชีวิตที่ประกอบด้วยความสั่งสมทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น (ขุ.ชา.อ. ๙/๓๙/๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๘๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
(นายสุนันทสารถีได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า) [๔๓] ข้าแต่พระราชโอรส แม้ข้าพระองค์ก็จักบวชในสำนักของพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรัสอนุญาตให้ข้าพระองค์บวชด้วยเถิด ข้าพระองค์พอใจจะบวช พระเจ้าข้า (พระเตมีย์โพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๔] นายสารถี เรามอบรถให้ท่านแล้ว ท่านจงเป็นผู้ไม่มีหนี้ มาเถิด เพราะคนที่ไม่มีหนี้ จึงจะบวชได้ พวกฤๅษีทั้งหลายกล่าวสรรเสริญการบวชนั้น (สุนันทสารถีได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า) [๔๕] ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์ได้ทำตามพระดำรัสที่พระองค์ได้ตรัสไว้แล้ว ข้าพระองค์ทูลวิงวอนแล้ว ขอพระองค์ควรทรงโปรดกระทำตามคำของข้าพระองค์เถิด [๔๖] ขอพระองค์จงประทับอยู่ ณ ที่นี้ จนกว่าข้าพระองค์จะทูลเชิญเสด็จพระราชามา พระบิดาของพระองค์ทอดพระเนตรแล้ว จะพึงมีพระทัยเอิบอิ่มเป็นแน่ (พระเตมีย์โพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๗] นายสารถี เราจะทำตามคำของท่านที่กล่าวกับเรา แม้เราก็ปรารถนาจะเฝ้าพระบิดาของเราซึ่งเสด็จมา ณ ที่นี้ [๔๘] ท่านจงกลับไปเถิด สหาย การที่ท่านได้ทูลพระญาติทั้งหลายด้วยเป็นการดี ท่านรับคำสั่งเราแล้ว พึงกราบทูลการถวายบังคมพระมารดาและพระบิดาของเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๙๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๔๙] นายสารถีจับพระบาททั้ง ๒ ของพระโพธิสัตว์นั้น และทำประทักษิณพระองค์แล้ว ก็ขึ้นรถบ่ายหน้าเข้าไปยังทวารพระราชวัง [๕๐] พระมารดาทอดพระเนตรเห็นรถว่างเปล่า กลับมาแต่นายสารถีคนเดียว จึงทรงกันแสง มีพระเนตรนองด้วยพระอัสสุชล ทอดพระเนตรดูนายสารถีนั้นอยู่ [๕๑] พระนางทรงเข้าพระทัยว่า นายสารถีฝังลูกของเราแล้วจึงกลับมา ลูกของเราถูกนายสารถีฝังไว้ในแผ่นดิน กลบดินแล้วเป็นแน่ [๕๒] พวกศัตรูย่อมพากันยินดี พวกคนจองเวรต่างก็เอิบอิ่มเป็นแน่ เพราะเห็นนายสารถีฝังลูกของเรากลับมาแล้ว [๕๓] พระมารดาทอดพระเนตรเห็นรถอันว่างเปล่า กลับมาแต่นายสารถีคนเดียว มีพระเนตรนองด้วยพระอัสสุชล ทรงกันแสงอยู่ ตรัสถามนายสารถีนั้นว่า [๕๔] ลูกของเราเป็นคนใบ้จริงหรือ เป็นคนง่อยเปลี้ยจริงหรือ ลูกของเราขณะที่ท่านจะฝังดิน พูดอะไรบ้างหรือเปล่า นายสารถี ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เราด้วยเถิด [๕๕] ลูกของเราเป็นคนใบ้ เป็นคนง่อยเปลี้ย เมื่อท่านจะฝังลงดิน กระดิกมือและเท้าอย่างไร เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เราเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๙๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
(ลำดับนั้น นายสุนันทสารถีกราบทูลว่า) [๕๖] ข้าแต่พระแม่เจ้า ขอได้โปรดพระราชทานอภัยโทษแก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูล ตามที่ได้ยินและได้เห็นมาในสำนักของพระราชโอรส (พระนางจันทาเทวีตรัสกับนายสุนันทสารถีนั้นว่า) [๕๗] นายสารถีผู้สหาย เราให้อภัยโทษแก่ท่าน อย่าได้กลัวเลย จงพูดไปเถิด ตามที่ท่านได้ยินหรือได้เห็นมาในสำนักของพระราชโอรส (นายสุนันทสารถีกราบทูลว่า) [๕๘] พระราชโอรสนั้นมิได้เป็นคนใบ้ มิได้เป็นคนง่อยเปลี้ย ยังมีพระดำรัสสละสลวยไพเราะ ได้ทราบว่า พระองค์ทรงกลัวต่อการครองราชสมบัติ จึงได้ทำการลวงอย่างมากมาย [๕๙] พระองค์ทรงระลึกถึงชาติก่อน ที่พระองค์เคยได้เสวยราชสมบัติ ครั้นได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้นแล้ว ต้องไปตกนรกอย่างแสนสาหัส [๖๐] พระองค์ได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้น ๒๐ ปี แล้วต้องไปหมกไหม้อยู่ในนรกถึง ๘๐,๐๐๐ ปี [๖๑] พระองค์ทรงกลัวต่อการเสวยราชสมบัติ จึงทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอชนทั้งหลายอย่าได้อภิเษกเราในราชสมบัติเลย เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัส ในสำนักของพระบิดาและพระมารดาในกาลนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๙๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
[๖๒] พระราชโอรสทรงถึงพร้อมด้วยองคาพยพ มีพระรูปสมบัติงดงามสมส่วน มีพระวาจาสละสลวย มีพระปัญญา ทรงดำรงอยู่ในทางสวรรค์ [๖๓] ถ้าพระแม่เจ้าทรงพระประสงค์จะทอดพระเนตร พระราชโอรสของพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลเชิญเสด็จพระแม่เจ้าไปให้ถึงสถานที่ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเตมีย์ (ฝ่ายพระเจ้ากาสีทรงสดับคำของนายสุนันทสารถี จึงดำรัสสั่งให้เรียก มหาเสนคุตมา รีบให้ตระเตรียมเสด็จ ตรัสว่า) [๖๔] เจ้าหน้าที่ทั้งหลายจงเทียมรถ เทียมม้า ผูกเครื่องประคับช้าง จงประโคมสังข์และบัณเฑาะว์ ตีกลองหน้าเดียวเถิด [๖๕] จงตีกลองสองหน้าและรำมะนาอันไพเราะ ขอชาวนิคมจงตามเรามา เราจะไปให้โอวาทแก่พระโอรส [๖๖] ขอพระสนมกำนัลใน พระกุมาร แพศย์ และพราหมณ์ทั้งหลายจงรีบเทียมยาน เราจะไปให้โอวาทแก่พระโอรส [๖๗] ขอพวกกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกองพลราบจงรีบเทียมยาน เราจะไปให้โอวาทแก่พระโอรส [๖๘] ชาวชนบทและชาวนิคมมาประชุมพร้อมกันแล้ว จงรีบเทียมยานเถิด เราจะไปให้โอวาทแก่พระโอรส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๙๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
(พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๖๙] พวกนายสารถีจูงม้าสินธพที่มีฝีเท้าเร็ว เทียมเข้ากับราชรถขับมายังทวารพระราชวัง และกราบทูลว่า ม้าเหล่านี้เทียมแล้ว พระเจ้าข้า (พระราชาตรัสว่า) [๗๐] ม้าอ้วนก็ไม่มีฝีเท้าเร็ว ม้าผอมก็ไม่มีเรี่ยวแรง จงเว้นทั้งม้าผอมและม้าอ้วนเสีย เลือกเทียมแต่ม้าที่สมบูรณ์ (พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๗๑] ลำดับนั้น พระราชารีบเสด็จขึ้นประทับม้าสินธพที่เทียมแล้ว ได้ตรัสกับนางชาววังว่า พวกเจ้าทั้งหมดจงตามเรามาเถิด [๗๒] พระราชาตรัสสั่งว่า จงตระเตรียมเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง คือ พัดวาลวีชนี อุณหิส พระขรรค์ เศวตฉัตร และฉลองพระบาทที่ประดับตกแต่งด้วยทองคำขึ้นรถไปด้วย [๗๓] และต่อจากนั้น พระราชาตรัสสั่งให้นายสารถีนำทาง เสด็จเคลื่อนขบวนเข้าไปถึงสถานที่ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเตมีย์ [๗๔] ส่วนพระเตมีย์ทอดพระเนตรเห็นพระบิดา กำลังเสด็จมา ทรงรุ่งเรืองด้วยพระเดชานุภาพ ทรงแวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ จึงถวายพระพรว่า [๗๕] ขอถวายพระพรเสด็จพ่อ พระองค์ทรงสุขสบายดีหรือ ทรงพระสำราญดีหรือ ราชกัญญาทั้งปวงและพระมารดาของอาตมภาพ ไม่มีพระโรคาพาธหรือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๙๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
(พระราชาตรัสตอบว่า) [๗๖] ลูกรัก โยมสุขสบายดี ไม่มีโรคเบียดเบียน พระราชกัญญาทั้งปวงและพระมารดา ของลูกรักก็ไม่มีโรคาพาธ (ลำดับนั้น พระเตมีย์โพธิสัตว์ทูลถามพระราชาว่า) [๗๗] ขอถวายพระพรเสด็จพ่อ มหาบพิตรไม่ทรงเสวยน้ำจัณฑ์หรือ ไม่ทรงโปรดปรานการเสวยน้ำจัณฑ์หรือ พระทัยของพระองค์ทรงยินดีในสัจจะ ในธรรม และในทานหรือ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๗๘] ลูกรัก โยมไม่ดื่มน้ำจัณฑ์ และไม่โปรดปรานการดื่มน้ำจัณฑ์ ใจของโยมยังยินดีในสัจจะ ในธรรม และในทาน (พระเตมีย์โพธิสัตว์ทูลถามว่า) [๗๙] ขอถวายพระพรเสด็จพ่อ ราชพาหนะของพระองค์ที่เขาเทียมแล้วมั่นคงหรือ ราชพาหนะยังนำภาระไปได้ดีอยู่หรือ มหาบพิตร พยาธิที่จะเข้าไปแผดเผาพระสรีระของพระองค์ไม่มีหรือ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๘๐] พาหนะมีม้าและโคเป็นต้นของโยมที่เทียมแล้วมั่นคง ราชพาหนะก็ยังนำภาระไปได้ พยาธิที่เข้าไปแผดเผาสรีระของโยมก็ไม่มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๙๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
(พระเตมีย์โพธิสัตว์ทูลถามว่า) [๘๑] ชุมชนแถบชายแดนของพระองค์ยังมั่งคั่งหรือ คามนิคมในท่ามกลางรัฐของพระองค์ ยังเป็นที่อยู่แน่นหนามั่งคั่งอยู่หรือ ฉางหลวงและท้องพระคลังของพระองค์ยังบริบูรณ์ดีอยู่หรือ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๘๒] ชุมชนแถบชายแดนของโยมยังมั่งคั่ง คามนิคมในท่ามกลางแคว้นก็ยังอยู่แน่นหนาดี ฉางหลวงและท้องพระคลังของโยม ก็ยังคงบริบูรณ์ดีทุกอย่าง (พระเตมีย์โพธิสัตว์ตรัสว่า) [๘๓] ข้าแต่มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มิได้เสด็จมาร้าย ขอมหาดเล็กทั้งหลายจงจัดตั้งบัลลังก์ ซึ่งเป็นที่ประทับนั่งถวายพระราชาเถิด [๘๔] เชิญประทับนั่ง ณ เครื่องลาดใบไม้ที่เขาปูไว้เรียบร้อย ถวายมหาบพิตร ณ ที่นี้เถิด จงทรงตักน้ำจากภาชนะนี้ล้างพระบาทของพระองค์เถิด [๘๕] ขอถวายพระพรมหาบพิตร ใบหมากเม่าของอาตมภาพนี้เป็นของสุกไม่เค็ม พระองค์มาเป็นแขกของอาตมภาพแล้ว เชิญเสวยเถิด (พระราชาตรัสว่า) [๘๖] โยมไม่บริโภคใบหมากเม่า เพราะใบหมากเม่านี้มิใช่อาหารของโยม โยมบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่ปรุงด้วยเนื้ออันสะอาด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๙๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
(พระราชาตรัสกับพระเตมีย์โพธิสัตว์แล้ว จึงตรัสคาถาว่า) [๘๗] ความน่าอัศจรรย์ปรากฏชัดเจนกับโยม เพราะได้เห็นลูกรักอยู่ในที่ลับแต่ผู้เดียว เพราะเหตุไร ผิวพรรณของผู้บริโภคอาหารเช่นนี้จึงผ่องใสเล่า (พระเตมีย์โพธิสัตว์เมื่อจะทูลพระราชานั้น จึงตรัสว่า) [๘๘] ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาตมภาพจำวัดตามลำพังบนเครื่องลาดใบไม้ เพราะการจำวัดตามลำพังนั้น ผิวพรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส [๘๙] อนึ่ง อาตมภาพไม่มีราชองครักษ์คาดกระบี่คอยป้องกัน เพราะการจำวัดตามลำพังของอาตมภาพนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส ขอถวายพระพร [๙๐] อาตมภาพมิได้เศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว มิได้ปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะฉะนั้น ผิวพรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส [๙๑] เพราะการปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง เพราะเศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว ทั้ง ๒ อย่างนี้ พวกคนพาลซูบซีดเหี่ยวแห้ง เหมือนไม้อ้อที่เขียวสดถูกถอนทิ้งไว้ (ลำดับนั้น พระราชาทรงเชิญพระเตมีย์โพธิสัตว์ให้ครองราชสมบัติ จึงตรัสว่า) [๙๒] ลูกรัก โยมขอมอบกองพลช้าง๑- กองพลม้า กองพลรถ กองพลราบ เหล่าทหารผูกโล่ และพระนิเวศน์ที่น่ารื่นรมย์แก่ลูก @เชิงอรรถ : @๑ กองพลช้าง หมายถึงกองทัพที่จัดขึ้นเป็นหมู่ใหญ่ นับช้างตั้งแต่สิบเชือกขึ้นไป ที่ชื่อว่ากองพลรถ @ก็เช่นเดียวกัน (ขุ.ชา.อ. ๙/๙๒/๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๙๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
[๙๓] โยมขอมอบพระสนมกำนัลในผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ลูกรักจงปกครองพระสนมกำนัลในเหล่านั้น จงเป็นพระราชาของโยมทั้งหลาย [๙๔] หญิงทั้ง ๔ คนผู้ฉลาดในการฟ้อนรำและการขับร้อง ศึกษาดีแล้วในหน้าที่ของหญิงแม้อื่นๆ จักทำลูกรักให้รื่นรมย์ในกามได้ ลูกจักทำอะไรในป่าเล่า [๙๕] โยมจักนำราชกัญญาจากพระราชาอื่นๆ ผู้ประดับดีแล้วมา ขอลูกรักให้กำเนิดพระโอรสในหญิงเหล่านั้นแล้ว จึงบวชในภายหลังเถิด [๙๖] ลูกรักยังหนุ่มแน่นอยู่ในปฐมวัย ผมดำสนิท จงครอบครองราชสมบัติก่อนเถิด ขอลูกจงมีความเจริญ ลูกจักทำอะไรในป่าเล่า (พระเตมีย์โพธิสัตว์แสดงธรรมโปรดพระราชาว่า) [๙๗] คนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ควรจะเป็นคนหนุ่ม เพราะการบวชของคนหนุ่ม ฤๅษีทั้งหลายสรรเสริญแล้ว [๙๘] คนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ควรเป็นคนหนุ่ม อาตมภาพจักประพฤติพรหมจรรย์ อาตมภาพไม่ต้องการราชสมบัติ [๙๙] อาตมภาพเห็นเด็กหนุ่มของท่านทั้งหลาย ผู้เรียกมารดาและบิดา ซึ่งเป็นบุตรที่รักได้มาโดยยาก ยังไม่ทันถึงความแก่เลยก็ตายเสียแล้ว [๑๐๐] อาตมภาพเห็นเด็กสาวของท่านทั้งหลาย ที่สวยสดงดงาม สิ้นชีวิต เหมือนหน่อไม้ไผ่ที่ถูกถอน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๙๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
[๑๐๑] จริงอยู่ จะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม แม้ยังหนุ่มสาวก็ตาย เพราะฉะนั้น ใครเล่าจะพึงวางใจในชีวิตนั้นได้ว่า เรายังเป็นหนุ่มสาว [๑๐๒] อายุของคนเป็นของน้อย เพราะวันคืนล่วงไปๆ เปรียบเหมือนอายุของฝูงปลาในน้ำน้อย ความเป็นหนุ่มสาวในวัยนั้นจักทำอะไรได้ [๑๐๓] สัตวโลกถูกครอบงำและถูกรุมล้อมอยู่เป็นนิตย์ เมื่อราตรีทั้งหลายทำอายุ วรรณะ และกำลัง ของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไปเป็นไปอยู่ มหาบพิตรจะอภิเษกอาตมภาพในราชสมบัติทำไม (พระราชาตรัสว่า) [๑๐๔] สัตวโลกถูกอะไรครอบงำ และถูกอะไรรุมล้อมไว้ อะไรชื่อว่าราตรีที่ทำอายุ วรรณะ และกำลังของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไปเป็นไปอยู่ โยมถามแล้ว ขอลูกรักจงบอกข้อนั้นแก่โยมเถิด (พระเตมีย์โพธิสัตว์ทูลว่า) [๑๐๕] สัตวโลกถูกความตายครอบงำ และถูกความแก่รุมล้อมไว้ วันคืนที่ชื่อว่าทำอายุ วรรณะ และกำลังของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไปก็เป็นไปอยู่ มหาบพิตร ขอจงทรงทราบอย่างนี้ ขอถวายพระพร [๑๐๖] เมื่อเส้นด้ายที่เขากำลังทอ ช่างหูกทอไปได้เท่าใด ส่วนที่ต้องทอต่อไป โยมก็พึงทราบว่า เหลืออยู่น้อยเท่านั้นฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๑๙๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
[๑๐๗] ห้วงน้ำที่เต็มฝั่งเมื่อไหลไปย่อมไม่ไหลกลับฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลายเมื่อผ่านไป ก็ย่อมไม่หวนกลับคืนฉันนั้น [๑๐๘] ห้วงน้ำที่เต็มฝั่งย่อมพัดพาเอาต้นไม้ ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้หักโค่นไปฉันใด สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัดพาไปฉันนั้น (พระราชาสดับธรรมกถาของพระเตมีย์โพธิสัตว์แล้ว จะเชิญให้ครองราชสมบัติอีก จึงตรัสว่า) [๑๐๙] ลูกเอ๋ย โยมขอมอบกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ กองพลราบ เหล่าทหารผูกโล่ และพระราชนิเวศน์ที่น่ารื่นรมย์แก่ลูก [๑๑๐] อนึ่ง โยมขอมอบพระสนมกำนัลใน ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ลูกเอ๋ย จงปกครองพระสนมกำนัลในเหล่านั้น ลูกจักเป็นพระราชาของโยมทั้งหลาย [๑๑๑] หญิงทั้ง ๔ คนผู้ฉลาดในการฟ้อนรำและการขับร้อง ศึกษาดีแล้วในหน้าที่ของหญิงอื่นๆ จักทำลูกรักให้รื่นรมย์ในกามได้ ลูกจะทำอะไรในป่าเล่า [๑๑๒] โยมจักนำราชกัญญาจากพระราชาอื่นๆ ผู้ประดับแล้วมาให้แก่ลูก ลูกให้หญิงเหล่านั้นกำเนิดพระโอรสแล้ว จึงบวชในภายหลังเถิด [๑๑๓] ลูกยังหนุ่มแน่นอยู่ในปฐมวัย มีผมดำสนิท จงครอบครองราชสมบัติก่อนเถิด ขอลูกจงมีความเจริญ ลูกจักทำอะไรในป่าเล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๒๐๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๑. เตมิยชาดก (๕๓๘)
[๑๑๔] ลูกเอ๋ย โยมขอมอบฉางหลวง พระคลัง พาหนะ พลนิกาย และพระราชนิเวศน์อันน่ารื่นรมย์แก่ลูก [๑๑๕] ลูกจงแวดล้อมด้วยแวดวงราชกัญญาที่งามพร้อม จงแวดล้อมด้วยหมู่พระสนมกำนัลใน จงครอบครองราชสมบัติก่อนเถิด ขอลูกจงมีความเจริญ ลูกจักทำอะไรในป่าเล่า (พระเตมีย์โพธิสัตว์เมื่อจะประกาศความที่ตนไม่ปรารถนาราชสมบัติ จึงทูลว่า) [๑๑๖] มหาบพิตรจะให้อาตมภาพเสื่อมไปเพราะทรัพย์ทำไม บุคคลจักตายเพราะภรรยาทำไม ประโยชน์อะไรด้วยความเป็นหนุ่มสาวที่แก่เฒ่า เพราะถูกชราครอบงำ [๑๑๗] ในโลกสันนิวาสที่มีชราและมรณะเป็นธรรมดานั้น จะเพลิดเพลินไปทำไม จะเล่นหัวไปทำไม จะยินดีไปทำไม จะแสวงหาทรัพย์ไปทำไม จะมีประโยชน์อะไรด้วยลูกและเมียแก่อาตมภาพ อาตมภาพเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูก ขอถวายพระพร [๑๑๘] มัจจุราชย่อมไม่ย่ำยีอาตมภาพผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลถูกมัจจุราชครอบงำแล้ว จะยินดีไปทำไม จะแสวงหาทรัพย์ไปทำไม [๑๑๙] ภัยของผลไม้ที่สุกแล้วทั้งหลาย ย่อมมีเพราะหล่นลงเป็นนิตย์ฉันใด ภัยของเหล่าสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมีเพราะความตายอยู่เป็นนิตย์ฉันนั้น [๑๒๐] คนเป็นจำนวนมากที่ได้พบกันในตอนเช้า ตกตอนเย็นบางพวกก็ไม่เห็นกัน คนเป็นจำนวนมากที่ได้พบกันในตอนเย็น ตกตอนเช้าบางพวกก็ไม่เห็นกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๒๐๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๒. มหาชนกชาดก (๕๓๙)
[๑๒๑] ควรรีบทำความเพียรเสียแต่ในวันนี้ ใครเล่าจะพึงรู้ได้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ เพราะความผ่อนผันกับมัจจุราชที่มีเสนาหมู่ใหญ่นั้น ไม่มีแก่เราทั้งหลายเลย [๑๒๒] พวกโจรย่อมปรารถนาทรัพย์ มหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูก เชิญมหาบพิตรเสด็จกลับไปเถิด อาตมภาพไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ ขอถวายพระพรเตมิยชาดกที่ ๑ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๘ หน้าที่ ๑๘๓-๒๐๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=28&siri=13 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=28&A=2607&Z=2870 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=394 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=28&item=394&items=48 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=43&A=1 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=28&item=394&items=48 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=43&A=1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu28 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja538/en/cowell-rouse
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]