ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ปัตตวรรค
๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท
ว่าด้วยอัจเจกจีวร
เรื่องมหาอมาตย์ถวายผ้าจำนำพรรษา
[๖๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น มหาอมาตย์คนหนึ่งจะไปค้างคืน ต่างถิ่น ส่งทูตไปหาภิกษุว่า “ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายมาเถิด กระผมจะถวายผ้าจำนำ พรรษา๑-” ภิกษุทั้งหลายรังเกียจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าจำนำพรรษาแก่ ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา” จึงไม่ไป มหาอมาตย์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ทำไมพระคุณเจ้าทั้งหลายเมื่อเรา ส่งทูตไปจึงไม่มาเล่า เราจะเดินทางไปรบ จะเป็นจะตายก็ยากจะรู้ได้” พวกภิกษุได้ทราบข่าวที่มหาอมาตย์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตอัจเจกจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับอัจเจกจีวร๒- เก็บไว้ได้” [๖๔๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้รับ อัจเจกจีวรเก็บไว้ได้” จึงรับอัจเจกจีวรเก็บไว้จนเกินสมัยจีวรกาล จีวรเหล่านั้นภิกษุ ห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะเห็นจีวรเหล่านั้นแขวนอยู่ที่สาย ระเดียง จึงกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “จีวรเหล่านี้ของใครแขวนไว้ที่สายระเดียง” @เชิงอรรถ : @ ผ้าจำนำพรรษา คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว (ดูข้อ ๖๔๙ หน้า ๑๖๙ ประกอบ) @ อัจเจกจีวร หมายถึงจีวรรีบร้อนหรือผ้าจำนำพรรษาที่ทายกผู้มีเหตุรีบร้อนขอถวายก่อนกำหนดเวลาปกติ @มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับเก็บไว้ได้ แต่ต้องรับก่อนวันปวารณาไม่เกิน ๑๐ วัน (ดูข้อ ๖๔๙ หน้า ๑๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๖๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท พระบัญญัติ

ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “อัจเจกจีวรของพวกกระผม” ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านเก็บจีวรเหล่านี้ไว้นานกี่ วันแล้ว” ภิกษุเหล่านั้นบอกพระอานนท์ตามที่ได้เก็บไว้ ท่านพระอานนท์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ทำไมภิกษุทั้งหลายรับอัจเจก จีวรแล้วเก็บไว้จนเกินสมัยจีวรกาลเล่า” ครั้นพระอานนท์ตำหนิพวกภิกษุเหล่านั้น โดยประการต่างๆ แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุรับอัจเจกจีวรเก็บไว้จนเกินสมัย จีวรกาล จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงรับอัจเจกจีวรเก็บไว้จนเกิน สมัยจีวรกาลเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้ เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๔๘] ก็ เมื่อยังเหลืออีก ๑๐ วันจึงจะถึงวันเพ็ญเดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวัน ครบไตรมาส๑- อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุรู้อยู่ว่าเป็นอัจเจกจีวรพึงรับไว้ ครั้นรับไว้แล้วควรเก็บไว้ได้ชั่วสมัยที่เป็นจีวรกาล ถ้าเก็บไว้เกินกำหนดนั้น ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องมหาอมาตย์ถวายผ้าจำนำพรรษา จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันที่ครบ ๓ เดือน นับแต่วันเข้าพรรษา (ดูข้อ ๖๔๙ หน้า ๑๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๖๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๖๔๙] คำว่า เมื่อยังเหลืออีก ๑๐ วัน คือ อีก ๑๐ วันจะถึงวันปวารณา คำว่า วันเพ็ญเดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันครบไตรมาส ท่านกล่าวหมายเอาวัน ปวารณาเดือน ๑๑ ที่ชื่อว่า อัจเจกจีวร อธิบายว่า ผู้ประสงค์จะไปในกองทัพ ประสงค์จะไป พักแรมต่างถิ่น เจ็บไข้ สตรีมีครรภ์ ผู้ไม่มีศรัทธาได้เกิดศรัทธาขึ้นหรือผู้ไม่เลื่อมใส ได้เกิดความเลื่อมใสขึ้น ถ้าเขาส่งทูตไปถึงภิกษุว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายมา เถิด ข้าพเจ้าจะถวายผ้าจำนำพรรษา” ผ้าเช่นนี้ชื่อว่าอัจเจกจีวร คำว่า รู้อยู่ว่าเป็นอัจเจกจีวรพึงรับไว้ ครั้นรับไว้แล้วควรเก็บไว้ได้ชั่วสมัยที่ เป็นจีวรกาล คือ ภิกษุพึงทำเครื่องหมายว่า “นี้คืออัจเจกจีวร” แล้วเก็บไว้ ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นจีวรกาล คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐินมีเวลาท้ายฤดูฝน ๑ เดือน เมื่อกรานกฐินแล้ว ขยายเวลาออกไปอีกเป็น ๕ เดือน คำว่า ถ้าเก็บไว้เกินกำหนดนั้น คือ เมื่อไม่กรานกฐิน ให้เกินวันสุดท้ายฤดูฝน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เมื่อได้กรานกฐินแล้วเก็บไว้เลยวันกฐินเดาะ เป็น นิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละอัจเจกจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละอัจเจกจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ กระผมทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนอัจเจกจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า อัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้อัจเจกจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๖๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท บทภาชนีย์

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้า อัจเจกจีวรผืนนี้กระผมทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละ อัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ ครั้นรับอาบัติแล้ว พึงคืนอัจเจกจีวรที่เธอ สละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า อัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น นิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้อัจเจกจีวร ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้กระผมทำให้ เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละ แล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติ แล้วคืนอัจเจกจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืนอัจเจกจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๕๐] อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าอัจเจกจีวร ทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ อัจเจกจีวร ภิกษุไม่แน่ใจ ทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อัจเจกจีวร ทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๗๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท อนาปัตติวาร

จีวรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ จีวรที่ยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรที่ยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรที่ยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรที่ยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรที่ยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ จีวรที่ยังไม่ถูกโจรชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว ให้เกินสมัยที่เป็น จีวรกาล ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ภิกษุยังไม่ได้สละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าอัจเจกจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อัจเจกจีวร ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๕๑] ๑. ภิกษุอธิษฐานภายในเวลาที่กำหนด ๒. ภิกษุวิกัปไว้ภายในเวลาที่กำหนด ๓. ภิกษุสละให้ไปภายในเวลาที่กำหนด ๔. ภิกษุที่มีจีวรสูญหายภายในเวลาที่กำหนด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๗๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท อนาปัตติวาร

๕. ภิกษุที่มีจีวรฉิบหายภายในเวลาที่กำหนด ๖. ภิกษุที่มีจีวรถูกไฟไหม้ ๗. ภิกษุที่มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป ๘. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะ ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
อัจเจกจีวรสิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๗๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๖๗-๑๗๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=4159&Z=4291                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=161              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=161&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=5787              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=161&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=5787                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np28/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :