ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในสำนักภิกษุณี
[๓๗๖] ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ จีวรเข้าไปยังสำนักภิกษุณีแห่งหนึ่ง นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น ภิกษุณี @เชิงอรรถ : @ เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต หมายถึงวิปัสสนาสมาธิ (สํ.สฬา.อ. ๓/๓๔๐/๑๕๑) @ มีตนเป็นเกาะ หมายถึงทำตนให้พ้นจากห้วงน้ำคือโอฆะ ๔ เหมือนกับเกาะกลางมหาสมุทรที่น้ำท่วมไม่ถึง @ฉะนั้น (สํ.ม.อ. ๓/๓๗๕/๒๗๗, ที.ม.อ. ๑๖๕/๑๕๐, ที.ม.ฏีกา ๑๖๕/๑๘๐) @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๖๓-๑๖๕/๑๐๙-๑๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๒๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]

๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร

หลายรูปเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ ท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ภิกษุณีจำนวนมากในพระธรรมวินัยนี้มีจิต ตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่ มีอยู่ก่อน” ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น น้องหญิง ทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีใน สติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษ อันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน” จากนั้นได้ชี้แจงให้ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากอาสนะจากไป ต่อมา ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ จีวรเข้าไปยังสำนักภิกษุณีแห่งหนึ่ง นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น ภิกษุณี จำนวนมากเข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ภิกษุณีจำนวนมากในพระธรรมวินัยนี้มีจิตตั้งมั่นดี ในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงกล่าวว่า ‘น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็น อย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่ มีอยู่ก่อน’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๒๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]

๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ ความเร่าร้อนในกายที่มีกายเป็นอารมณ์เกิดขึ้นบ้าง จิตหดหู่บ้าง จิตฟุ้งซ่านไปภายนอกบ้าง ภิกษุนั้นพึงตั้งจิต ไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อ เธอตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้ง มั่น เธอพิจารณาเห็นว่า ‘เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา เอาเถิด บัดนี้เราจะคุมจิตไว้’ เธอคุมจิตไว้ ไม่ตรึก และไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติในภายใน มีความสุข’ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ... ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ... ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ความเร่าร้อนในกายที่มี ธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้นบ้าง จิตหดหู่บ้าง จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก บ้าง ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความ เลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้ รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอพิจารณาเห็นว่า ‘เราตั้งจิตไว้ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา เอาเถิด บัดนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๒๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]

๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร

เราจะคุมจิตไว้’ เธอคุมจิตไว้ ไม่ตรึก และไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติในภายใน มีความสุข’ อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะการตั้งจิตไว้ อย่างนี้ ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ อย่างไร คือ ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลัง๑- หรือข้างหน้า๒- หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’ ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข’ ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’ ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข” ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’ ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข’ ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’ ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข’ อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ อย่างนี้ อานนท์ ภาวนาเพราะการตั้งจิตไว้เราได้แสดงแล้ว ภาวนาเพราะการไม่ตั้งจิตไว้ เราก็ได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้ @เชิงอรรถ : @ ข้างหลัง ในที่นี้มีความหมาย ๓ นัย คือ (๑) พระอรหัต (๒) กะโหลกศีรษะ หรือ (๓) มันสมอง @(สํ.ม.อ. ๓/๓๗๖/๒๗๙) @ ข้างหน้า ในที่นี้มีความหมาย ๓ นัย คือ (๑) ความยึดมั่นกัมมัฏฐาน (๒) ปลายนิ้วเท้า หรือ (๓) ผม @(สํ.ม.อ. ๓/๓๗๖/๒๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๒๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]

๒. นาลันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อานนท์ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลผู้อนุเคราะห์พึงอาศัย ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้ มีความร้อนใจในภายหลัง นี้คือคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดี ชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ภิกขุนูปัสสยสูตรที่ ๑๐ จบ
อัมพปาลิวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัมพปาลิสูตร ๒. สติสูตร ๓. ภิกขุสูตร ๔. สาลสูตร ๕. อกุสลราสิสูตร ๖. สกุณัคฆิสูตร ๗. มักกฏสูตร ๘. สูทสูตร ๙. คิลานสูตร ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๒๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๒๔-๒๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=140              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=4136&Z=4212                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=714              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=714&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6054              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=714&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6054                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn47/sn47.010.olen.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn47/sn47.010.wlsh.html https://suttacentral.net/sn47.10/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.10/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :