บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑๒. นทีสูตร
๑๒. นทีสูตร ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำ [๑๖๐] ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไป สู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน ถ้าหมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามา ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักช่วยกันทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลัง เธอทั้งหลายจักเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หมู่มหาชนนั้นจะพึง ทดแม่น้ำคงคาให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังได้หรือ ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ ปราจีน พระพุทธเจ้าข้า ใครๆ จะทดแม่น้ำคงคานั้นให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังมิใช่ทำได้ง่าย แต่หมู่มหาชนนั้นพึงมีส่วนแห่งความลำบาก เหน็ดเหนื่อยแน่นอน อุปมานี้แม้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระราชา มหาอำมาตย์ของ พระราชา มิตร๑- อำมาตย์๒- ญาติ๓- สาโลหิต๔- ก็ตาม พึงปวารณาภิกษุผู้เจริญ อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากเพื่อให้ยินดียิ่งด้วยโภคทรัพย์ ทั้งหลายว่า มาเถิดพระคุณเจ้าผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ทำให้ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ @เชิงอรรถ : @๑ มิตร หมายถึงคนรู้จักกัน เพราะการใช้ของในเรือนร่วมกัน เช่น ให้ของแก่กันและกัน หรือรับของจากกัน @(สํ.ม.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙) @๒ อำมาตย์ หมายถึงผู้ร่วมงานกัน ทำประโยชน์ร่วมกัน เช่นปรึกษาหารือกัน หรือไปมาด้วยกัน @(สํ.ม.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙) @๓ ญาติ หมายถึงผู้เกี่ยวข้องกันโดยการแต่งงานกัน ได้แก่ มารดาบิดาของสามีและเครือญาติฝ่ายมารดา @บิดาของสามี หรือมารดาบิดาของภรรยาและเครือญาติฝ่ายมารดาบิดาของภรรยา @(องฺ.ติก.อ. ๒/๗๖/๒๒๗, สํ.ม.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙) @๔ สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน เช่น พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว ลุง ป้า @(องฺ.ติก.อ. ๒/๗๖/๒๒๗, สํ.ม.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗) หรือญาติฝ่ายมารดา (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๗๖/๒๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๘๙}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ท่านจะเป็นคนหัวโล้นเที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด เชิญท่านกลับมาเป็น คฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญเถิด เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นผู้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก จักบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นไปไม่ได้ เลยที่จิตนั้นอันน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวกตลอดกาลนานแล้ว จักเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในโวสสัคคะ ฯลฯ ๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล (พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนพลสูตรฉะนั้น)นทีสูตรที่ ๑๒ จบ พลกรณียวรรคที่ ๑๒ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร ๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๙๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๘๙-๙๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=61 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=1801&Z=1835 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=296 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=296&items=2 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4395 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=296&items=2 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4395 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i264-e.php#sutta45 https://suttacentral.net/sn45.160/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.160/en/bodhi
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]