บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๓. โอวาทวรรค ๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค ๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท ว่าด้วยการโดยสารเรือลำเดียวกัน เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๑๘๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนภิกษุณี ทั้งหลายโดยสารเรือลำเดียวกัน พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายศากย บุตรเหล่านี้ชักชวนภิกษุณีทั้งหลายเล่นเรือลำเดียวกัน เหมือนพวกเรากับภรรยาเล่น เรือลำเดียวกัน พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงชักชวน ภิกษุณีทั้งหลายโดยสารเรือลำเดียวกันเล่า ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงบัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอชักชวนภิกษุณีทั้งหลายโดยสารเรือลำเดียวกัน จริงหรือ พวก ภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ว่า ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงชักชวนภิกษุณีทั้งหลายโดยสารเรือ ลำเดียวกันเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้ เลื่อมใส ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๕๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๓. โอวาทวรรค ๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ ก็ ภิกษุใดชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำก็ตาม ไปตาม น้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป [๑๘๗] สมัยนั้น พวกภิกษุและพวกภิกษุณีหลายรูปจะเดินทางไกลจากเมือง สาเกตไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทางมีแม่น้ำที่ต้องข้าม ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้กล่าว กับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า พวกดิฉันจะขอข้ามไปพร้อมกับพระคุณเจ้าทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า น้องหญิงทั้งหลาย การชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือ ลำเดียวกันไม่สมควร พวกเธอจักข้ามไปก่อน หรือพวกเราจักข้ามไปก่อน ภิกษุณีทั้งหลายตอบว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นบุรุษผู้ล้ำเลิศ นิมนต์ข้ามไป ก่อนเถิด เจ้าข้า ครั้งนั้น เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นข้ามไปภายหลัง พวกโจรจึงปล้นและทำร้าย ในระหว่างทาง ทีนั้น ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นเดินทางถึงกรุงสาวัตถีจึงบอกเรื่องนั้น แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงอนุญาตให้โดยสารเรือลำเดียวกันข้ามฟาก ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ในการข้ามฟาก เราอนุญาตให้ชักชวน ภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกันได้ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๕๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๓. โอวาทวรรค ๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระอนุบัญญัติ [๑๘๘] อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำ ก็ตาม ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟากเรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป จบ สิกขาบทวิภังค์ [๑๘๙] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คำว่า กับ คือ รวมกันโดยความเป็นอันเดียวกัน คำว่า ชักชวนกัน คือ ชักชวนกันว่า ไปโดยสารเรือกันเถิด น้องหญิง ไปโดย สารเรือกันเถิด พระคุณเจ้า ไปโดยสารเรือกันเถิด เจ้าค่ะ ไปโดยสารเรือกันเถิดจ้ะ พวกเราจะไปโดยสารเรือกันวันนี้ พรุ่งนี้ หรือวันมะรืนนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อภิกษุณีโดยสาร ภิกษุโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุโดยสาร ภิกษุณีโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุและภิกษุณีทั้งสองโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า ไปทวนน้ำ คือ แล่นทวนกระแสน้ำ คำว่า ไปตามน้ำ คือ แล่นตามกระแสน้ำ คำว่า เว้นไว้แต่ข้ามฟาก คือ ยกเว้นแต่ข้ามฝั่งน้ำ หมู่บ้านหนึ่งกำหนดชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ ละแวกหมู่บ้าน ใน ป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ กึ่งโยชน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๕๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๓. โอวาทวรรค ๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์ ติกปาจิตตีย์ [๑๙๐] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำก็ตาม ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก ชักชวนกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ โดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำก็ตาม ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน โดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำ ก็ตาม ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟากติกทุกกฏ ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ได้ชักชวน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน ไม่ต้องอาบัติอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๙๑] ๑. ภิกษุและภิกษุณีโดยสารเรือข้ามฟาก ๒. ภิกษุและภิกษุณีไม่ได้ชักชวนกันโดยสารเรือ ๓. ภิกษุไม่ได้ชักชวน แต่ภิกษุณีชักชวน ๔. ภิกษุและภิกษุณีโดยสารเรือโดยมิได้นัดหมายกัน ๕. ภิกษุและภิกษุณีไปในคราวมีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัตินาวาภิรูหนสิกขาบทที่ ๘ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๕๕}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๕๒-๓๕๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=64 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=9956&Z=10036 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=456 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=456&items=5 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=8011 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=456&items=5 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=8011 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc28/en/brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]