ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ

๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการให้บ่งฝีในร่มผ้า
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๑๐๖๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งให้บ่งฝีที่เกิดใน ร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับชาย ลำดับนั้น ชายนั้นพยายามจะข่มขืนภิกษุณีนั้น เธอ ได้ส่งเสียงร้องขึ้น ภิกษุณีทั้งหลายวิ่งเข้าไปได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า เธอส่งเสียงร้องทำไม” เธอจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุณีจึงใช้ชายให้บ่งฝีที่เกิดในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับชายเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีใช้บุรุษให้บ่งฝีที่เกิด ในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับบุรุษ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจึงใช้บุรุษให้บ่งฝีที่เกิดในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับบุรุษเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๘๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๑๐๖๓] ก็ภิกษุณีใดไม่บอกสงฆ์หรือคณะ ใช้ให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะล้าง ให้ทา ให้พัน หรือให้แกะฝีหรือบาดแผลที่เกิดในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับชาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์๑-
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๖๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ในร่มผ้า ได้แก่ บริเวณใต้สะดือลงมา เหนือเข่าขึ้นไป คำว่า ที่เกิด คือ ที่เกิดในบริเวณนั้น ที่ชื่อว่า ฝี ได้แก่ ฝีชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่า บาดแผล ได้แก่ แผลอย่างใดอย่างหนึ่ง คำว่า ไม่บอก คือ ไม่แจ้งให้ทราบ ที่ชื่อว่า สงฆ์ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงภิกษุณีสงฆ์ ที่ชื่อว่า คณะ ตรัสหมายถึงภิกษุณีหลายรูป @เชิงอรรถ : @ ภิกษุณีไม่บอกสงฆ์หรือคณะ ใช้ให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะล้าง ให้ทา ให้พัน ให้แกะ ชายนั้นทำหมดทุกอย่างตามที่ใช้ @ภิกษุณีนั้นต้องอาบัติทุกกฏ ๖ ตัว ในขณะที่ใช้ เมื่อชายนั้นทำเสร็จ ภิกษุณีต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๖ ตัว หรือ @แม้จะใช้ให้เขาทำตามที่เห็นสมควร เมื่อเขาทำเสร็จทุกอย่าง ก็ต้องอาบัติทุกกฏ ๖ ตัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @๖ ตัวเช่นกัน แต่ถ้าใช้ให้ทำเพียงอย่างเดียว แม้ชายนั้นจะทำหมดทุกอย่าง ก็ต้องอาบัติทุกกฏ และ @ปาจิตตีย์เพียง ๑ ตัว (กงฺขา.อ. ๓๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๘๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร

ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉาน ตัวผู้ แต่เป็นมนุษย์ผู้ชายที่รู้เดียงสา สามารถที่จะทำมิดีมิร้ายได้ คำว่า ด้วยกัน คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน คำว่า สองต่อสอง คือ บุรุษและภิกษุณี [๑๐๖๕] ภิกษุณีสั่งว่า “จงบ่ง” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อบ่งเสร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ภิกษุณีสั่งว่า “จงผ่า” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อผ่าเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุณีสั่งว่า “จงชะล้าง” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อชะล้างเสร็จ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ภิกษุณีสั่งว่า “จงทา” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อทาเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุณีสั่งว่า “จงพัน” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อพันเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุณีสั่งว่า “จงแกะ” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อแกะเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๐๖๖] ๑. ภิกษุณีบอกสงฆ์หรือคณะแล้วจึงให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะล้าง ให้ทา ให้พันหรือให้แกะ ๒. ภิกษุณีมีสตรีผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน ๓. ภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อารามวรรคที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๘๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๘๗-๒๘๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=88              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=4847&Z=4895                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=361              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=361&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11725              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=361&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11725                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.361 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc60/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc60/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :