บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๔. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร ว่าด้วยชาณุสโสณิพราหมณ์ [๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร๑- เข้าไป บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้เห็นพราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิออกจากกรุงสาวัตถีด้วยรถ เทียมด้วยม้าขาวล้วน นัยว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว @เชิงอรรถ : @๑ คำว่า ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร นี้มิใช่ว่าก่อนหน้านี้ พระอานนท์มิได้นุ่งสบง มิใช่ว่า @พระอานนท์ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยกายส่วนบน แต่คำว่า ครองอันตรวาสก หมายถึงท่าน @ผลัดเปลี่ยนสบง หรือขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า ถือบาตรและจีวร หมายถึงถือบาตรด้วยมือ @ถือจีวรด้วยกาย คือห่มจีวรแล้วอุ้มบาตรนั่นเอง ดูเทียบ วิ.อ. ๑/๑๖/๑๘๐, ที.ม.อ. ๑๕๓/๑๔๓, @ม.มู.อ. ๑/๖๓/๑๖๓, ขุ.อุ.อ. ๖/๖๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๔. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร
ประทุนขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว และพัดวาลวีชนี (พัดหรือแส้ขนจามรี) ก็ขาว ชนทั้งหลายเห็นท่านแล้วพากันพูด อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ยานประเสริฐหนอ รูปของยานก็ประเสริฐหนอ ต่อมา ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ในเวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตร และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้เห็นชาณุสโสณิพราหมณ์ออกจากกรุง สาวัตถีด้วยรถเทียมด้วยม้าขาวล้วน นัยว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว และพัดวาลวีชนีก็ขาว ชนทั้งหลายเห็นท่านแล้วพากันพูดว่า ท่าน ผู้เจริญ ยานประเสริฐหนอ รูปของยานก็ประเสริฐหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทรงบัญญัติยานอันประเสริฐในพระธรรมวินัยนี้ได้หรือหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ อาจบัญญัติได้ คำว่า ยานอันประเสริฐ นั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เอง เรียกว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง สัมมาทิฏฐิที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด สัมมาสังกัปปะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด สัมมาวาจาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด สัมมากัมมันตะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๔. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร
สัมมาอาชีวะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด สัมมาวายามะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด สัมมาสติที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด คำว่า ยานอันประเสริฐ นั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เอง เรียกว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้างนั้น พึงทราบโดย ปริยายนี้แล พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา- ประพันธ์ต่อไปอีกว่า รถ๑- ใดมีธรรมคือศรัทธาและปัญญาเป็นแอกทุกเมื่อ มีหิริเป็นงอน มีใจเป็นเชือก มีสติเป็นนายสารถีผู้คอยควบคุม รถนี้มีศีล๒- เป็นเครื่องประดับ มีฌาน๓- เป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ มีอุเบกขาเป็นทูบ๔- มีความไม่อยากได้เป็นประทุน @เชิงอรรถ : @๑ รถ ในที่นี้หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ (สํ.ม.อ. ๓/๔/๑๘๔) @๒ ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ได้แก่ (๑) ปาติโมกขสังวรศีล (๒) อินทรียสังวรศีล (๓) อาชีวปาริสุทธิศีล @(๔) ปัจจยสันนิสิตศีล (สํ.ม.อ. ๓/๔/๑๘๔) @๓ ฌาน ในที่นี้หมายถึงฌาน ๕ (ปฐมฌาน, ทุติยฌาน, ตติยฌาน, จตุตถฌาน, ปัญจมฌาน) ที่สัมปยุต @ด้วยวิปัสสนา (สํ.ม.อ. ๓/๔/๑๘๔) @๔ ทูบ แปลมาจากคำว่า ธุรสมาธิ (ที่ยึดแอก) หมายถึงส่วนที่ทำให้แอกหยุดขยับไปมา (สํ.ม.อ. ๓/๔/๑๘๔) @พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๔๐๖ ให้คำนิยาม คำว่า ทูบ ไว้ว่า ไม้แม่แคร่ @เกวียนที่ยื่นออกไปติดกับแอก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๗}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๕. กิมัตถิยสูตร
กุลบุตรใดมีความไม่พยาบาท มีความไม่เบียดเบียนและมีวิเวก๑- เป็นอาวุธ มีความอดทนเป็นเกราะหนัง กุลบุตรนั้นย่อมประพฤติเพื่อความเกษมจากโยคะ พรหมยานอันยอดเยี่ยมนี้ เกิดแล้วในตนของบุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ มีชัยชนะ ย่อมออกไปจากโลกโดยแท้ชาณุสโสณิพราหมณสูตรที่ ๔ จบ ๕. กิมัตถิยสูตร ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของการประพฤติพรหมจรรย์ [๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์ อะไร ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว ตอบอย่างนี้ ชื่อว่า พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ @เชิงอรรถ : @๑ วิเวก ในที่นี้หมายถึงวิเวก ๓ มีกายวิเวกเป็นต้น (สํ.ม.อ. ๓/๔/๑๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๘}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕-๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=4 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=74&Z=124 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=12 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=12&items=13 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3945 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=12&items=13 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3945 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i001-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn45.4/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.4/en/bodhi
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]