บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
เปรียบเทียบอธิกรณ์ [๑๑๑๗] เรื่องที่เห็นสมด้วยเรื่องที่เห็น เรื่องที่เห็นเทียบกันได้ กับเรื่องที่เห็น แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการเห็น บุคคลนั้นถูก รังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น. เรื่องที่ได้ยินได้ฟังสมด้วยเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง เทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการ ได้ยินได้ฟัง บุคคลนั้นถูกรังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น เรื่องที่ได้ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ. เรื่องที่ได้ทราบเทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ทราบ แต่บุคคลนั้นไม่ยอม รับ เพราะอาศัยการได้ทราบ บุคคลนั้นถูกรังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับ อาบัติตามปฏิญญา พึงทำปวารณากับบุคคลนั้นเถิด.จำแนกการเห็น [๑๑๑๘] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ถามถึงอะไร? คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ถามถึงอะไร? คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ถามถึงอะไร? คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น ถามถึงอะไร? [๑๑๑๙] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ถามถึงวัตถุ ถามถึงวิบัติ ถามถึงอาบัติ ถาม ถึงอัธยาจาร. ข้อว่า ถามถึงวัตถุ นั้น คือ ถามถึงวัตถุปาราชิก ๘ ถามถึงวัตถุสังฆาทิเสส ๒๓ ถามถึงวัตถุอนิยต ๒ ถามถึงวัตถุนิสสัคคิยะ ๔๒ ถามถึงวัตถุปาจิตตีย์ ๑๘๘ ถามถึงวัตถุปาฏิเทสนียะ ๑๒ ถามถึงวัตถุทุกกฏทั้งหลาย ถามถึงวัตถุทุพภาสิตทั้งหลาย. ข้อว่า ถามถึงวิบัติ นั้น คือ ถามถึงศีลวิบัติ ถามถึงอาจารวิบัติ ถามถึงทิฏฐิวิบัติ ถามถึงอาชีววิบัติ. ข้อว่า ถามถึงอาบัติ นั้น คือ ถามถึงอาบัติปาราชิก ถามถึงอาบัติสังฆาทิเสส ถามถึงอาบัติถุลลัจจัย ถามถึงอาบัติปาจิตตีย์ ถามถึงอาบัติปาฏิเทสนียะ ถามถึงอาบัติทุกกฏ ถามถึงอาบัติทุพภาสิต. ข้อว่า ถามถึงอัธยาจาร นั้น คือ ถามถึงการร่วมกันเป็นคู่ๆ ฯ [๑๑๒๐] คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ได้แก่ถามถึงเพศ ถามถึงอิริยาบถ ถามถึงอาการ ถามถึงประการอันแปลก. ข้อว่า ถามถึงเพศ นั้น หมายถึงว่า สูงหรือต่ำ ดำหรือขาว. ข้อว่า ถามถึงอิริยาบถ นั้น หมายถึงว่า เดินหรือยืน นั่งหรือนอน. ข้อว่า ถามถึงอาการ นั้น หมายถึงเพศคฤหัสถ์ เพศเดียรถีย์ หรือเพศบรรพชิต. ข้อว่า ถามถึงประการอันแปลก นั้น หมายถึงเดินไปหรือยืนอยู่นั่งหรือนอน. [๑๑๒๑] ถามว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น คือ ถามถึงกาล ถามถึงสมัย ถามถึงวัน ถามถึงฤดู. ข้อว่า ถามถึงกาล นั้น หมายถึงเวลาเช้า เวลาเที่ยง หรือเวลาเย็น. ข้อว่า ถามถึงสมัย นั้น หมายถึงสมัยเช้า สมัยเที่ยง หรือสมัยเย็น. ข้อว่า ถามถึงวัน นั้น หมายถึงก่อนอาหาร หรือหลังอาหาร กลางคืนหรือกลางวัน ข้างแรมหรือข้างขึ้น. ข้อว่า ถามถึงฤดู นั้น หมายถึงฤดูหนาว ฤดูร้อน หรือฤดูฝน. [๑๑๒๒] คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น คือ ถามถึงสถานที่ ถามถึงพื้นที่ ถามถึง โอกาส ถามถึงประเทศ. ข้อว่า ถามถึงสถานที่ นั้น หมายถึงพื้นที่หรือแผ่นดิน ธรณี หรือทางเดิน. ข้อว่า ถามถึงพื้นที่ นั้น หมายถึงแผ่นดินหรือภูเขา หินหรือปราสาท. ข้อว่า ถามถึงโอกาส นั้น หมายถึงในโอกาสด้านตะวันออก หรือโอกาสด้าน ตะวันตก โอกาสด้านเหนือ หรือโอกาสด้านใต้. ข้อว่า ถามถึงประเทศ นั้น หมายถึงในประเทศด้านตะวันออก หรือประเทศ ด้านตะวันตก ในประเทศด้านเหนือ หรือประเทศด้านใต้.มหาสงคราม จบ ----------------------------------------------------- หัวข้อประจำเรื่อง [๑๑๒๓] วัตถุ นิทาน อาการ คำต้น คำหลัง สิ่งที่ทำแล้ว สิ่งที่ยังไม่ได้ทำ กรรม อธิกรณ์ และสมถะ และลำเอียง เพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลง และเพราะกลัว ให้เข้าใจและพินิจ เพ่งเล็ง เลื่อมใส มีพรรคพวกมีสุตะ แก่กว่า เรื่องที่ยังไม่มาถึง เรื่องที่มา ถึงแล้ว โดยธรรม โดยวินัย และแม้โดยสัตถุศาสน์ ชื่อว่า มหาสงคราม แล.หัวข้อประจำเรื่อง จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๐๐๔๓-๑๐๐๙๙ หน้าที่ ๓๘๕-๓๘๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=10043&Z=10099&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1117&items=7 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1117&items=7&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1117&items=7 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1117&items=7 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1117 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]